โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

หวั่นอุปสงค์น้ำมันวูบ ฉุดราคาร่วง 43 เซนต์

NATIONTV

เผยแพร่ 14 ส.ค. 2561 เวลา 00.57 น. • กรุงเทพธุรกิจ
หวั่นอุปสงค์น้ำมันวูบ ฉุดราคาร่วง 43 เซนต์
หวั่นอุปสงค์น้ำมันวูบ ฉุดราคาร่วง 43 เซนต์

สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าเวสต์เท็กซัส ปิดตลาดวันจันทร์ (13ส.ค.)ตามเวลาสหรัฐ ยังคงร่วงลง ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าวิกฤตค่าเงินตุรกี และการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาด
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนก.ย. ซึ่งมีการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตลาดไนเม็กซ์ ลดลง 43 เซนต์ ปิดที่ราคา 67.20 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ปรับตัวลง 20 เซนต์ ปิดที่ 72.61 ดอลลาร์/บาร์เรล
ทั้งนี้ วิกฤตการเงินในตุรกี สร้างความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้สกุลเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้, รูปีของอินเดีย และรูเปียห์ของอินโดนีเซีย ต่างอ่อนค่าลงอย่างมาก ขณะที่ตลาดหุ้นทรุดตัวลงเช่นกัน จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มอุปสงค์น้ำมัน
ถึงแม้ตุรกีเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันไม่มากนัก โดยอยู่ในระดับไม่เกิน 1 ล้านบาร์เรล/วัน แต่นักวิเคราะห์เตือนว่าผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในตุรกีอาจมีความรุนแรงมากกว่าคาด เนื่องจากอาจลุกลามไปยังตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งธนาคารในยุโรป
ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการดิ่งลงของค่าเงินลีราต่อธนาคารบีบีวีเอ ของสเปน, ธนาคารยูนิเครดิตของอิตาลี และธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศส โดยการดิ่งลงของค่าเงินลีรา จะส่งผลกระทบต่อธนาคารยุโรปที่ได้เข้าไปทำธุรกิจในตุรกี และอีซีบีวิตกว่า การทรุดตัวของค่าเงินจะทำให้ภาคธุรกิจของตุรกีผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ เนื่องจากจะทำให้ลูกหนี้ในตุรกีต้องชำระหนี้ในมูลค่าของลีราที่สูงขึ้น โดยหนี้สกุลเงินต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของสินทรัพย์ในภาคธนาคารของตุรกี
ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ระบุว่า ภาคธนาคารของสเปนปล่อยสินเชื่อแก่ตุรกีคิดเป็นวงเงิน 8.33 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารฝรั่งเศสปล่อยสินเชื่อ 3.84 หมื่นล้านดอลลาร์ และธนาคารอิตาลีปล่อยสินเชื่อ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ประเทศในยูโรโซน มีการเกินดุลการค้ากับตุรกี โดยได้ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 6.3 หมื่นล้านยูโรในปีที่แล้ว ดังนั้น หากตุรกีประสบภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย ก็จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของยูโรโซนเช่นกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0