โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สำรวจจุดก่อสร้างเขื่อนน้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน ผันน้ำลงเขื่อนภูมิพล

Thai PBS

อัพเดต 19 ม.ค. 2563 เวลา 22.56 น. • เผยแพร่ 19 ม.ค. 2563 เวลา 22.56 น. • Thai PBS
สำรวจจุดก่อสร้างเขื่อนน้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน ผันน้ำลงเขื่อนภูมิพล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ม.ค.2563 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา สภาผู้แทนราษฎร เดินทางศึกษาดูงานการบริหารจัดการลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน ลุ่มน้ำปิง จ.เชียงใหม่ โดยล่องเรือตามลำน้ำเงา-น้ำยวม เพื่อดูพื้นที่จุดที่จะมีการสร้างอุโมงค์ผันน้ำ และพื้นที่คาดว่าจะถูกน้ำท่วมหลังการสร้างเขื่อนน้ำยวม เพื่อผันน้ำสู่เขื่อนภูมิพล

กมธ.ล่องเรือลำน้ำยวม-เงา ดูจุดสร้างอุโมงค์และเขื่อน
กมธ.ล่องเรือลำน้ำยวม-เงา ดูจุดสร้างอุโมงค์และเขื่อน

กมธ.ล่องเรือลำน้ำยวม-เงา ดูจุดสร้างอุโมงค์และเขื่อน

โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และโครงการแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ตั้งโครงการอยู่ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน อ.ฮอด อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการผันน้ำผ่านลุ่มน้ำ มีพื้นที่ชลประทานเกิน 80,000 ไร่ และตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เกิน 500 ไร่ขึ้นไป ซึ่งจะผ่านพื้นที่ป่าจำนวน 7 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติแม่เงา (เตรียมการ),ป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยาง,ป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่มแม่ตื่น,ป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อย,ป่าสงวนแห่งชาติแม่ยวมฝั่งซ้าย และป่าสงวนแม่ยมฝั่งขวา

ความสมบูรณ์ของป่าและลุ่มน้ำยวม-เงา
ความสมบูรณ์ของป่าและลุ่มน้ำยวม-เงา

ความสมบูรณ์ของป่าและลุ่มน้ำยวม-เงา

นายวีระกร คําประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ เปิดเผยว่าเหตุผลที่มีโครงการเพื่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และโครงการแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สืบเนื่องจากปัญหาปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ที่มีความจุ 9,662 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำเฉลี่ยไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล 5,677 ล้าน ลบ.ม.ลดลงจากอดีตร้อยละ 12 ซึ่งไม่เพียงพอกับกับการใช้การเกษตรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และผลักดันน้ำเค็ม และยังลุ่มน้ำปิงตอนบนยังมีแนวโน้มใช้น้ำเพิ่มขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องหาแห่งน้ำมาเพิ่มเติมโดยโครงการผันน้ำยวมจึงเป็นหนึ่งทางเลือกนั้น

นายวีระกร คําประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร
นายวีระกร คําประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร

นายวีระกร คําประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร

ด้านนายพลมงคล ชิดชอบ ผู้อำนวยการส่วนวางโครงการที่ 1 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และโครงการแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เริ่มมีการศึกษาเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา แต่โครงการช่วงนั้นศึกษาโดยกรมพลังงานทดแทน มุ่งเน้นเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ปัจจุบันเกิดวิกฤตน้ำต้องการสร้างความมั่นคงน้ำในลุ่มน้ำภาคกลาง จะต้องหาน้ำมาเพิ่มเติมเขื่อนภูมิพล โดยเฉพาะน้ำที่ไหลออกนอกประเทศไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย จึงมีการผันน้ำ

พลมงคล ชิดชอบ ผู้อำนวยการส่วนวางโครงการที่ 1 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน
พลมงคล ชิดชอบ ผู้อำนวยการส่วนวางโครงการที่ 1 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน

พลมงคล ชิดชอบ ผู้อำนวยการส่วนวางโครงการที่ 1 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน

