โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สิทธิของช้านนนน…ปักหมุด!! รวมสูตรลดหย่อนภาษี ที่สรรพากรเขาจัดมาให้

Rabbit Today

อัพเดต 14 ธ.ค. 2561 เวลา 14.45 น. • เผยแพร่ 14 ธ.ค. 2561 เวลา 14.45 น. • Rabbit Today
allowance-biz-buzz-Rabbit-Today-banner

หน้าที่คนไทยคือการเสียภาษี แต่คนที่มีความชาญฉลาดจะไม่เสียภาษีแบบหน้ามืดตามัว

การ ‘ลดหย่อนภาษี’ เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะในเมื่อเราไม่สามารถหนีภาษีได้พ้นอยู่แล้ว ยังไงชีวิตนี้ก็ต้องจ่ายภาษี และเราก็ควรใช้ประโยชน์จากเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เฮียสรรพากรเค้าจัดมาให้อย่างสาสมใจ

โดยทุกๆ ปีจะมีสูตรลดหย่อนภาษีใหม่ๆ เพื่อช่วงการยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 และ 91 ตั้งแต่ช่วงมกราคม-มีนาคมของทุกปี และแต่ละปีก็จะมีทั้งคัมภีร์สูตรเดิม และสูตรใหม่เข้ามาเสมอ 

ส่วนจะมีวิธีการใดบ้าง ลองไปเลคเชอร์กันดู…

1. ลดหย่อนภาษีจากภาระติดตัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว เป็นค่าลดหย่อนที่ทุกคนใช้สิทธิได้ทันที จำนวน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส กรณีคู่สมรสตามกฎหมาย (สามีหรือภรรยา) ได้สิทธิค่าลดหย่อน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร บุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดหย่อนตามค่าใช้จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่เราและพ่อแม่คู่สมรส ถ้าหากเรามีคุณพ่อคุณแม่และคุณพ่อคุณแม่ของคู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท เราก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท แต่ในกรณีของพ่อแม่ของคู่สมรสมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีรายได้เท่านั้น
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ ในกรณีที่เราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายตามใบรับรองแพทย์ จะได้รับการลดหย่อนจำนวน 60,000 บาท 

2. ลดหย่อนภาษีจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวไทย (55 จังหวัดเมืองรอง) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท สำหรับค่าลดหย่อนตัวนี้เป็นมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยให้สิทธิตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ซึ่งลดหย่อนได้เฉพาะส่วนที่เป็นค่าทัวร์ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าแพ็คเกจท่องเที่ยว ค่าสัมมนา แต่จะได้เงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาอยู่ 2 ส่วน คือ สามารถใช้จ่ายเป็นค่าที่พักกับโฮมสเตย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว และอีกเงื่อนไขคือ ได้แค่กลุ่มเมืองรอง 55 จังหวัดเท่านั้น
  • การจับจ่ายสินค้าเพื่อกระตุ้นสินค้าซบเซา (เฉพาะปีนี้)

1. ยางรถยนต์ เหตุผลจากราคาผลผลิตยางพาราในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างตกต่ำ และน้ำยางดิบส่วนใหญ่นำมาผลิตยางรถยนต์ มาตรการนี้จึงสามารถช่วยเกษตรกรชาวสวนยางได้ทางอ้อม

2. หนังสือและ E-Book เหตุผลเพื่อส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

3. สินค้า OTOP เหตุผลเพื่อส่งสนับสนุนสินค้าของชาวบ้านและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น เริ่มในวันที่ 15 ธันวาคม 2561 จนถึง 15 มกราคม 2562 ผู้ที่ซื้อสินค้ากลุ่มดังกล่าวสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 ปีภาษี

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท ที่เราจ่ายไปเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่ออยู่อาศัย กรณีหากมีการกู้ร่วมกัน 2 คน จะถือว่าดอกเบี้ยที่สามารถใช้สิทธิได้คือ 100,000 และแต่ละคนจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่แก่คนทำธุรกิจที่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมในการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ตั้งแต่ช่วง 1 พ.ย. 2559 - 31 ธ.ค. 2564 ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ประเภทค่าเช่า วิชาชีพอิสระ รับเหมา และ ธุรกิจอื่นๆ จำนวนไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์นี้ไป
  • เงินลงทุนในธุรกิจ Startup ได้รับลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท ซึ่งลักษณะธุรกิจนั้นๆ จะต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีทุนจดทะเบียนที่ชําระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยสิทธิลดหย่อนจะตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2562 

3. ลดหย่อนภาษีจากการลงทุน

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท โดยกองทุนรวม LTF นั้นมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีถึงจะขายได้ ปัจจุบันรัฐได้ขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี จากปี 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2562
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF มีเงื่อนไขเพิ่มเติมตามนี้

- ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี)ต้องซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ 5,000 บาท

- ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายได้

  • เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ การหักค่าเบี้ยประกันจะหักได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าหากคู่สมรสมีรายได้จะหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท ส่วนเงื่อนไขจะมีเรื่องของระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย ได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี ฯลฯ ซึ่งสอบถามกับตัวแทนฯ ได้
  • เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท
  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน จำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินประกันสังคม สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท 

4. ค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค

การบริจาคเงินให้สังคม จะได้สิทธิหักสูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิ เช่น เพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และช่วยเหลือสังคม และการบริจาคช่วยน้ำท่วมขึ้นมาด้วย เนื่องจากช่วงนี้มีข่าวน้ำท่วมในหลายพื้นที่

อ้างอิงข้อมูล: กรมสรรพากร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0