โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สิ้นเดือน ก.ค. รัฐบาลมีหนี้สินรวม 6.91 ล้านล้านบ. ย้ำรัฐบาลไม่มีแผนกู้เงินหนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ

Manager Online

เผยแพร่ 22 ส.ค. 2562 เวลา 11.00 น. • MGR Online

สบน. เผย หนี้รวมรัฐบาลเมื่อสิ้นเดือน ก.ค. 62 จะอยู่ที่ 6.91 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 41.5% ของจีดีพี โต้ รัฐบาลต้องกู้เพิ่มเพื่อรองรับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ขีดความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ย้ำ นอกจากรัฐบาลจะไม่กู้เงินรองรับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ตั้งแต่ปี 57 ยังได้ชำระหนี้เงินกู้ในระดับที่สูงกว่ารัฐบาลก่อนอีกด้วย คาด สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในปีงบประมาณ 67 จะอยู่ที่ 46.73% โดยมีเงื่อนไขจีดีพีต้องโต 4%

นางจินดารัตน์ วิริยะวิทยา ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน.สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ของรัฐบาลสิ้นเดือน ก.ค. 62 ว่า ประเทศมีหนี้สาธารณะรวมทั้งสิ้น 6.91 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 41.45% ของจีดีพี ซึ่งสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยจากการกู้ตามแผนการขาดดุลงบประมาณปี 62 โดยรัฐบาลได้กู้เงินดังกล่าวไปแล้ว 3.8 แสนล้านบาทจากยอดการขาดดุลรวม 4.5 แสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามยังเหลือวงเงินที่ต้องดำเนอนการอีก 1 แสนล้านบาทที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 63 ซึ่งกฏหมายเปิดทางให้ทำได้ แต่การกู้เงินเพื่อการขาดดุลอาจจะไม่ครบตามจำนวน เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วนงานราชการมีการเบิกจ่ายล่าช้าในบางโครงการ

สำหรับรายละเอียดของหนี้สาธารณะ 6.91.แสนล้านบาทนั้น ผู้อำนวยการ สบน. กล่าวเพิ่มเติมว่า จะแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 5.68 ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.06% ของจีดีพี ขณะเดียวกันยังมีหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันอีก 3.36 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 0.02% ของจีดีพี และหนี้ของหน่วยงานของรัฐอื่นๆ อีก 9.36 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 0.06%

นอกจากนี้ นางจินดารัตน์ ยังได้ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่ารัฐบาลต้องกู้เพิ่มเพื่อรองรับแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ขีดความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลนั้นลดลงว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากตั้งแต่ปี 57 รัฐบาลได้ชำระหนี้เงินกู้ในระดับที่สูงกว่ารัฐบาลก่อน โดยในปี 54 มีการชำระหนี้ 2.16 แสนล้านบาท, ในปี 57 ชำระหนี้ 1.85 แสนล้านบาท และในปี 62 มีการชำระหนี้อีก 2.5 แสนล้านบาท ส่วนการจัดงบเพื่อชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยตามกรอบงบประมาณรายจ่ายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในปีงบฯ 54 จะมีสัดส่วนการชำระคืนหนี้อยู่ที่ 1.5% ของงบประมาณประจำปี ส่วนในปี 57 จะมีสัดส่วนการชำระคืนฯ อยู่ที่ 2.09% เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายรวม และในปี 61 จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 2.85% เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายรวม

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลย้อนหลังของสถานการณ์หนี้ของประเทศเมื่อเทียบต่อกับจีดีพีในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น จะพบว่า หนี้สินของประเทศมีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนหนี้ของรัฐในปี 57 จะอยู่ที่ 43.33% ขณะที่ปี 58 จะอยู่ที่ 42.56% ส่วนปี 59 สัดส่วนกนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะอยู่ที่ 41.79% ในปี 60 จะอยู่ที่ 41.87% และในปี 62 จะอยู่ที่ 42.07% ทั้งนี้ เป็นการสะท้อนว่ารัฐบาลสามารถดูแลหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และยังคงอยู่ในสัดส่วนไม่เกิน 60% ตามกรอบของการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง

อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการ สบน. ยังคาดการณ์ถึงสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในปีงบประมาณ 67 ว่า จะอยู่ที่ระดับ 46.73% ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจต้องขยายตัว 4% โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะดังกล่าวนั้นจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4.8% และยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการรักษาวินัยการเงินและการคลัง นอกจากนี้ ยังย้ำด้วยว่า สบน. มีการบริหารหนี้ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง หนี้สาธารณะราว 90% ยังเป็นหนี้ระยะยาวที่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในระดับต่ำ รวมทั้ง ยังเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งจะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0