โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

หลายประเทศทั่วโลกออกมาตรการต่อไทย สกัดกั้น-ลดความเสี่ยงแพร่ระบาดโควิด-19

THE STANDARD

อัพเดต 26 ก.พ. 2563 เวลา 13.07 น. • เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 13.07 น. • thestandard.co
หลายประเทศทั่วโลกออกมาตรการต่อไทย สกัดกั้น-ลดความเสี่ยงแพร่ระบาดโควิด-19
หลายประเทศทั่วโลกออกมาตรการต่อไทย สกัดกั้น-ลดความเสี่ยงแพร่ระบาดโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญในการออกมาตรการรับมือการแพร่ระบาด หลังจากพบผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้ว 81,172 ราย รักษาหายแล้ว 30,258 ราย และเสียชีวิตอีก 2,768 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์)

 

ล่าสุด กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ โดยกรมการกงสุลเปิดเผยถึงมาตรการของประเทศต่างๆ ที่มีต่อประเทศไทยในการสกัดกั้นและลดภาวะเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของแต่ละประเทศ ดังนี้

 

อินเดีย:กำหนดให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และฮ่องกง ต้องผ่านการตรวจด้วยเครื่องตรวจจับความร้อนในร่างกาย หรือเทอร์โมสแกน และต้องกรอกแบบฟอร์มสาธารณสุขของอินเดีย

 

สหราชอาณาจักร:ขอให้บุคคลที่เข้าคุณสมบัติด้านล่างทั้ง 2 ข้อ หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะผู้คน และติดต่อ National Health Servcie (NHS) หรือแพทย์ ประจำตัว โดยคุณสมบัติดังกล่าว ได้แก่ 

  • เดินทางมาจากไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และมาเก๊า ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา 
  • พบว่ามีอาการไข้หวัด ไอ และหายใจติดขัด

 

ไต้หวัน:ออกประกาศแจ้งเตือนระดับการระบาดของโรคในไทยเป็นระดับที่ 1 (Watch) โดยผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวควรจะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทั่วไปของท้องที่

 

อิสราเอล:

  • ขยายเงื่อนไขการคัดกรองผู้ที่เดินทางไปยังอิสราเอล ซึ่งรวมถึงผู้ที่เดินทางไปไทย จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเก๊า ใน 14 วันที่ผ่านมา 

  • ออกประกาศขอความร่วมมือให้ประชาชนพิจารณาความจำเป็นในการเดินทางไปไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเก๊า เกาหลีใต้ และไต้หวัน 

  • ประกาศให้บุคคลทุกสัญชาติที่เดินทางกลับจากไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเก๊า ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้น Home Quarantine เป็นเวลา 14 วันหลังจากเดินทางมาถึงอิสราเอล

  • สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประเทศไทย ขอร้องให้ไทยยุติการส่ง แรงงานไปอิสราเอลจนกว่าจะมีการแจ้งใหม่ เนื่องจากกลัวว่าแรงงานไทยจะไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการ Home Quarantine ของอิสราเอลได้ 

  • ปฏิเสธการเข้าเมืองทั้งทางอากาศ ทางเรือ และทางบกต่อบุคคลทุกสัญชาติที่เคยเดินทางไปประเทศไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเก๊า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยกเว้นผู้ถือสัญชาติหรือมีถิ่นพำนักในอิสราเอล

 

เกาหลีใต้: 

  • แนะนำให้ประชาชนจำกัด/หลีกเลี่ยงการเดินทางเยือน 6 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ซึ่ง WHO ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการแพร่ระบาดภายในท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์
  • ให้ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก อาทิ ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ที่มีอาการไอหรือมีไข้ ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ด้วย (เดิมทีบังคับใช้เฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากจีนเท่านั้น)

 

สเปน:แนะนำให้ประชาชนที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไทยตรวจสอบข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขสเปนก่อนการเดินทาง (ในขณะนี้ยังไม่พบการออก Travel Advisory สำหรับการเดินทางมาไทยจาก สธ.สเปน)

 

บรูไน:ออกประกาศแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk) (รวมถึงไทย) เฉพาะกรณีจำเป็น

 

มาเลเซีย:จัดทำแนวปฏิบัติด้านการสาธารณสุขให้นายจ้างที่มีลูกจ้างที่เดินทาง กลับมาจากไทย จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์แรงงานของ ลูกจ้าง ซึ่งมีรายละเอียด อาทิ 

