โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

หมอเร่งวิเคราะห์ หลังพบผู้ป่วยโควิดตายเพิ่ม อายุไม่มาก ไร้โรคประจำตัว

Khaosod

อัพเดต 30 มี.ค. 2563 เวลา 08.56 น. • เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 08.22 น.
สธ.-อัพเดท-ผู้ป่วย-โควิด

วิเคราะห์ผู้ป่วย โควิด เสียชีวิต

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค เปิดเผยในการแถลงข่าวสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ในส่วนผู้เสียชีวิต ว่า มีผู้เสียชีวิตวันนี้ (30 มี.ค.) จำนวน 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 54 ปี ชาวยะลา มีประวัติเดินทางมาจากมาเลเซีย กับหญิงไทยอายุ 56 ปี ใน กทม. รักษาอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง พบภาวะปอดอักเสบรุนแรง

เมื่อถามว่าผู้เสียชีวิตรายใหม่ทั้ง 2 ราย ยังอายุไม่มาก เป็นเพราะมีโรคประจำตัวหรือไม่ นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบไม่ได้มีโรคประจำตัว แต่กำลังดูในรายละเอียดอยู่ว่า ทำไมผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว 2 ราย ถึงมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต ต้องดูว่ามาโรงพยาบาลช้าไปหรือไม่

ต้องเรียนว่าบางรายที่เราวินิจฉัย และบอกว่ามีอาการรุนแรงก่อนหน้านี้ จะได้ข้อมูลว่าบางท่านไม่ยอมบอกว่าตัวเองไปสนามมวย หรือไปสถานบันเทิงมา จริงๆ แล้วการป่วยโควิดไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ก็เชิญชวนอยู่เสมอว่า คนไปสนามมวย ถ้าไม่สบายให้รีบออกมา ให้แพทย์ตรวจว่าป่วยหรือไม่ป่วย และจะเป็นการป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อคนอื่น และได้รับการตรวจที่เหมาะสม

ตัวเลข ล่าสุด โควิด
ตัวเลข ล่าสุด โควิด

เมื่อถามถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่า เกินครึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคร่วม เป็นประเด็นที่เราเป็นห่วง เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรงและเสียชีวิต ส่วนที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงและมีอาการรุนแรงก็เกิดขึ้นได้

เพราะโรคนี้เมื่อป่วยขึ้นมาทุกคนไม่มีภูมิคุ้มกัน แปลว่าร่างกายต้องให้เม็ดเลือดขาว และระบบภูมิคุ้มกันจัดการ ถ้าหากร่างกายจัดการได้ไม่ดี เราจะป่วยมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น การขจัดเชื้อจากร่างกายจะทำไม่ค่อยได้ เมื่อไรมีอาการกระทบต่ออวัยวะสำคัญ ก็ทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิต ดังนั้น การวินิจฉัยเร็วให้การรักษาที่ถูกต้อง จะเป็นสิ่งที่ลดความรุนแรงลงได้

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการ สธ.เขตสุขภาพที่ 1 ภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า มีอีก 2 ปัจจัยทำให้คนไข้ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิต คือ 1.จำนวนเชื้อที่เข้าไปมีจำนวนมาก โอกาสแพร่กระจายลงไปในปอดก็เร็วขึ้น และ

2.ความไวต่อเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคของแต่ละคนแตกต่างกัน อย่างบางคนเชื้อไม่มาก แต่โรคสามารถลุกลามในปอด แต่กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงคือ มีโรคประจำตัว มีโรคทางปอด และผู้สูงอายุ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0