โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ส่องมาตรการ“เว้นระยะห่างทางสังคม”ในต่างแดน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 02 เม.ย. 2563 เวลา 01.37 น. • เผยแพร่ 02 เม.ย. 2563 เวลา 01.25 น. • Thansettakij

มาตรการ “เว้นระยะห่างทางสังคม”หรือ Social Distancing ไม่ใช่มาตรการเดียวที่ประเทศไทยนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งในประเทศไทยได้รณรงค์นำมาตรการนี้มาใช้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับที่หลายประเทศทั่วโลกนำไปใช้เช่นกัน

ในการแถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา พญ.ปฐมพร ศิรประภาศิริ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้ประกาศมาตรการไว้หลายข้อที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งหนึ่งในมาตรการนั้น คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing โดยการเว้นระยะห่างในสังคมนั้น เกิดขึ้นในต่างประเทศมาก่อน โดยหลายประเทศในยุโรปได้ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ หรือ ปิดเมือง ทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส เบลเยียม และเยอรมนี เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

บางประเทศมีการให้คำแนะนำให้อยู่บ้าน ห้ามออกนอกบ้าน ไม่สังสรรค์ยามค่ำคืน ไม่เดินเป็นกลุ่มก้อน ในประเทศฝรั่งเศสนั้นหากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีการดำเนินคดีและกำหนดบทลงโทษ

ขณะที่ในประเทศอังกฤษ มีคำแนะนำและสั่งห้ามรวมกลุ่มกันมากกว่า 2 คนขึ้นไปโดยอนุญาตให้ออกจากบ้านเฉพาะการไปไปร้านอาหาร พบแพทย์ สำหรับร้านค้า และสนามเด็กเล่นล้วนถูกสั่งปิดทั้งหมด หากฝ่าฝืนจะมีการใช้กฎหมายบังคับ

ส่วนที่สหรัฐอเมริกา มีมาตรการเน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม ใครไม่ทำตามจะต้องถูกลงโทษแยกเดี่ยว ในประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลสั่งห้ามชุมนุมเกิน 500 คน และสั่งปิดหาดต่างๆ

สำหรับประเทศเยอรมนีนั้น ออกกฎห้ามพบกันในสถานที่สาธารณะเกิน 2 คน และประเทศสวีเดน ซึ่งเพิ่งประกาศห้ามคนมาชุมนุม หากมีคนฝ่าฝืน จะดำเนินคดี โดยมีโทษจำคุก 6 เดือน และขอให้ประชาชนไม่ไปไหน หยุดอยู่บ้านในช่วงวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์
 

สำหรับประเทศที่บังคับใช้กฎหมายแล้ว เช่น ตูนิเซีย ตำรวจใช้แก๊สน้ำตายิงวัยรุ่นที่มารวมกลุ่มกันในการแข่งขันแกะชน ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมในแอฟริกาเหนือ ส่วนที่แอฟริกาตำรวจได้ยิงกระสุนยางใส่ประชาชนที่มายืนต่อแถวกันอย่างแออัด เพื่อไปเลือกซื้อสินค้า และที่ประเทศเยอรมนีตำรวจเข้าสลายการชุมนุมทันที เมื่อมีผู้มาชุมนุมประท้วงกันกว่า 200 คน

ในมอสโกก็มีการใช้เทคโนโลยีติดตามคนที่ไม่ปฏิบัติตาม โดยใช้ระบบจดจำใบหน้าของประชาชนเพื่อติดตามว่ามีการออกไปนอกพื้นที่หรือไม่ ส่วนนิวซีแลนด์สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนสามารถรายงานสดเมื่อพบคนกระทำผิด ส่งผลให้เว็บไซต์ดังกล่าวระบบขัดข้องไปบางช่วง เนื่องจากมีการรายงานการกระทำผิดมากกว่า 4,000 คดี

ส่วนในสิงคโปร์ มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งการซื้อสินค้า การรับประทานอาหาร และปิดโรงเรียน และแยกกักตัวผู้ป่วยอย่างชัดเจน ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยน้อย

ส่วนที่ไทยเริ่มมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมมากขึ้น หากประชาชนทุกคนช่วยกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เว้นระยะห่างทางสังคมก็จะช่วยให้ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19ลดลงได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0