โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สูงวัยยุคออนไลน์ น่าเป็นห่วง!! เข้าวัดน้อยลง เล่นพนันเดือนละครั้ง

The Bangkok Insight

อัพเดต 08 ก.ค. 2563 เวลา 07.31 น. • เผยแพร่ 08 ก.ค. 2563 เวลา 07.31 น. • The Bangkok Insight
สูงวัยยุคออนไลน์ น่าเป็นห่วง!! เข้าวัดน้อยลง เล่นพนันเดือนละครั้ง

สูงวัยเข้าวัดน้อยลง นิด้าโพลชี้ 83.52 ของผู้สูงวัย ไม่เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชน ขณะที่ 1 ใน 4 เล่นการพนันเป็นงานอดิเรก เดือนละครั้ง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research – CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า จากการจัดทำผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง "ผู้สูงวัยไทยใส่ใจสังคมมากน้อยแค่ไหน" พบประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้สูงวัยเข้าวัดน้อยลง

สูงวัยเข้าวัดน้อยลง
สูงวัยเข้าวัดน้อยลง

การสำรวจดังกล่าว ได้สำรวจจากผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยไทยในช่วง 3 เดือนก่อนที่มีการประกาศ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน จากการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด - 19)

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงพฤติกรรมของผู้สูงวัย ต่อกิจกรรมที่ทำบ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ทำกิจกรรมประจำวันอยู่ภายในบ้าน และมีประมาณ 1 ใน 4 ที่มีงานอดิเรกที่อาจมีการพนัน หนึ่งครั้งต่อเดือน

ส่วนกิจกรรมที่ผู้สูงวัย ไม่เคยทำในชีวิตประจำวัน เกินกว่าครึ่ง ได้แก่ ร้อยละ 65.36 ระบุว่า กิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัว (เช่น ดูหนัง ทานข้าว) และร้อยละ 54.08 ระบุว่า งานอดิเรกที่อาจมีการพนันขันต่อ เช่น ชนไก่ แข่งนกขัน เล่นหวย/ซื้อสลากกินแบ่ง

สำหรับกิจกรรมที่ผู้สูงวัย ทำทุกวันในชีวิตประจำวัน เกินกว่าครึ่ง ได้แก่ ร้อยละ 80.96ระบุว่า กิจกรรมภายในบ้านที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก เช่น ฟังวิทยุ ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์/หนังสือ

รองลงมา ร้อยละ 74.96 ระบุว่า กิจกรรมในบ้านที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร ทำสวนครัว/สวนดอกไม้ และร้อยละ 64.64ระบุว่า ออกกำลังกาย (เช่น การเดิน โยคะ แอโรบิค ว่ายน้ำ เต้นรำ/รำไทย)

สูงวัยเข้าวัดน้อยลง ไม่เป็นอาสาสมัคร

ในส่วนของการเป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์กรของผู้สูงวัย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.32 ระบุว่า ไม่เป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์กรใด ในขณะที่ ร้อยละ 23.68 ระบุว่า เป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์กร

ผู้สูงวัยที่ระบุว่า เป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์กร พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.70 เป็นสมาชิกขององค์กรของผู้สูงอายุ หรือผู้เกษียณ เช่น สมาคมผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ องค์การทหารผ่านศึก รองลงมา ร้อยละ 46.28 เป็นสมาชิกขององค์กรทางวิชาชีพ เช่น สหกรณ์ สมาคมแพทย์ เป็นต้น

บ้านสูงวัย
บ้านสูงวัย

ตามด้วย ร้อยละ 5.07 องค์กรทางสังคม หรือทางนันทนาการ เช่น โรตารี่ ไลอ้อนส์, ร้อยละ 3.04 องค์กรทางการเมือง และร้อยละ 1.35 องค์กรด้านชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เช่น หอการค้าไทย-จีน สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมปักษ์ใต้ เป็นต้น

 

 

ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ สูงวัยเข้าวัดน้อยลง โดยการเข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชนของผู้สูงวัย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.52 ระบุว่า ไม่เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชน ในขณะที่ ร้อยละ 16.48 ระบุว่า เข้าร่วม ทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชน

ผู้สูงวัยที่ระบุว่า เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด/ศาสนสถาน หรือในชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.03 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รองลงมา ร้อยละ 40.29 เป็นกรรมการวัด ศาสนสถาน โบสถ์

นอกจากนี้ ร้อยละ 11.17 เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และ ร้อยละ 6.80 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครตำรวจบ้าน กรรมการหมู่บ้าน ฯลฯ

ใช้มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร-เล่นไลน์

ขณะที่การใช้สื่อทางสังคม หรือ โซเชียล มีเดีย ของผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.72 ระบุว่า ใช้ Line, รองลงมา ร้อยละ 30.56 ระบุว่า ใช้ Facebook, ร้อยละ 29.60 ระบุว่า ใช้ YouTube, ร้อยละ 4.80 ระบุว่า ใช้ Instagram และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ใช้ Twitter

ด้านการมีเครื่องมือการสื่อสารของผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 6.56 มี โน้ตบุ๊ก ใช้ รองลงมา ร้อยละ 6.24 มี คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) ใช้ และร้อยละ 6.00 มี แท็บเล็ต ใช้

ปิดท้ายด้วย บุคคลที่ช่วยเหลือผู้สูงวัยในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร พบว่า ร้อยละ 30.64 ระบุว่า ไม่มีใคร, รองลงมา ร้อยละ 28.00 ระบุว่า บุตรสาว, ร้อยละ 25.04 ระบุว่า หลาน, ร้อยละ 21.36 ระบุว่า บุตรชาย, ร้อยละ 9.20 ระบุว่า เพื่อน

ขณะที่ ร้อยละ 3.04 ระบุว่า คู่สมรส, ร้อยละ 1.76 ระบุว่า ญาติ, ร้อยละ 1.52, ระบุว่า บุตรสะใภ้, ร้อยละ 1.36 ระบุว่า น้องสาว, ร้อยละ 1.20 ระบุว่า บุตรเขย, ร้อยละ 0.88 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ เพื่อนบ้าน พนักงานร้านขาย - ซ่อม โทรศัพท์ เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0