ส่วนความคืบหน้าโครงการฯล่าสุดศึกษาเข้าคณะกรรมการชำนาญการ มีการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้ว 2 ครั้งมีข้อต้องปรับปรุงข้อกังวลสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ เรื่อง เช่น พันธุ์ปลาหากมีการสร้างเขื่อนกั้นปลาจากแม่น้ำสาละวิน จะไม่สามารถขึ้นจากแม่น้ำเมย น้ำยวม น้ำเงา หรือ การผันน้ำจากบุ่มน้ำสาละวิน จะทำให้มีพันธุ์ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ หรือปลาพันธุ์ต่างถิ่นมารุกราน ทำร้ายปลาในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบและสำรวจ หากผ่านการพิจารณาก็สามารถตั้งงบเพื่อดำเนินการได้ทันที

บ้านเรือนชาวบ้านริมแม่น้ำยวม
บ้านเรือนชาวบ้านริมแม่น้ำยวม

บ้านเรือนชาวบ้านริมแม่น้ำยวม

ขณะที่ข้อกังวลที่ระดับน้ำที่จะท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน ผู้อำนวยการส่วนวางโครงการที่ 1 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ยืนยันว่าระดับน้ำหลังการสร้างเขื่อนจะไม่สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมในฤดูฝน ซึ่งการมีเขื่อนและสถานีสูบน้ำจะช่วยควบคุมปริมาณน้ำ ขณะที่อุโมงค์ผันน้ำระยะทาง 61 กม.ยืนยันว่าจะมีการควบคุมปลาไม้ให้ผ่านไปในอุโมงค์

อุโมงค์ไม่ใช่อุโมงค์แรงดัน จะเป็นแบบเปิดมีอากาศด้านบน เหมือนปลาว่ายอยู่ธรรมดา ไม่ได้เป็นคล้ายท่อประปา แต่จะกันไม่ให้ปลาเข้าอุโมงค์ สถานีสูบมีการกำหนดให้มีคลื่นเสียงเพื่อกันไม่ให้เข้าใกล้ มีการทำตาข่ายดัก

 

ภาพจำลองโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์เขื่อนน้ำยวม
ภาพจำลองโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์เขื่อนน้ำยวม

ภาพจำลองโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์เขื่อนน้ำยวม

ส่วนงบประมาณโครงการที่คาดว่าจะใช้ในการดำเนินการคาดว่าจะใช้งบประมาณ 70,000 ล้านบาท ยืนยันมีความคุ้มค่ากับการลงทุน เมื่อเทียบกับความมั่นคงในอนาคต และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตจะมีความเสี่ยงมากขึ้น เขื่อนภูมิพลปัจจุบันมีความจุ 9,662 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณ 5,000 ล้าน ลบ.ม. น้ำไม่เต็มเขื่อนทุกปีถ้ามีโครงการนี้ไปเติม ประมาณ 1,700 -1,800 ล้าน ลบ.ม. ก็ได้น้ำมากกว่าครึ่งปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ เมื่อคำนวณการลงทุนจะตกอยู่ที่ 5 บาท ต่อ ลบ.ม.จะสามารถเปิดพื้นที่การเกษตรในฤดูแล้งได้ประมาณ 1,060,000 ไร่ และจะไม่กระทบผู้ใช้น้ำลุ่มน้ำยวม-เงา เพราะจะผันน้ำเพียง 6 เดือนเท่านั้น

ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมหารือกับคณะ กมธ. ยอมรับว่า ชาวบ้านกังวลกับการสร้างเขื่อนโดยเฉพาะอุโมงค์บริเวณหมู่บ้าน
ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมหารือกับคณะ กมธ. ยอมรับว่า ชาวบ้านกังวลกับการสร้างเขื่อนโดยเฉพาะอุโมงค์บริเวณหมู่บ้าน

ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมหารือกับคณะ กมธ. ยอมรับว่า ชาวบ้านกังวลกับการสร้างเขื่อนโดยเฉพาะอุโมงค์บริเวณหมู่บ้าน

