โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ส่องยาต้านไวรัส COVID-19 ที่ WHO ทดสอบเชิงคลินิกใน 70 ประเทศทั่วโลก

Dailygizmo

เผยแพร่ 08 เม.ย. 2563 เวลา 11.59 น. • DailyGizmo admin

อย่างที่รู้กันว่าตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษา COVID-19 ให้หายขาดได้ แถมแต่ละประเทศเองก็มีแนวทางการรักษาที่ต่างกัน ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้ทำโครงการ Solidarity trial ขึ้นมาเพื่อศึกษาว่าวิธีการรักษาที่ใช้อยู่ในตอนนี้ ว่ายาต้านไวรัสตัวไหนให้ผลดีที่สุด โดยดูจากอัตราการติดเชื้อและอัตราการรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น

องค์การอนามัยโลกได้ทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆทั่วโลกมากกว่า 70 ประเทศเพื่อทำการทดสอบ Solidarity trial ประเมินว่าการรักษา COVID-19 แบบไหนจะให้ผลดีที่สุดในการต้านไวรัสได้มากกว่ากัน ปัจจุบันการทดสอบนี้ดำเนินไปพร้อมกัน ซึ่งประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศที่เข้าร่วมก็มีมาเลเซีย, ไทยและอินโดนีเซีย

Remdesivir.

ตามข้อมูลในเว็บของ WHO บอกว่า Remdesivir (เรมเดซิเวียร์) เป็นยาต้านไวรัสที่เคยนำมาทดสอบในการรักษาผู้ติดเชื้ออีโบลา มีการทดสอบกับสัตว์เพื่อยับยั้งไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกกลาง (MERS-CoV) และโรคซาร์ (SARS) ด้วย

Lopinavir/Ritonavir.

โลปินาเวียร์-ริโทนาเวียร์ ยาตัวนี้ปกติจะใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV แต่ในหลายห้องทดลองนั้นได้ทดลองนำมาใช้รักษา COVID-19 เพราะดูเหมือนว่ามีคุณสมบัติต้านเชื้อได้ ซึ่งการทดสอบทางคลินิกนั้นจะช่วยยืนยันว่า ยาตัวนี้ได้ผลจริงหรือไม่ ในการช่วยรักษาคนที่ติดเชื้อแล้วหรือป้องกันให้คนที่แข็งแรงไม่ติดเชื้อ

แต่ยาตัวนี้มีผลข้างเคียงมาก ที่พบบ่อยคือ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ผลข้างเคียงอื่นที่อาจพบได้คือ ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผื่น ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

Interferon beta-1a.

ปกติยาตัวนี้จะนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

Chloroquine และ hydroxychloroquine.

ปกติยาตัวนี้จะนำมาใช้รักษาผู้ป่วยมาลาเรียและรูมาติก แต่จากผลการศึกษาหลายๆงานวิจัยในจีนและฝรั่งเศสพบว่า อาจจะช่วยรักษา ผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการคล้ายปอดบวมได้ ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้ทำการทดสอบ Solidarity trial เพื่อทำการยืนยันเรื่องนี้

แม้ยาเหล่านี้จะนำมาช่วยทดสอบในการรักษา COVID-19 เพื่อดูประสิทธิผลของยาแต่ละประเภท แต่ทางองค์การอนามัยโลกก็ออกมาเตือนให้ระมัดระวังในการใช้งานก่อนจะมีผลทางคลินิกพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาจริง เพราะยาบางตัวอาจจะมีผลข้างเคียงได้ ซึ่งหลายโรงพยาบาลทั่วโลกนั้นจะใช้ยาเหล่านี้ทดสอบกับผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น ยิ่งมีการทดลอง Solidarity trial มีจำนวนมากเท่าไหร่ เราก็จะได้การยืนยันพิสูจน์ผลลัพธ์ที่เร็วขึ้นเท่านั้นว่ายาแต่ละชนิดนั้นจะรักษา COVID-19 ได้ประสิทธิภาพแค่ไหนจากฐานข้อมูลการรักษากับผู้ป่วยจริงในเชิงคลินิกทั่วโลก นอกจากนั้นทาง WHO เองก็ยังเชิญชวนนักพัฒนาและบริษัทต่างๆมาร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมและ ให้ได้ทางเลือกการรักษาที่ทุกคนสามารถควักกระเป๋าจ่ายเงินได้ ถ้ายาตัวไหนได้รับการผลยืนยันว่าใช้ได้ผลจริง. VIA Mashable

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0