โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

'หนี้ครัวเรือน' คืออะไร? คนไทยแบกไว้เท่าไร

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 19.00 น.

“หนี้ครัวเรือน” คืออะไรถ้าจะเดาแบบตรงตัวก็คงเป็นหนี้ของแต่ละบ้านเช่นหนี้ของบ้านฉันหนี้ของบ้านเธอเป็นต้นแต่พออ่านข่าวก็ยิ่งงงไปอีกว่าหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยในช่วงไตรมาส2 หรือราวเดือนเมษายน-มิถุนายน2562 ที่ผ่านมามีมูลค่า13.08 ล้านล้านบาทขยายตัว5.8%

..อ่านแล้วคิดว่าเป็นหนี้ของประเทศหรือเปล่าแล้วจริงๆหนี้ครัวเรือนเป็นของใครกันแน่?

“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จะชวนไปทำความเข้าใจภาษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ยากแสนยากเหล่านี้ให้เข้าใจง่ายโดยขอเริ่มต้นที่เรื่อง “หนี้ครัวเรือน เพราะช่วงนี้ใครๆก็บอกว่าเศรษฐกิจไม่ดี ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินมา ทั้งจากสถาบันการเงินและนอกระบบ 

  • หนี้ครัวเรือนคืออะไร?

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยอธิบาย“หนี้ครัวเรือน” ไว้ว่าคือเงินที่สถาบันการเงินต่างๆให้คนทั่วไปอย่างเราๆกู้ยืมมาแต่ต้องเป็นคนที่อยู่ในประเทศเท่านั้นซึ่งเราจะเอาเงินไปใช้ซื้อของหรือเพื่อไปทำธุรกิจก็ได้แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน

ถ้าหนี้เหล่านี้เหมาะสมกับรายได้แล้วมันก็คงจะไม่มีปัญหาอะไรแถมยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวด้วย แน่นอนว่า มุมหนึ่งนับเป็นข้อดี เพราะเงินจะหมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างเช่น แม่ค้ากู้เงินมาลงทุนค้าขาย แม่ค้านำเงินไปซื้อวัตถุดิบประกอบอาหารที่ตลาด เงินก็ถูกส่งไปต่ออีกทอดหนึ่ง

แม่ค้าต้นทางขายดี ก็หอบเงินไปโชว์รูมออกรถกระบะมาขนสินค้าใหม่ เงินก็ถูกส่งไปดีลเลอร์รถ หมุนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ และหากมองภาพกว้างๆหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับเหมาะสมหรือพอดีนั้นจะสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจการเงินเช่นหนี้ครัวเรือนมากขึ้นรายได้ประชากรก็มากขึ้นด้วยเป็นต้น

แต่ถ้าเกิดว่าหนี้มากกว่ารายได้ขึ้นมาและกินระยะเวลานานนี่แหละจุดเริ่มต้นของปัญหา!เพราะเราจะไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ หรือที่เรียกว่า "หนี้เสีย" (NPL) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินที่ให้เรากู้ยืมมาด้วย

ที่เล่ามานี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้นเพราะจริงๆแล้วไทยยังมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศด้วยรวมถึงคนทั่วไปก็ยังมีเงินกู้นอกระบบที่เขามาช่วยต่อลมหายใจอีกแต่ตอนจ่ายคืนอาจเลือกตากระเด็นออกมาได้เพราะดอกเบี้ยที่แพงแสนแพงเหมือนกับที่เคยได้ยินมาว่าวันๆจ่ายแต่เงินต้นดอกเบี้ยมีแต่เพิ่มพูนไม่หยุด

158287704052
158287704052
  • คนไทยเป็นหนี้เยอะจริงเหรอ? 

ถามว่าคนไทยมี "หนี้ครัวเรือน"แค่ไหนกันเชียว?

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยก็สำรวจและสรุปออกมาแล้วว่าปี2562 ที่ผ่านมาคนไทยมีหนี้ครัวเรือน340,053 ล้านบาทต่อ1 ครัวเรือนขีดเส้นใต้เอาไว้เลยเพราะถือว่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์แล้ว

หนี้มาจากไหนบ้าง??

