โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?

aomMONEY

อัพเดต 03 ก.พ. 2562 เวลา 11.37 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2562 เวลา 10.18 น. • กองบรรณาธิการ
สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?
สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?

เราต้องใช้สุขภาพเราไปแลกกับฝุ่นยังไงบ้าง โรคอะไรบ้างที่เราต้องเผชิญแบบเงียบๆ และมันจะส่งผลระยะยาวกับเรายังไงหากเราไม่คิดหาทางป้องกัน 

เริ่มอธิบายอย่างนี้ก่อนครับ ฝุ่นละอองถือเป็นมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาหลักของกรุงเทพและเมืองหลวงขนาดใหญ่ๆ ฝุ่นละอองเกิดขึ้นได้ 2 ประเภท 

  • เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย หิน ละอองไอน้ำ เขม่าควันไฟ ฯลฯ 
  • เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การจราจร การก่อสร้าง อุตสาหกรรม การทำอาหาร การทาสี ฯลฯ 

(ท่านสามารถตรวจสอบได้ที่นี่: รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย)

สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?
สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?

กรมควบคุมมลพิษระบุว่า การรายงานเรื่องดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index: AQI) เป็นรายงานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจได้ง่ายๆ ว่าคุณภาพอากาศนั้นดีหรือแย่ โดยแบ่งสารมลพิษทางอากาศหลัก 6 ชนิด ประกอบด้วย

(1) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)  

  • มีลักษณะ เป็นก๊าซไม่มีสี สีเหลืองอ่อนๆ มีรส กลิ่น ระดับเข้มข้นสูง

  • เกิดจาก ธรรมชาติที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน

  • ส่งผลให้ ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ ระยะยาวอาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ 

(2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 

  • มีลักษณะเป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น

  • เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมบางชนิด

  • ส่งผลให้มีผลต่อระบบการมองเห็น ผู้มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

(3) ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) 

  • มีลักษณะเป็นก๊าซไม่มีสี กลิ่น และรส 

  • เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ

  • ส่งผลให้ไปสะสมในร่างกายด้วยการไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน 200-250 เท่า ทำให้การลำเลียงอออกซิเจนไปสู่เซลส์ต่างๆในร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หัวใจทำงานหนักขึ้น

(4) ก๊าซโอโซน (03) 

  • มีลักษณะเป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย

  • เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย มีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

  • ส่งผลให้ระคายเคืองตาและระคายเคืองตา ระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว อาจะเป็นโรคปอดเรื้อรัง

(5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) 

  • มีลักษณะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน 

  • เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ การก่อสร้าง

  • ส่งผลให้เมื่อหายใจเข้าไปทำให้สะสมในระบบทางเดินหายใจ 

(6) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) 

  • มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง

  • เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม

  • ส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดต่างๆ สะสมนานๆ ทำให้ปอดเสื่อมประสิทธิภาพ หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

ทำไมเรื่องฝุ่นกลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้คนตื่นตระหนกมากขึ้น ?

สาเหตุสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดได้ พุ่งสูงขึ้นและอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพขึ้นมานั้น ทางบีบีซีรายงานหลังได้พูดคุยกับนายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ระบุว่าสาเหตุที่ระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กำลังเกิดขึ้นนั้นมาจาก

  • สภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า มีสภาพอากาศปิด ไม่ปลอดโปร่ง อากาศนิ่ง และมีสภาพอากาศปิด ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศเพิ่มขึ้น และไม่มีการหมุนเวียนของอากาศ

 

  • กรุงเทพมหานครมีแหล่งกำเนิดมลพิษตามปกติอยู่แล้ว ทั้งจากการก่อสร้าง จากยานพาหนะ การเผาไหม้จากเครื่องยนต์ดีเซล และกิจกรรมต่างๆ

สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร
สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร

ผลจากฝุ่นละอองส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพเราบ้าง ??

สมองเสื่อม 
นายแพทย์หง เซิน จากสำนักงานสาธารณสุขรัฐออนเทรีโอ หนึ่งในคณะวิจัยที่ศึกษาบันทึกสุขภาพผู้คนราว 2 ล้านคนในรัฐออนเทรีโอ แคนาดา กว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2001 - 2012 พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับถนนสายหลัก มีการจราจรคับคั่ง มีโอกาสป่วยด้วยอาการนี้สูงกว่าบริเวณอื่น 

ทั้งปัญหาที่มาจากเสียงรบกวนและมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น อนุภาคจากยางรถยนต์ที่หลุดออกเมื่อเสียดสีกับพื้นถนนและไนโตรเจนออกไซด์ เป็นเหตุให้เกิดสมองเสื่อมได้

มลพิษทางอากาศเข้าถึงเส้นเลือด ส่งผลร้ายต่อหัวใจ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระแห่งสหราชอาณาจักรแลเนเธอร์แลนด์ทำการทดลองหาความเกี่ยวข้องของมลพิษทางอากาศกับโรคหัวใจ พบว่า ฝุ่นละอองมลพิษขนาดเล็กหรือ Nanoparticles สามารถทะลุผ่านระบบกรองของจมูกและปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้ อาจจะไปกระตุ้นการเกิดโรคหัวใจหรือทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการแย่ลง 

อากาศเป็นพิษทำให้เสี่ยงต่อการแท้งได้เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่
มลพิษทางอากาศเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและทำให้เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ระดับไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงการแท้งลูกมากถึง 16% ไนโตรเจนไดออกไซด์เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 

ดร. แมทธิว ฟูลเลอร์ หนึ่งในทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ ระบุว่า ความเสี่ยงจากผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อทารกนั้น เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 

มลพิษทางอากาศทำร้ายเซลส์ผิว อักเสบ ริ้วรอย และจุดด่างดำ
ผศ.นพ. ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ กรรมการสมาคมแพทย์ความงาม ให้สัมภาษณ์กับ BBC Thai ว่า มลพิษทางอากาศนั้นสามารถแบ่งออกได้สองระดับ คือก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอักเสบบริเวณที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก 

ระยะยาว อนุภาคของฝุ่นจะทำลายเซลส์ผิว หากระคายเคืองและแกะเกาจนเกิดแผล ก็อาจจะติดเชื้อ 

ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ

สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?
สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร ?

ดัชนีคุณภาพอากาศของไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ

  • 0 - 25    = อากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและท่องเที่ยว

  • 26 - 50 = อากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ

  • 51 - 100 = อากาศปานกลาง คนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่สำหรับคนที่มีอาการไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ต้องลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

  • 101 - 200 = เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ คนทั่วไปเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการ ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง คนที่ต้องดูแลสุขภาพ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ถ้ามีอาการแน่นหน้าออก ปวดศรีษะ หัวใจเต้นไม่ปกติ คลื่นใส้ ควรปรึกษาแพทย์

  • 201 ขึ้นไป = มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ มีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ 

สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร
สุขภาพของคนที่ต้องแลกกับฝุ่นมีราคาเท่าไร

แก้ไข ป้องกันยังไงดี 

ในส่วนของภาครัฐ มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นและเสนอแนะคำแนะนำว่ารัฐควรจะแก้ปัญหาในระยะยาว เช่น รองศาสตราจารย์ ดร. นันทวรรณ วิจิตรวาทการ คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสนอแนะว่า ปัญหาเกิดจากสภาพอากาศแห้งในประเทศ กอปรกับยานพาหนะที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้มลพิษเพิ่ม รวมถึงการเผาไหม้เกษตรด้วย

รัฐควรแก้ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน เช่น การใช้นำมันดีเซลให้เป็นยูโร 5 และ ยูโร 6 ที่รัฐต้องเร่งดำเนินการให้ปรับคุณภาพให้ดีขึ้น ในส่วนของรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกก็ต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด รวมถึงเรื่องการเผาเกษตรด้วย 

ขณะที่นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมก็เห็นพ้องที่รัฐควรวางแผนแก้ไขป้องกันเช่นกัน โดยคุณสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  ชี้ว่า สิ่งแรกที่ต้องลดจากตัวรถยนต์คือ รถแต่ละคันต้องสะอาด มลพิษน้อย มาตรฐานต้องดีและสูงขึ้น เห็นด้วยที่ต้องใช้  ถ้ารถมีจำนวนเพิ่มขึ้น มาตรฐานรถยนต์ต้องดีอยู่ในระดับยูโร 5-6 น้ำมันต้องมีกำมะถันลดลงไม่เหลือไม่เกิน 10 พีทีเอ็ม และควรลดจำนวนการใช้รถให้น้อยลง การจราจรจะได้เบาบางขึ้น 

ขณะที่คุณมาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันขนส่งและผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า มาตรการเร่งด่วนคือ ภาคขนส่งต้องลดปริมาณการเดินทางบนท้องถนนในช่วงโอกาสวิกฤติโดยทันที โรงเรียนต้องพิจารณาหยุดสอนชั่วคราว เพราะเสี่ยงต่อสุขภาพนักเรียน เด็กเล็ก ส่วนรถเมล์คันดำควรหยุดวิ่งหรือลดจำนวนวิ่ง และลดการขนส่งกระจายสินค้าที่ไม่จำเป็น

ด้านคุณสนธิ คชวัฒน์ เลขาธิการสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าขณะที่องค์การอนามัยโลกตั้งมาตรฐานค่าฝุ่น PM 2.5 ไว้ที่ 25 ไมโครกรัม แต่ไทยตั้งค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ 50 ไมโครกรัม (ซึ่งจะเห็นว่ามาตรฐานไทยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก) ทางแก้เร่งด่วน รัฐควรมีมาตรการสนับสนุนการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ลดราคารถเมล์ หรือให้บริการฟรีในบางวัน แจกหน้ากากอนามัยฟรี และอำนวยความสะดวกอื่นหากต้องลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล 

สำหรับการป้องกันแก้ไขในระดับประชาชน 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นละอองโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ

  • ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ป้องกันฝุ่น และหมั่นทำความสะอาดบ้านทุกวัน

  • ใช้หน้ากากมีประสิทธิภาพที่กรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน 

  • เลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำงานในที่โล่งแจ้งนานกว่า 12 ชั่วโมง

  • ลดการใช้รถยนต์และการเผาขยะ ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบไปตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยเร็ว

ที่มา:

กรมควบคุมมลพิษ 
ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ 
รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย
โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางจัดการฝุ่นละออง 
การจัดลำดับเมืองที่มีปัญหามลพิษ
เหตุใดฝุ่นละอองขนาดเล็กจึงพุ่งขึ้นสูง 
ฝุ่นเป็นเหตุให้สมองเสื่อมได้ 
มลพิษเข้าถึงเส้นเลือด ส่งผลร้ายต่อหัวใจ 
อากาศเป็นพิษเสี่ยงแท้งเทียบเท่าการสูบบุหรี่ 
มลพิษทางอากาศทำลายเซลส์ผิว 
นักวิชาการ มธ. แนะรัฐแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชี้รัฐวางแผนแก้ไข ป้องกัน 

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก aomMONEY
Line@ : @aommoney
Website : www.aomMONEY.com
Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0