โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สุดยอดเกษตรกรไทย กับการปลูกพืชในโรงเรือน

รักบ้านเกิด

อัพเดต 27 ก.พ. 2563 เวลา 06.38 น. • เผยแพร่ 27 ก.พ. 2563 เวลา 06.38 น. • รักบ้านเกิด.คอม

จากนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหลวงเมื่อโดนพิษเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปีพ.ศ.2540 คุณชยพล กลมกล่อม ก็โดนพิษเศรษฐกิจเช่นกันชีวิตที่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ จากแรงบันดาลใจจากในหลวงรัชกาลที่9 คุณชยพลจึงหันเหชีวิตมาสู่อาชีพเกษตรทั้งๆที่ไม่มีความรู้หรือทักษะทางการเกษตรเลย เมื่อต้องมาทำเกษตรเป็นอาชีพก็ต้องลองผิดลองถูกเอาเอง คุณชยพลเริ่มชีวิตใหม่ที่อำเภอปากช่องโดยเริ่มปลูกข้าวโพดส่งไร่สุวรรณทำไปแก้ปัญหาไปจนประสบความสำเร็จในการปลูกข้าวโพด จากนั้นก็เริ่มก้าวเข้ามาสู่การปลูกผัก การเกษตรของคุณชยพล นั้นแตกต่างจากเกษตรกรรายอื่นๆ เพราะเขาใช้การตลาดนำการผลิต ผลิตผักส่งผักขายให้แก่ห้างใหญ่อย่างเทสโก้โลตัส ผักที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คุณชยพลและสวนผักปากช่องคือกุยช่ายเขียว,กุยช่ายขาว คื่นช่าย คะน้า กวางตุ้งไต้หวันฯลฯ ความสำเร็จในวันนั้นถูกต่อยอดมาจนถึงวันนี้

Plant/10455_1__DSF3960.JPG
Plant/10455_1__DSF3960.JPG

20 ปีในการทำเกษตรของคุณชยพล ได้มองเห็นปัญหาในการปลูกผักแบบเดิมปัญหาการปลูกผักซ้ำที่ไม่ได้ การต่อสู้กับโรคและแมลงและปัญหาอีกมากมายคุณชยพล จึงตัดสินใจลงทุนสร้างโรงเรือนถาวรมูลค่า 20 ล้านบาทซึ่งเป็นการลงทุนในระยะยาว การปลูกผักในโรงเรือนถึงแม้จะลงทุนสูงในช่วงเริ่มต้นแต่ถ้ามองในระยะยาวเป็นเรื่องที่คุ้มค่า เพราะสามารถบริหารจัดการ ควบคุมปัจจัยการผลิตผักให้มีคุณภาพได้ดีกว่าการปลูกผักในระบบเดิม แก้ปัญหาการปลูกซ้ำที่ได้ (พืชบางชนิดถ้าปลูกซ้ำที่บ่อยๆจะไม่ได้ผลผลิตเช่นพืชตระกูลแตง,คื่นช่าย,กุยช่ายเป็นต้น) การควบคุมเรื่องโรคและแมลงสามารถจัดการได้ง่ายกว่าเดิม

Plant/10455_2__DSF4074.JPG
Plant/10455_2__DSF4074.JPG

การปลูกผักในโรงเรือนจะเริ่มที่การจัดหาวัสดุปลูกที่ไม่ใช้ดินนำมาขึ้นเป็นแปลงปลูกจากนั้นทำการวางเทปน้ำหยดลงบนแปลงนำกล้าผักที่เพาะไว้ประมาณ 15 วันในกรณีที่เป็นผักสลัดลงปลูกจัดการให้น้ำทันทีที่ปลูกเสร็จการปลูกควรปลูกในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อลดการสูญเสียน้ำของกล้าผัก การให้น้ำจะใช้ระบบน้ำหยดโดยให้น้ำเช้าและเย็นครั้งละ 1-2 นาทีเท่านั้นในแต่ละวัน การปลูกผักในระบบอินทรีย์ สิ่งสำคัญคือการป้องกันมากกว่าการแก้ไข ถึงแม้โรงเรือนจะมีตาข่ายป้องกันแมลงเกษตรกรก็ต้องหมั่นตรวจแปลงทุกวันเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดโรค ดังนั้นการฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติอย่างเช่นสารสะเดา,น้ำส้มควันไม้จะต้องพ่น 3-4 วันครั้ง การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าก็ต้องให้เชื้อราไตรโครเดอร์ม่าโดยปล่อยมากับระบบน้ำหยด ถ้าพบเห็นหมัดกระโดดหรือแมลงเข้าเจาะทำลายพืชผักก็ต้องรีบฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียทันทีซึ่งต้องพ่นให้โดนตัวแมลงติดต่อต่อเนื่องจนกว่าแมลงเหล่านั้นจะหายไป สำหรับหญ้าในแปลงจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆในการกำจัดแต่จะใช้วิธีถอนโดยจะต้องถอนหญ้าก่อนที่หญ้าจะออกดอกซึ่งจะตัดวงจรการกระจายพันธุ์ได้ทำบ่อยๆหญ้าก็จะค่อยๆหมดไป

Plant/10455_3__DSF4059.JPG
Plant/10455_3__DSF4059.JPG

สำหรับผักสลัดควรให้น้ำทุกวันห้ามขาดเพื่อควบคุมความสดกรอบหวานอร่อย ถ้าผักสลัดขาดน้ำสัก 2 วันผักจะมียางตามก้านใบให้เห็นยางเหล่านี้แมลงไม่ชอบเพราะมันขมถ้าตัดผักที่มียางก็จะได้ผักสลัดที่มีรสขมซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาด การทำผักอินทรีย์ถึงแม้จะไม่มีต้นทุนเรื่องสารเคมีราคาแพงแต่ก็มีต้นทุนในการดูแลจัดการค่อนข้างสูงอีกทั้งผลผลิตก็อาจไม่สวยปิ๊งในสายตาลูกค้าที่อยากได้ผักสวยแถมต้องปลอดสารพิษมันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งและทำยากมาก สำหรับผักสลัดที่ขายหน้าสวนผักปากช่องจะอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0