โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

หยุด! อาการคัดจมูกเรื้อรัง ด้วยคลื่นวิทยุ

Amarin TV

เผยแพร่ 21 ม.ค. 2562 เวลา 11.21 น.
หยุด! อาการคัดจมูกเรื้อรัง ด้วยคลื่นวิทยุ
อาการคัดจมูกเรื้อรัง หรือ 'ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง' กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ส่งผลให้เสียสมาธิในการเรียน การทำงาน ส่วนการทำกิจกรรมต่า

อาการคัดจมูกเรื้อรัง หรือ ‘ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง’ *กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ส่งผลให้เสียสมาธิในการเรียน การทำงาน ส่วนการทำกิจกรรมต่างๆ ก็ไม่สะดวกคล่องตัวเท่าใดนัก อีกทั้งยังลามไปถึงการนอนหลับพักผ่อน ก่อให้เกิดภาวะง่วงนอนตลอดวัน อันเนื่องมาจากการหลับไม่สนิท *

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคัดจมูก คือการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกด้านใน หรือผนังกั้นจมูก โดยผู้ป่วยมักมีอาการจาม น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และหายใจไม่สะดวก เป็นต้น

สาเหตุที่พบบ่อย
• ภาวะเยื่อบุจมูกส่วนล่างบวมโต ทำให้ปากทางของช่องจมูกแคบลง ส่งผลให้อากาศไม่สามารถผ่านช่องจมูกได้อย่างสะดวก ภาวะนี้อาจเกิดจากเยื่อบุจมูกอักเสบชนิดภูมิแพ้เรื้อรัง หรือเกิดจากการอักเสบเรื้อรังก็ได้
• การอักเสบในช่องโพรงจมูกและไซนัส ภาวะไซนัสอักเสบ จะมีมูกปนหนองไหลจากโพรงไซนัส ออกมาบริเวณเยื่อบุจมูกตลอดเวลา ส่งผลให้เยื่อบุจมูกบวมเรื้อรังได้เช่นกัน
• ผนังกั้นจมูกคด ทำให้เกิดอาการคัดจมูกข้างใดข้างหนึ่งอยู่เสมอ โดยภาวะนี้อาจเกิดร่วมกับภาวะเยื่อบุจมูกบวมโตได้
• ภาวะต่อมอดีนอยด์โต มักพบในผู้ป่วยเด็กที่เป็นภูมิแพ้จมูกอักเสบ หรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง

การรักษา

แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก จะตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยภาวะคัดจมูกเรื้อรัง ว่ามาจากสาเหตุใด และให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามสาเหตุ อาทิ ควบคุมภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ ผ่าตัดแก้ไขสันจมูกในกรณีที่สันจมูกคดมาก หรือรักษาการติดเชื้อในกรณีมีการอักเสบติดเชื้อภายในช่องจมูก แต่หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา หรืออาการคัดจมูกเกิดจากเยื่อบุจมูกส่วนล่างโต แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยเทคนิคที่เรียกว่า RF (Radiofrequency) หรือการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

สำหรับ วิธีการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF แพทย์จะใช้เข็มลักษณะพิเศษใส่เข้าไปในเยื่อบุโพรงจมูกคนไข้ จากนั้นคลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานความร้อน เยื่อบุโพรงจมูกจะสร้างพังผืดและหดตัวลง ส่งผลให้ช่องขนาดโพรงจมูกใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจได้โล่งและสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF ยังช่วยให้อาการคันจมูก น้ำมูกไหล หรือเสมหะลงคอ ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน และกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการคัดจมูกเนื่องจากเยื่อบุจมูกบวมโตอีกครั้ง สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวซ้ำได้

การปฏิบัติตนหลังการรักษา
ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วจากการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF โดยสามารถกลับบ้านได้หลังพักฟื้นเพียง 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการคัดจมูกเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 วันแรก จึงแนะนำให้ผู้ป่วยนอนยกหัวสูง และประคบเย็นบริเวณจมูกเพื่อลดอาการบวม หรือลดการเลือดออกของเยื่อบุโพรงจมูก เป็นต้น โดยอาการดังกล่าวจะหายไปเองในเวลาต่อมา

นพ.นัทพล ธรรมสิทธ์บูรณ์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ (หู คอ จมูก) โรงพยาบาลเวชธานี
นพ.นัทพล ธรรมสิทธ์บูรณ์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ (หู คอ จมูก) โรงพยาบาลเวชธานี
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0