โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

หลุดพ้นยังไงดี เมื่ออาการ ‘จิตตก’ เข้าครอบงำ

Rabbit Today

อัพเดต 22 ส.ค. 2562 เวลา 17.31 น. • เผยแพร่ 22 ส.ค. 2562 เวลา 17.31 น. • โชติ เวสสวานิชกูล
หลุดพ้นยังไงดี เมื่ออาการ ‘จิตตก’ เข้าครอบงำ

เข้าใจอยู่หรอกนะว่า ในชีวิตของคนเราทุกวันนี้ ต้องเจอกับภาวะกดดันมากมายในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว ส่งผลให้หลายๆ คนเกิดอาการหนึ่งที่เรียกว่า ‘จิตตก’ (นอยด์) กลัวและกังวลกับทุกเรื่องบ่อยๆ

อาการนี้อาจจะทำให้คุณไม่เป็นอันทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันได้เล้ย แถมพอหาทางออกไม่ได้ ก็มักจะชอบไปโทษคนอื่น โยนความผิดให้คนที่ไม่รู้เรื่องราวอะไรด้วย ทั้งๆ ที่ตัวเองก็รู้นั่นแหละว่าคนอื่นๆ เขาไม่ได้เกี่ยวกับอะไรด้วยเลย แต่เป็นตัวเราเองที่เก็บทุกอย่างมาคิดมากต่างหาก 

ภาวะ ‘จิตตก’ เป็นอาการทางจิตใจของคนที่ประสบกับความเครียด ความกดดัน เป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจเกิดจากความกดดันที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ไม่ยาวนาน แต่มีความรุนแรงสูง

…อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นแบบนี้ 

เบื้องต้นมักจะเกิดจากการเกรงกลัวในสิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น จะมีความเสียหายเกิดขึ้น คิดว่าทำอะไรไปก็จะไม่ประสบความสำเร็จ จะล้มเหลว ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล บางทีทำให้มีอาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารปั่นป่วน เป็นต้น

ส่วนระยะถัดมาเมื่อทราบถึงผลของเหตุการณ์แล้วว่าไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ไม่สำเร็จ ก็จะเกิดอาการผิดหวัง ท้อแท้ ซึมเศร้า ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ คิดช้า ไม่มีกำลังใจ รู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า 

ในรายที่อาการรุนแรงอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากฆ่าตัวตาย และอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับตนเองและผู้อื่น

จริงๆ แล้ว เราไม่สามารถรู้ได้ว่าภาวะจิตตกเกิดขึ้นกับเราหรือไม่และเมื่อไรหรอก ฉะนั้นทางที่ดีจึงควรทำความรู้จักวิธีการรับมือกับภาวะจิตตกเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการลดระดับความเครียดในแต่ละวันไม่ให้เกิดการสะสม

…จะทำอย่างไรได้บ้างหากเราเป็นคนหนึ่งที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ ไปดูวิธีกันเลย

1. ผ่อนคลายจากความเครียด

ถ้าเราเครียดเกินไปจนระดับความเครียดมันพุ่งเกินขีดความสามารถที่เราจะรับได้ ก็ต้องพยายามหาทางผ่อนคลายมันโดยเร็ว 

ปัญหาคือหลายๆ คนไม่รู้ว่าจะคลายความเครียดอย่างไรดี แนะนำให้ให้หยุดความวุ่นวายในสมองให้ได้ เช่น ถ้าเป็นความเครียดเรื่องงาน ก็ควรจะรีบเขียนลำดับความสำคัญของงานลงกระดาษหรือจดลงโน้ตในมือถือไปเลย จดเส้นตายลงไปตามลำดับ จากนั้นค่อยๆ ทำตามลำดับไปทีละข้อ ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องกดดันตัวเอง 

แต่ถ้าจิตใจว้าวุ่นจนควบคุมไม่อยู่ ลองหาเครื่องดื่มที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น ชาเขียว หรือชาคาโมมายล์ดีๆ สักถ้วย เพื่อช่วยให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย ได้ผลดีนะ

2. ไปหาอะไรทำซะ

บางคนแทบจะไม่รู้จักความหมายของคำว่างานอดิเรกสักเท่าไร แต่จริงๆ มันก็เป็นสิ่งที่เราชอบและอยากพุ่งตรงกลับไปทำ เมื่อเหนื่อยล้าจากการทำงานนั่นแหละ 

ไม่ว่าจะกลับไปนั่งเล่นเกม ไปเล่นกีฬา นั่งถักโครเชต์ ทำอาหาร หรืออะไรก็ได้ที่คุณชอบและมีความสุขกับมัน จะช่วยบั่นทอนความเครียดของคุณได้ดีกว่าการที่คุณตื่นมา ทำงาน กลับบ้าน หรืออยู่ไปวันๆ แถมบางทีคุณอาจเปลี่ยนงานอดิเรกให้เป็นเงินได้อีกด้วย ลองหางานอดิเรกของคุณให้เจอดู

3. ยอมรับความเป็นจริง และปรับปรุงมันสิ

บางทีเราอาจจะไม่ค่อยมองเห็นข้อบกพร่องของตนเองสักเท่าไร เวลาเกิดปัญหาในชีวิตหรือการทำงาน ก็มักจะโทษสภาพแวดล้อมรอบข้าง แต่ถ้าเรากลับมานั่งนิ่งๆ และลองหันมามองเห็นข้อบกพร่องของตัวเองบ้าง คุณก็สามารถนำข้อมูลนี้ไปหาทางพัฒนาสิ่งที่เป็นต้นเหตุของอาการจิตตกได้อีกวิธีหนึ่ง

เมื่อคุณมองเห็นสิ่งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องในแต่ละวันของชีวิต จากนั้นก็แก้ปัญหาแบบไม่หันไปโทษใคร หรือโยนความผิดแก่คนอื่น จะทำให้คุณพร้อมเผชิญหน้ากับทุกสิ่งที่ถาโถมเข้ามาในวันรุ่งขึ้นได้ดีเชียวละ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0