โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

หมอว่างี้ แม่ว่าไง “มะนาวโชดารักษามะเร็งไม่ได้ แต่กลับช่วยสลายนิ่ว” จริงอ่ะ?!

HealthyLiving

อัพเดต 01 ก.พ. 2562 เวลา 11.10 น. • เผยแพร่ 28 ม.ค. 2562 เวลา 18.00 น. • Healthy Living
Double-Check_thumnail.jpg

ติ๊ง ติ๊ง ติ๊ง! เสียงแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันสีเขียวอ่อนดังขึ้นเรียกความสนใจยามเช้าตรู่ เมื่อเปิดเข้ามาในกรุ๊ปครอบครัวก็ต้องยิ้มให้กับรูปดอกพุทธรักษาสีเหลืองสด พร้อมข้อความสวัสดีวันจันทร์ แต่ไม่ทันไรก็ต้องขมวดคิ้วให้กับข้อความลูกโซ่ที่ถูกส่งมาจากบรรดาญาติผู้ใหญ่ “บอกต่อได้บุญ สูตรลับกำจัดมะเร็ง มะนาวสองลูกต่อโซดาหนึ่งขวด กินทุกวัน ได้ผลกว่าการทำคีโมหมื่นเท่า” 

 

 

 

อ่านจบก็ได้แต่ถอนหายใจรัว ๆ แม้เรื่องมะนาวโซดาช่วยรักษามะเร็งจะมีสื่อหลายสำนักออกมายืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง แต่พวกผู้สูงวัยก็ยังเชื่อข้อความลูกโซ่ในไลน์อย่างหมดเปลือกและส่งต่อข้อมูลผิด ๆ นี้อย่างต่อเนื่อง แถมพอเราออกปากเตือนด้วยความหวังดีก็ยังเลือกที่จะเชื่อคนในไลน์มากกว่าอีก

วันนี้เราจึงตัดสินใจให้แม่คุยกับหมอโดยตรงและฟังคำอธิบายจากปากคุณหมอแบบจะ ๆ เอาให้ชัด เอาให้เคลียร์

หมอว่างี้ แม่ว่าไง “มะนาวโซดาไม่ได้ช่วยรักษามะเร็ง!!!”

จะพาแม่ไปโรงพยาบาลเพื่อถามคุณหมอแค่เรื่องมะนาวโซดากับมะเร็ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ป่วยหรือบาดเจ็บก็ดูจะเกินเบอร์ไปหน่อย แต่โชคดีที่ทาง Healthy Living มีบริการ See Doctor Now ถือว่าสะดวกสบายและตอบโจทย์ความต้องการมาก ๆ 

 

 

 

หลังจากเข้าระบบเพียงไม่นาน เราก็ได้พบกับนายแพทย์ตะวัน ชัยภูวนารถ ซึ่งคุณหมอท่านนี้มีความเชี่ยวชาญเรื่องรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาโดยเฉพาะ ไม่รอช้า เรารีบให้แม่สอบถามทันทีว่าข้อความเหล่านี้จริงไหม?

“ข้อความในไลน์เรื่องมะนาวโซดาช่วยรักษามะเร็งไม่มีหลักฐานว่าเอามาจากไหนหรือมีประโยชน์อะไรที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเลยครับ” หมอตะวันกล่าว

ก่อนที่จะเชื่อข้อมูลอะไร เราต้องเข้าใจก่อนว่ามะนาวและโซดามีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยโซดาก็คือน้ำรวมกับคาร์บอนไดออกไซด์แอซิดนิดหน่อย ส่วนมะนาวจะประกอบด้วยซิเตรท ซึ่งกรดทั้งสองอันนี้ไม่มีงานวิจัยรองรับว่าเกี่ยวข้องหรือมีประโยชน์กับมะเร็งเลย

ทั้งนี้คุณหมอได้โชว์ตาราง Summary of strong evidence on diet, nutrition, physical activity and the prevention of cancer ซึ่งเป็นผลวิจัยของสำนักงานกองทุนวิจัยมะเร็งโลกให้ดูแบบเต็มตาว่าอาหารที่มีแนวโน้มจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งนั้นไม่มีมะนาวโซดา แต่กลับเป็นอาหารที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างโฮลเกรน, ไฟเบอร์, และผลิตภัณฑ์จากนม

หลงเชื่อไปแล้ว! มะนาวสองลูก + โซดาหนึ่งขวด

กินทุกวันจะเป็นอันตรายไหม ทำยังไงดี?

