โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สินเชื่อรถยนต์ฮอต โตแตะ 1 ล้านล้านบาท

TNN ช่อง16

อัพเดต 22 พ.ค. 2562 เวลา 08.39 น. • เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 08.39 น. • TNN Thailand
สินเชื่อรถยนต์ฮอต โตแตะ 1 ล้านล้านบาท
สินเชื่อรายย่อยโตดีทุกพอร์ต โดยขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 10.1% ดันยอดคงค้างเช่าซื้อรถยนต์แตะ 1 ล้านล้านบาท

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่ค่าครองชีพกลับสูงลิ่วอย่างในปัจจุบัน ทำให้คนหันมาพึ่งพาการกู้เงินกันมากขึ้น แม้ว่าสถาบันการเงินจะเข้มงวดการปล่่อยสินเชื่อกว่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีวินัยในการชำระหนี้หรือลูกค้าเก่าที่มีเครดิตดีให้ยื่นกู้ได้หากจำเป็น 

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเปิดเผยภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งพบว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจาก 6.0%  ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 5.6%  โดยเป็นการชะลอตัวตามสินเชื่อธุรกิจจากการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้บางรายในภาคอุตสาหกรรมและบริการ   ที่หันไประดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้มากขึ้น    อย่างไรก็ดี  สินเชื่ออุปโภคบริโภคยังขยายตัวดีในทุกพอร์ต สอดคล้องกับการบริโภคที่ขยายตัวดี และเป็นผลจากการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดสินเชื่อรายย่อย   รวมทั้งมีการเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยก่อนมาตรการ Loan To Value (LTV) มีผลบังคับใช้

โดยสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งมีสัดส่วน 65.3% ของสินเชื่อรวม ขยายตัว 3.4% โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.1% ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 4.4%   สินเชื่อธุรกิจ SME (ไม่รวมธุรกิจการเงิน) ขยายตัวชะลอลงจาก 4.5% ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 1.5% จากการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้ที่ใช้วงเงินสินเชื่อสูงบางรายในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม                                           

สินเชื่ออุปโภคบริโภคที่มีสัดส่วน 34.7% ของสินเชื่อรวม ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 10.1% โดยเป็นการขยายตัวสูงในทุกพอร์ต โดยหลักจาก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงขยายตัวสูงขึ้นจากการเร่งปล่อยสินเชื่อต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว ก่อนมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2562   สินเชื่อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ และ   สินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท ทั้งที่มีหลักประกัน อาทิ สินเชื่อบ้านแลกเงินและสินเชื่อรถแลกเงิน และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน

ขณะที่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 ยอดคงค้างสินเชื่อรวมทั้งระบบมีจำนวน 13.22 ล้านล้านบาท สินเชื่อธุรกิจมีจำนวน 8.63 ล้านล้านบาท สินเชื่อบ้านมีจำนวน 2.29 ล้านล้านบาท   สินเชื่อรถยนต์ 1.09 ล้านล้านบาท สินเชื่อบัตรเครดิตมีจำนวน 227,600 ล้านบาท   และสินเชื่อส่วนบุคคลมีจำนวน   967,300 ล้านบาท

ขณะที่ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL)  ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.94% ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยเป็นยอดคงค้าง NPL อยู่ที่ 454,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 10,000 ล้านบาท    ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง    ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้  การตัดหนี้สูญ และขายหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง   สำหรับสัดส่วนสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention: SM) เพิ่มขึ้นจาก 2.42% ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 2.56% จากสินเชื่อธุรกิจ SME เป็นสาคัญ

ส่วนเงินสำรองในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูงที่ 685,000 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 15,800 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรอง พึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 195.0%

แม้ว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ จะยังคงมั่นคง แต่บรรดาธนาคารต่างๆก็ยังต้องควบคุมการปล่อยสินเชื่อในแต่ละราย เพื่อให้มั่นใจว่า สินเชื่อที่ปล่อยออกไปนั้นจะกลายเป็นหนี้เสีย เพราะเมื่อดูตัวเลขแล้วอัตราหนี้เสียหรือ NPL ในระบบก็ยังคงเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0