โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สุดยอดการคิดค้น...นักวิจัยค้นพบวิธีช่วยให้มือถือคุณตก 'แล้วไม่แตก'

Health Addict

อัพเดต 25 ต.ค. 2562 เวลา 08.00 น. • เผยแพร่ 22 ต.ค. 2562 เวลา 02.51 น. • Health Addict
จะดีแค่ไหนที่ไม่ต้องเปลี่ยนฟิล์มกันหน้าจอกระแทกบ่อยๆ  อารมณ์แบบ “ร้าวแล้วคืนชีพ”  เพราะทีมวิจัยทั่วโลกค้นพบสารบางอย่างที่บอกว่าอนาคตอันใกล้นี้…ไม่แน่ว่าเราอาจจะมีมือถือไร้ร้อยร้าวมาให้ตำกันแล้วว
จะดีแค่ไหนที่ไม่ต้องเปลี่ยนฟิล์มกันหน้าจอกระแทกบ่อยๆ อารมณ์แบบ “ร้าวแล้วคืนชีพ” เพราะทีมวิจัยทั่วโลกค้นพบสารบางอย่างที่บอกว่าอนาคตอันใกล้นี้…ไม่แน่ว่าเราอาจจะมีมือถือไร้ร้อยร้าวมาให้ตำกันแล้วว

ซื้อเคสสุดหนาครอบบอดี้เครื่อง แต่พอร่วงลงพื้นดันคว่ำหน้าดังตุ๊บ! และนั่นทำให้คุณได้จอร้าวมาเป็นของแถม แม้จะมีฟิล์มกระจกกันกระแทกอยู่แล้วก็ตามแต่เผลอทีไรเป็นอันร่วงลงพื้นทุกที ป้องกันยังไงก็ไม่รอด ใครมืออ่อนแบบนี้เชื่อว่าคงเซ็งไม่เบา…
…ตามจริง มือถือเกือบทุกยี่ห้อ ทุกรุ่นจะมีฟิล์มกระจกหรือฟิลม์กันกระแทกซึ่งทนทานต่อแรงกระทบเวลาลงพื้นอยู่แล้ว หาซื้อได้ไม่ยาก แต่ใช่ว่ามันจะสามารถป้องกันการแตกร้าวได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับระยะความสูงที่ตก รวมไปถึงองศาของการตกด้วย  
สำหรับใครที่เบื่อปัญหาจำเจเหล่านี้ ล่าสุดมีรายงานข่าวจาก BBC เมื่อปี 2018 ว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวได้ค้นพบสารโพลิเมอร์ (โมเลกุลขนาดใหญ่) ที่สามารถเยียวยาการแตกร้าวของอุปกรณ์สื่อสารอย่างมือถือได้หลังจากพวกเขาได้ทดลองด้วยสารที่ชื่อว่า ไทโอยูเรีย (thiourea)    
แล้วสารที่พบมีประสิทธิภาพในการรักษารอยแตก รอยร้าวได้จริงๆ หรอ? 
หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยอย่าง ศาสตราจารย์ Takuzo Aida บอกว่า การค้นพบนี้เป็นเรื่องที่เกิดจากความผิดพลาด เรียกง่ายๆ ว่ามันคือความฟลุคนั่นเอง ซึ่งทางทีมกำลังเร่งศึกษาอย่างจริงจังโดยหวังว่ามันจะสามารถถูกพัฒนาและนำมาใช้งานได้จริงในอนาคต
ถ้าถามว่าแนวโน้มความเป็นไปได้ที่สารนี้จะถูกนำมาใช้นั้นสูงมั้ย? เรารู้มาว่ามีการค้นพบในทำนองเดียวกันจากหลายสถาบันทั่วโลก เช่น มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California)  มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) และมหาวิทยาลัยในประเทศจีน โดยวิธีการสร้างสารเยียวยารอยร้าวหรือ self-healing material นั้นมีหลายสูตร เช่น สาร self-healing อาจมาในรูปของน้ำยา  (embedded)โครงสร้างของวัตถุดิบ (vascular network) หรือการถูกกระตุ้นด้วยตัวกระตุ้น อย่างความร้อน (Stimulus) ทั้งนี้สื่อดังอย่าง The Seeker ได้บอกว่า ล่าสุดงานวิจัยในจีนได้ประกาศว่าตนจะทำให้ได้ผลสำเร็จเร็วๆ นี้ และกระบวนการจะอยู่ภายใต้คอนเซปต์ “recycle” อีกด้วย เอาเป็นว่าพวกเราคอยเตรียมลุ้นก็แล้วกัน!    

ต่อให้ยังไม่มีผลสรุปอย่างแน่ชัดว่าได้มีการนำสารhealing มาใช้กับมือถือได้จริงหรือเปล่า แต่อย่างน้อยเราก็ชั่งใจได้เลยว่า อนาคตอันใกล้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ผลิตและคิดค้นมาเพื่อตอบโจทย์ชีวิตเราย่อมมีมากขึ้น 
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0