พอคุณแม่ได้ฟังความจริงจากปากหมอจนกระจ่างแล้วก็เริ่มเกิดความกังวลว่า กรดของมะนาวและโซดาจะกัดกระเพาะอาหารและทำให้ฟันสึกกร่อนหรือไม่ เพราะเธอแทบดื่มมะนาวโซดาแทนน้ำเปล่าทุกวัน

คุณหมออธิบายอย่างใจดีว่า การกินมะนาวโซดาทุกวันไม่ได้มีผลเสียอะไรต่อร่างกาย ถึงมันจะเป็นกรด แต่ก็เป็นกรดอ่อน ๆ ที่เทียบกับกรดในร่างกายของเราไม่ได้เลย กรดในกระเพาะอาหารของเรายังแรงกว่ากรดของน้ำมะนาวเสียอีก เพราฉะนั้นกระเพาะไม่เป็นแผลแน่นอน

ส่วนเรื่องฟันสึกกร่อนก็ไม่มีผลเช่นกัน ถ้าให้เทียบค่าความกรดด่างของมะนาวกับพวกน้ำอัดลมหรือยาชูกำลังแล้ว เครื่องดื่มพวกนั้นยังมีค่าความเป็นกรดมากกว่าอีก

คุณหมอเสริมอีกว่า ร่างกายของเรามีระบบรักษาความสมดุลกรดด่าง เมื่อเรากินมะนาวเข้าไป ค่า PH ในร่างกายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพราะร่างกายจะทำการปรับตัวให้สมดุลโดยอัตโนมัติ โดยขับกรดส่วนเกินออกมาทั้งในรูปของปัสสาวะและรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการหายใจ

“สิ่งที่อันตรายต่อร่างกายไม่ใช่มะนาวโซดา แต่เป็นความเชื่อผิด ๆ ที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน จนทำให้เราเสียโอกาสทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน” หมอตะวันกล่าว

หมอยืนยัน ถึงบอกลามะเร็งไม่ได้ แต่มะนาวช่วย “สลายนิ่วในไต” ได้จริงนะ 

 

 

 

แม้มะนาวจะกำจัดเซลล์มะเร็งไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามะนาวจะไม่มีประโยชน์ในการรักษาโรคอื่น ๆ นอกจากประโยชน์ทั่วไปที่เรารู้กันดีว่าการดื่มน้ำมะนาวช่วยแก้อาการไอ เจ็บคอ และบรรเทาหวัด มะนาวยังช่วยรักษาโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

หมอตะวันบอกว่า มะนาวช่วยรักษาโรคนิ่วในไตได้จริง โดยนิ่วในไตประมาณ 80% เป็นนิ่วแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเกิดจากของเสียในร่างกายที่มีค่าเป็นกรดค่อย ๆ จับตัวเป็นก้อนนิ่ว แต่เมื่อเรากินมะนาวที่อุดมไปด้วยสารซิเตรท เจ้าสารตัวนี้จะช่วยเพิ่มค่าความเป็นด่างของปัสสาวะ ทำให้นิ่วจับตัวเป็นผลึกได้ยากขึ้น ส่วนปริมาณมะนาวที่คุณหมอแนะนำต่อวัน คือ 85 ซีซี ซึ่งเป็นปริมาณที่เทียบเท่ากับขนาดยาโปแตสเซียมซิเตรทที่คนไข้โรคนิ่วได้รับ

พูดคุยได้ไม่ถึง 10 นาทีก็ได้คำตอบที่ครบ ชัด และเคลียร์ ก่อนจากกันไปคุณหมอตะวันได้ฝากไว้ว่า ข้อความทางการแพทย์ที่ถูกแชร์ในโซเชียลมีเดีย ถ้าไม่มีหลักฐานมายืนยันรับรอง เราก็ไม่ควรเอาตัวเองหรือเอาญาติของเราที่ป่วยไปเสี่ยง เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้

ในยุคที่ข้อความลูกโซ่ถูกส่งต่อวนไปวนมาอย่างไม่รู้จบ ก็คงเป็นหน้าที่ของลูกหลานอย่างเราที่ต้องคอยตักเตือนญาติผู้ใหญ่ไม่ให้หลงเชื่อข้อความเหล่านั้นโดยปราศจากงานวิจัยรองรับ โดยหาบทความที่น่าเชื่อถือมาให้อ่าน หรือวิดิโอคอลสอบถามคุณหมอโดยตรงก็สะดวกไม่น้อย

 

 

 

เพิ่มช่องทางการรับข่าวสารและข้อมูลดี ๆ ผ่าน Line Official AZAYfan ที่จะช่วยทำให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ได้ที่ 

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

      

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0