ผลสำรวจบอกว่ามันเป็นผลกระทบลูกโซ่จากสงครามการค้าที่เราๆคิดว่ามันไกลตัวแต่เริ่มขยับเข้ามาใกล้มากขึ้นเพราะทำให้การส่งออกของไทยลดลงแน่นอนว่าผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานหรือบริษัทที่นำเข้า-ส่งออกต้องเดือดร้อน

นอกจากนี้ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ราคาผลผลิตทางการเกษตรก็ตกต่ำไปอีกปริมาณนักท่องเที่ยวก็ลดลงด้วย

มาถึงตรงนี้สิ่งที่ทุกคนโดนเหมือนๆกันคือรายได้ลดลงแถมค่าครองชีพก็สูงขึ้นหนึ่งในทางพึ่งนอกจากไปกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แล้ว "บัตรเครดิต" ก็เป็นหนทางหนึ่งขอยืมเงินมาใช้ก่อนนะแล้วเดือนหน้าๆจะคืน

การใช้งานที่ง่ายเพียงรูดหรือแตะที่เครื่องก็สามารถซื้อของได้อย่างรวดเร็วรวมถึงเป็นไปตามความต้องการพื้นฐานของชีวิตก็คือซื้อบ้านซื้อรถเป็นต้นภาวะนี้เริ่มทำให้กลายเป็น“หนี้ท่วม” เข้าไปแล้ว

ผลสำรวจยังบอกอีกว่าคนไทยมีหนี้ใน2 แบบคือหนี้ในระบบส่วนนี้จะมากหน่อยราว59.2% ซึ่งปัจจุบันคนไทยต้องผ่อนชำระหรือจ่ายตกเดือนละ16,960 บาทและแบบที่2 คือหนี้นอกระบบในไทยก็มีไม่น้อย40.8% ซึ่งคนไทยที่เป็นหนี้ในรูปแบบนี้ต้องจ่ายต่อเดือนกว่า5,222 บาท

และหากแยกตามอาชีพ ออกเป็น 5 อาชีพ ได้แก่ รับราชการ รับจ้างรายวัน เจ้าของกิจการ พนักงานเอกชน และเกษตรกร จากผลสำรวจจะเห็นว่าแทบจะทุกอาชีพมีหนี้มาจากการซื้อรถยนต์ โดยข้าราชการมักจะเป็นหนี้จากการที่อยู่อาศัย ขณะที่คนที่รับจ้างรายวัน หลักๆ ก็มาจากการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค ด้านเข้าของกิจการ มีหนี้จากการลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ส่วนพนักงานเอกชนนั้นก็คือ หนี้จากการซื้อรถ และปิดท้ายด้วยเกษตรกรที่ต้องเป็นหนี้จากการลงทุนปลูกพืชผลทางการเกษตรนั่นเอง

  • มีใครแก้ปัญหาเรื่องนี้บ้างไหม? แล้วทำอย่างไร

ถ้าถามหาทางแก้ ยิ่งเป็นเด็กยุคหลังอย่างเจน Y หรือเจน Z ผู้ใหญ่มักจะบอกว่า ต้องรู้จักการออมเงิน โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รายงานสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศไทยว่า ปี 2561 จากครัวเรือนทั้งหมด 21.6 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่ออมถึง 15.7 ล้านครัวเรือน ส่วนที่เหลืออีก 5.9 ครัวเรือน ไม่มีเงินออม ดูตัวเลขแล้วถือว่าดีทีเดียว แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องของ "การจัดสรรเงินออม" ที่ยังไม่แน่นอน ปัญหาก็วนกลับมาที่เดิมคือ ค่าครองชีพสูง หรืออาชีพยังไม่มีความมั่นคงพอที่จะวางแผนการออมได้ และปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง 

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มองการแก้ปัญหานี้ในภาพรวมไว้เริ่มกันที่มิติแรก จากตัวผู้ก่อหนี้อย่างเราๆก่อนเลยหลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับการเงินและไม่เกี่ยวต่างออกมาส่งเสริมความรู้การวางแผนและวินัยทางการเงินที่ดี(financial literacy) จริงๆก็คือเราต้องเตือนตัวเองบ้างว่าอย่าใช้จ่ายเกินตัว

นอกจากนี้ ธปท.ยังร่วมกับสมาคมธนาคารนานาชาติ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท สมาคมธนาคารไทย ได้ออกคลินิกแก้หนี้ออกมา ซึ่งล่าสุดออกมาเป็นเฟสที่ 3 แล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้มีหนี้เสียทั้งบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งจะช่วยลดภาระ เพราะจ่ายเพียงแต่เงินต้นเท่านั้น 

ส่วนมิติที่สองก็คือสถาบันการเงินต่างๆควรที่จะประเมินภาระหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ให้ดีและไม่ควรเร่งขยายสินเชื่อที่จะระตุ้นให้ประชาชนก่อหนี้เกินตัวเพราะสุดท้ายแล้วจะย้อนกลับเข้ามาเป็นหนี้เสียของสถาบันการเงินนั่นเอง

และล่าสุดเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย ประชาชน และภาคธุรกิจต่างๆ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 1% ถือเป็นการปรับลดครั้งประวัติศาสตร์ เพราะว่าต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ก็ออกมาลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้มาตามๆ กัน น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เป็นโอกาสสำหรับทุกๆ คน 

ที่มา: bot, bangkokbiznews, bot, pier

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0