โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สูตร (ไม่ลับ) เรื่องเงินของคนใกล้เกษียณ

Wealth Me Up

เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 04.40 น. • Wealth Me Up

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เมื่อถึงวันเกษียณ การใช้เงินแต่ละบาทต้องคิดให้รอบคอบเพราะเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป โดยไม่มีเงินใหม่เข้ามาเติมเหมือนสมัยที่ทำงานและมีรายได้ โดยมีสิ่งที่เราต้องรู้อย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่

 

จัดการภาษีกับเงินก้อน

เงินก้อนต่างๆ ที่ได้รับ หากทำงานกับนายจ้างมา 5 ปีขึ้นไป เงินที่ได้แม้เสียภาษีแต่สามารถนำไปยื่นใบแนบฯ ภ.ง.ด.90/91 ได้ ทำให้เสียภาษีน้อยลง

 

สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีเกษียณหลังอายุ 55 ปี และมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป เงินที่ได้ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนกรณีอื่นที่ต้องเสียภาษี สามารถโอนเงินลงทุนไปยังกองทุน RMF เพื่อรอจนกว่าครบเงื่อนไข เงินที่ได้รับก็จะไม่เสียภาษี

 

สิทธิเงินชราภาพประกันสังคม

เงินที่เราจ่ายประสังคมทุกเดือน ส่วนหนึ่งถูกสะสมไว้ให้กับผู้ประกันตนที่เกษียณอายุ โดยจะได้รับเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป และต้องเกษียณอายุแล้ว (สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน)

 

โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี (2.1) จ่ายประกันสังคมไม่ถึง 15 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) (2.2) จ่ายประกันสังคม 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญจนกว่าเสียชีวิต สามารถดูรายละเอียดได้จาก www.sso.go.th

 

เตรียมรับมือค่ารักษาพยาบาล

เมื่อสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เคยได้จากนายจ้างสิ้นสุดลง ก็ต้องมีแผนรับมือไว้ เช่น สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ที่การลงทะเบียนใช้สิทธิเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยดูรายละเอียดได้จาก www.nhso.go.th

  

แต่หากต้องการความสะดวกในการรักษาพยาบาล การซื้อประกันอุบัติเหตุที่มักต่ออายุได้ถึง 70-99ปี เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ส่วนประกันสุขภาพต้องพิจารณาก่อนว่าค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นทุกปีนั้น คุ้มกับวงเงินค่ารักษาที่ได้จากประกันหรือไม่

 

จัดสรรเงินก้อนที่มีให้อยู่ถูกที่

เงินฝาก : จำนวน 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตลอดช่วง 1 ปี และรองรับกรณีฉุกเฉินด้วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่ประกันไม่ครอบคลุม ค่าซ่อมแซมบ้าน/รถ โดยอาจเป็นเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษที่พร้อมถอนได้ตลอดเวลาก็ได้

 

กองทุนตราสารหนี้ : จำนวน 36 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อรองรับการใช้จ่ายในอีก 1-3 ปีข้างหน้า เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเงินฝาก แต่ยังคงความเสี่ยงต่ำไว้อยู่

 

จัดพอร์ตลงทุน : โดยนำเงินก้อนส่วนที่เกินว่าสองส่วนข้างต้น ไปลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวที่สูงขึ้น เงินก้อนสุดท้ายนี้จะได้งอกเงยและนำไปใช้จ่ายได้ยาวนานยิ่งขึ้น

 

สำหรับการจัดสรรเงินก้อนทั้งสามส่วน ควรมีการทบทวนทุก 3 เดือน เพื่อติดตามและปรับสัดส่วนเงินที่ว่าให้อยู่ในจำนวนที่ตั้งใจไว้อยู่เสมอ

 

เกษียณจะมีสุขได้เมื่อมีการวางแผน  ไม่ว่าจะทำตั้งแต่ช่วงที่ยังทำงาน หรือหลังจากเกษียณแล้ว เพราะการวางแผนจะช่วยให้มีเงินพอใช้จ่าย และรู้สถานะตัวเองพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

 

#WealthMeUp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0