  • ให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจร่างกายโดยทันที โดยนายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 
  • อนุญาตให้ลูกจ้างลาหยุดหรือลาป่วย รวมถึงอนุมัติการใช้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของบริษัทในช่วงการกักกันเฝ้าระวังโรค (Quarantine Period) 
  • จ่ายค่าตอบแทนอื่นๆ หากช่วงการกักกันเฝ้าระวังโรคเกินจำนวน สิทธิในการลาป่วย หรือสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของบริษัท และจ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างเต็มจำนวนในระหว่างช่วงการกักกันเฝ้าระวังโรค

 

โรมาเนีย:ยกระดับคำเตือนการเดินทางไปประเทศไทย โดยรายงานว่าพื้นที่สุ่มเสี่ยง ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต และเชียงใหม่ 

 

ตุรกี:ยกระดับการตรวจ/คัดกรอง โดยให้มีการตรวจจับอุณหภูมิของร่ายกาย โดย Thermal Camera ผู้โดยสารต่างประเทศทุกเที่ยวบิน (จากเดิมที่ตรวจเฉพาะผู้ที่เดินทางจากจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย)

 

นิการากัว:สธ. มีมาตรการคัดกรองพิเศษสำหรับผู้ที่มีประวัติการเดินทางไปยัง ประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ รวมทั้งไทยและผู้ที่ปรากฏอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือมีไข้ โดยจะอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังเป็นเวลา 7 วัน

 

รัสเซีย:ส่งเจ้าหน้าที่ สธ. เข้าตรวจบนอากาศยานที่เดินทางเข้าประเทศ ก่อนอนุญาตให้ผู้โดยสารลงจากเครื่อง ซึ่งรวมถึงเที่ยวบินจากไทยของบริษัทการบินไทยด้วย

 

คาซัคสถาน:ประกาศให้บุคคลที่เดินทางจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากกว่า 10 กรณี ต้องถูกกักบริเวณที่ในพักของตนเป็นเวลา 14 วัน โดยจะมีบุคลาการแพทย์มาตรวจอาการที่ที่พักเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นจะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลทางโทรศัพท์ของสถานพยาบาลที่ใกล้ที่อยู่อาศัยอีก 10 วัน ประเทศดังกล่าว ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย เกาหลีใต้ เวียดนาม อิตาลี เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส

 

บาห์เรน:ประกาศห้ามคนต่างชาติที่เคยเดินทางไปประเทศไทยเดินทางเข้ามา บาห์เรน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ห้ามคนต่างชาติ (หมายถึงทุกสัญชาติ รวมทั้งคนไทย ที่ไม่มีถิ่นพำนัก/ไม่มีวีซ่าทำงานในบาห์เรน) ที่เคยเดินทางไปยังประเทศไทย อิหร่าน สิงคโปร์  มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ภายใน 14 วันก่อนหน้าเดินทางเข้ามายังบาห์เรน 
  • สำหรับผู้ที่มีถิ่นพำนักในบาห์เรน (รวมถึงผู้ที่มีวีซ่านักลงทุน วีซ่าทำงาน วีซ่าครอบครัว และ Flexi Work Permit ไม่รวมวีซ่าท่องเที่ยว) ที่เคย เดินทางไป ประเทศไทย อิหร่าน สิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ภายใน 14 วันก่อนหน้าจะต้องถูกกักตัว และได้รับการตรวจร่างกายตามกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลก 

 

คิริบาส:ประกาศ Travel Advisory ให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการ แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตาม WHO Sit Report จำนวน 15 ประเทศ ซึ่งรวมถึงไทย ต้องอยู่ในประเทศที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างน้อย 14 วัน ก่อนเดินทางเข้าคิริบาส และขอความร่วมมือให้พลเมืองและผู้มีถิ่นพำนักหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศดังกล่าว

 

กัวเตมาลา:ออกมาตรการคัดกรองพิเศษคือ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายและ ตรวจสอบประวัติการเดินทางในหนังสือเดินทางอย่างละเอียด ต่อผู้ที่เดินทางมา จากประเทศที่มีการติดเชื้อ รวมถึงไทย

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี):ประกาศเตือนเฉพาะคนชาติยูเออีให้งดเว้นการเดินทางไปประเทศไทยและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (ไม่รวมชาวต่างชาติ)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0