โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สุดยอด"รถไฟฟ้าล้อยาง-ไร้คนขับ"ถึงไทย 10 มิ.ย.นี้

new18

เผยแพร่ 28 พ.ค. 2563 เวลา 11.05 น. • new18
สุดยอด
“รถไฟฟ้าล้อยาง-ไร้คนขับ"ถึงไทย 10 มิ.ย.นี้ พร้อมให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง ต.ค.นี้แน่นอน

"รถไฟฟ้าล้อยาง-ไร้คนขับ"ถึงไทย 10 มิ.ย.นี้ พร้อมให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง ต.ค.นี้แน่นอน
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.63 นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ช่วงสถานีกรุงธนบุรี-สถานีสำนักงานเขตคลองสาน หรือรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งจะใช้รถไฟฟ้าล้อยางไร้คนขับมาให้บริการกับประชาชน
โดย นายมานิต ระบุว่า หลังเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กำหนดการจัดส่งขบวนรถไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ต้องเลื่อนจากเดือน เม.ย.63 ตามกำหนดหารเดิม ล่าสุดขณะนี้ทางบริษัทผู้ผลิตในจีน ได้จัดส่งขบวนรถไฟฟ้า 1 ขบวนมี 2 ตู้โดยสาร จากที่จัดซื้อทั้งหมด 3 ขบวน โดยจะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 10 มิ.ย.นี้
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง จะใช้รถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 ซึ่งผลิตจากเมืองอู่หู มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อรถมาถึงและผ่านพิธีการทางศุลกากรแล้วเสร็จ จากนั้นจะนำขบวนรถไฟฟ้ายกขึ้นสู่โรงจอดและซ่อมบำรุงที่สถานีกรุงธนบุรี เพื่อเตรียมการทดสอบระบบในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ย.63
จากนั้นจะทดสอบการเดินรถเสมือนจริง หรือ Trial Running ในเดือน ก.ย. ก่อนที่จะเปิดให้บริการกับประชาชนช่วงปลายเดือน ต.ค.63 ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งรัดงานในส่วนที่ล่าช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 มีความพิเศษ คือ เป็นระบบที่ใช้เป็นรถไฟฟ้ารูปแบบไร้คนขับ
ใช้รางนำทาง มีผิวสัมผัสระหว่างล้อ และทางวิ่งเป็นยาง ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวล และก่อให้เกิดเสียงรบกวนต่ำ ความเร็วของการทำงานสูงสุดที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนขบวนรถไฟฟ้าที่ใช้ในระบบมีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ โดยใช้รับส่งผู้โดยสารจำนวน 2 ขบวน และสำรองไว้ในระบบ 1 ขบวน ความจุผู้โดยสาร 137 คนต่อขบวน
นายมานิต กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้างานก่อสร้างโรงจอดและซ่อมบำรุง รวมถึงสถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) และสถานีคลองสาน (G3) มีความก้าวหน้าด้านการก่อสร้างโดยรวมถึงร้อยละ 88 แล้ว ประกอบด้วยความก้าวหน้าด้านงานโยธา และความก้าวหน้างานระบบการเดินรถ จึงมั่นใจว่าจะสามารถให้บริการได้ตามกำหนดอย่างแน่นอน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0