ด้านผู้นำหมู่บ้านแม่เงา หมู่ที่ 8 ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมหารือกับคณะ กมธ. ยอมรับว่า ชาวบ้านกังวลกับการสร้างเขื่อนโดยเฉพาะอุโมงค์บริเวณหมู่บ้าน แม้การศึกษาออกแบบจะไม่ให้กระทบกับชาวบ้านแม่เงา ชาวบ้านยืนยันว่า จุดจะเจาะอุโมงค์มีบ้านเรือนของชาวบ้านอาศัยอยู่ หากมีการก่อสร้างจะย้ายชาวบ้านที่อาศัยอยู่ไปอยู่ที่ไหน วิถีชีวิต และพื้นที่ดินทำกิน จะดูแลอย่างไร เพราะพื้นที่ชาวบ้านอาศัยและทำกินทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ป่าที่อาศัยและทำกินมานาน

ภาพจำลองโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์เขื่อนน้ำยวม
ภาพจำลองโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์เขื่อนน้ำยวม

ภาพจำลองโครงการสร้างเขื่อนและอุโมงค์เขื่อนน้ำยวม

สำหรับโครงการเพื่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล และโครงการแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล มีสิ่งก่อสร้างประกอบด้วย 

- เขื่อนน้ำยวม เป็นเขื่อนหินถมคอนกรีต มีความสูง 69.5 กม. กว้าง 9 ม. ความยาว 260 ม.
- อ่างเก็บน้ำยวม มีความจุอ่าง 68.34 ล้าน.ลบ.ม. และน้ำสามารถใช้งาน 13.95 ล้าน ลบ.ม.
- สถานีสูบน้ำบ้านสบเงา เครื่องสูบ 6 เครื่อง อัตราการสูบรวม 182.52 ล้าน ลบ.ม./วินาที น้ำผันเฉลี่ยต่อปี 1,795.25 ล้าน ลบ.ม/ปี
- อุโมงค์ส่งน้ำคอนกรีต ความยาว 61.52 กม. มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.10-8.30 ม.
- อุโมงค์พักน้ำและอัดอากาศและท่อระบายอากาศ เส้นผ่านศูนย์กลาง 34.10 ม.ความสูง 25.54 ม.
- อุโมงค์อัดน้ำ ยาว 1.822 กม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.8 มม.

ป่าไม้บริเวณลุ่มน้ำยวม-เงา
ป่าไม้บริเวณลุ่มน้ำยวม-เงา

ป่าไม้บริเวณลุ่มน้ำยวม-เงา

พื้นที่ป่าไม้ และสัตว์ป่า คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการฯ จำนวน 3,641.77 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าโซน C และ E จำนวน 3623.13 ไร่ สัตว์ป่า พบนกอพยพจำนวน 15 ชนิด สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ คือ เต่าเหลือง เต่าปูลู และสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง คือ ลิ่นชวา ส่วนสัตว์น้ำที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ จากการสร้างเขื่อนน้ำยวมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ และกีดขวางเส้นทางเคลื่อนย้ายของปลาหรือสัตว์น้ำตามวัฎจักร เช่น ปลาสะเเงะ (ปลาตูหนา) ปลาดกดหัวเสียม ปลากดหมู ปลาคม และการผัดน้ำอาจทำให้ปลาเฉพาะถิ่นของลุ่มน้ำสาละวิน เช่น ปลาพลวง ปลากดหัวเสียม ปลากดหมู หลุดเข้าไปห้วยแม่งูดที่ผันน้ำไปลงเขื่อนภูมิพล อาจส่งผลกระต่อความสมดุล และห่วงโซ่อาหารในลุ่มน้ำพื้นที่บ้านเรือน และพื้นที่เกษตรกรรม ที่อาศัยบริเวณโครงการมีจำนวน 24 หลังคาเรือน รวมพื้นที่ทำกิน 105.05 ไร่ คาดว่าต้องชดเชยประมาณ 27 ล้านบาท

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0