โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สุ่มตรวจ เนื้อไก่สด-ตับไก่สด พบยาปฏิชีวนะตกค้างเพียบ

Thai PBS

อัพเดต 20 ก.ค. 2561 เวลา 03.49 น. • เผยแพร่ 20 ก.ค. 2561 เวลา 03.49 น. • Thai PBS
สุ่มตรวจ เนื้อไก่สด-ตับไก่สด พบยาปฏิชีวนะตกค้างเพียบ

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับภาคีเครือข่ายกรุงเทพมหานคร ผลทดสอบการตกค้างจากยาปฏิชีวนะในเนื้ออกไก่และตับไก่สด โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากห้างสรรพสินค้า ตลาดสด และห้างออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 - 15 มิ.ย.2561 จำนวน 62 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอกไก่สด 32 ตัวอย่าง และตับไก่สด 30 ตัวอย่าง

โดยนำมาตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolone Group) คือ เอนโรฟลอคซาซิน (Enrofloxacin) กลุ่มที่ 2 กลุ่มเตตราไซคลิน (Tetracycline Group) คือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) กลุ่มที่ 3 กลุ่มเบต้า - แลคแทม (Beta - Lactam Groups) คือ อะม็อกซีซิลลิน(Amoxicillin)

ผลการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง 3 ชนิด พบการตกค้างตกของยาปฏิชีวนะ 26 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 41.93 พบ 5 ตัวอย่างตกมาตรฐานการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดเอนโรฟลอคซาซิน เนื่องจากเป็นยาที่นอกเหนือบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่งสามารถใช้ได้แต่ต้องไม่พบการตกค้างของยาดังกล่าว อีก 21 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของยาด็อกซีไซคลิน แต่ไม่ตกมาตรฐาน และตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะชนิดอะม็อกซีซิลลิน ส่วนอีก 36 ตัวอย่างนั้น ตรวจไม่พบยาปฏิชีวนะทั้ง 3 กลุ่ม

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ เป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสัตว์ ทำให้ดื้อยา มีอาการแพ้ยา และอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่น อาจทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร มีผื่นคันบริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอาเจียนหรือท้องเสีย

ทั้งนี้ หากใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า อาจทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่อต่างๆ เกิดความเสียหาย และอันตรายของยา Amoxycillin จะทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ หรือมีอาการหอบหืด หากพบอาการหายใจมีเสียงหวีด (อาการของหอบหืด) หลังใช้ยา ควรต้องหยุดใช้ยาทันทีและรีบพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล

ทุกวันนี้เรามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้รับยาดังกล่าวอยู่แล้ว และรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะบ่อยครั้ง ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการดื้อยา และจำเป็นต้องใช้เชื้อที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายอาจไม่มีตัวยาใดมารักษาได้เลย

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0