โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

หรือตลาดหุ้นโลกจะดิ่งลง? นักลงทุนจับตาสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้ง รับผล Trade War

Brand Inside

อัพเดต 17 มิ.ย. 2562 เวลา 06.40 น. • เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 04.04 น. • Chutinun Sanguanprasit (Liu)
Investment Stock Chart
ภาพจาก Shutterstock

ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกรวมถึงไทยต้องจับตามองการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เพราะไม่ว่าจะปรับขึ้นหรือลง ก็ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไปทั่วโลก แต่ช่วงนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นขาขึ้นแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย เพราะอะไร?

ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

บล.ทิสโก้เผยนักลงทุนคาด FED ลดดอกเบี้ยฯ ลดผลกระทบ Trade war

คมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์บล.ทิสโก้ บอกว่า ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ที่เป็นเหมือนตัวแทนตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวใกล้ดัชนีสูงสุดในประวัติการณ์ (2,945.83 จุด) มาจากนักลงทุนที่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ หลังจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า

ทั้งนี้แม้ว่าที่ผ่านมาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนยังสร้างความกังวลให้นักลงทุนต่อเนื่อง เพราะเดือนพ.ค.ถือเป็นเดือนที่จีนและสหรัฐฯ เจรจาการค้าล้มเหลว หลังจากนั้นมีการขึ้นภาษีการค้าทั้ง 2 ประเทศรวมถึงการขยายผลกระทบไปที่บริษัทเอกชนอย่าง Huawei

อย่างไรก็ตามจากผลกระทบที่ว่านักลงทุนทั่วโลกมองว่า FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้ง (ครั้งละ 0.25%) ในช่วงปี 2562-2563 สวนทางกับ บล.ทิสโก้มองว่า FED ไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้ถึง 4 ครั้ง เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอยู่ที่ 2.5% ถือเป็นระดับต่ำ เพราะอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% เท่านั้น

“บล.ทิสโก้ เชื่อว่า FED จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบายลบด้วยเงินเฟ้อ) ใกล้ศูนย์หรือติดลบ หากเศรษฐกิจยังไม่มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย”

FED ไม่ลดดอกเบี้ย-กำไรตลาดลด ปีนี้หุ้นโลกอาจปรับฐาน

ขณะเดียวกันการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เหมือนที่ผ่านมา เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงปลายวัฏจักร (10 ปีหลังเกิด Subprime Crisis) และอัตราการว่างงานได้ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี ดังนั้น การลดดอกเบี้ยจึงอาจไม่ส่งผลกระตุ้นอุปสงค์ได้มากนัก

ทั้งนี้ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ช้ามาก แต่ต้องจับตามองการประชุมของ FED ในวันที่ 19 มิ.ย. 2562 หากไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเท่าที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ และกำไรบริษัทจดทะเบียนของหุ้นทั่วโลกปีนี้อาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ ประเมินว่าหุ้นทั่วโลกมีโอกาสปรับขึ้น (Upside) ค่อนข้างจำกัด และมีความเสี่ยงที่จะปรับฐาน (ลง) มากขึ้นเรื่อยๆ

สรุป

หากประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องอาจส่งผลให้ภาพเศรษฐกิจโลกดูแย่ลง แม้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนในประเทศได้ แต่ธนาคารกลางทั่วโลกอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม ภาพรวมเศรษฐกิจโลกก็จะยิ่งดูอึมครึมเหมือนหลายปีที่ผ่านมา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0