โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สำรวจคราฟท์เบียร์สัญชาติไทย ที่ต้องไปผลิตที่ต่างประเทศ

TODAY

อัพเดต 15 ม.ค. 2563 เวลา 14.42 น. • เผยแพร่ 15 ม.ค. 2563 เวลา 14.42 น. • Workpoint News
สำรวจคราฟท์เบียร์สัญชาติไทย ที่ต้องไปผลิตที่ต่างประเทศ

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงสำรวจคราฟท์เบียร์สัญชาติไทย ที่ต้องไปผลิตที่ต่างประเทศ แล้วนำเข้ากลับมาขายที่ไทย เพราะกฎหมายไม่เอื้อต่อผู้ผลิตรายย่อย

จากประกาศกระทรวงการคลังเรื่องวิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. 2543 อนุญาตให้มีการทำเบียร์ได้ 2 ประเภท คือ 1.หากเป็นโรงงานขนาดใหญ่ต้องมีปริมาณการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี 2. โรงเบียร์ขนาดเล็กประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brew Pub) โดยให้บริโภคเพียงภายในพื้นที่ผลิต ไม่อนุญาตให้บรรจุขวดและต้องผลิตในปริมาณขั้นต่ำที่ 1 แสนลิตร แต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งการผลิตเบียร์ทั้งสองประเภท ผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนด้วยเงินทุนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

ด้วยข้อกฎหมายนี้ จึงทำให้ผู้ผลิตรายย่อยรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยในไทยมีผู้ผลิตคราฟท์เบียร์สัญชาติไทยมากกว่า 70 แบรนด์ และมีประมาณ 30 แบรนด์ ที่ย้ายฐานไปผลิตในต่างประเทศ เพื่อการผลิตที่ถูกกฎหมาย

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงสำรวจคราฟท์เบียร์สัญชาติไทยว่าไปตั้งฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศไหนกันบ้าง ?

1.Outlaw Beer
ถือกำเนิดมาจากร้าน Outlaw Brewing ใน จ.เลย ซึ่งเจ้าของร้านคือคุณไมเคิล โรเบิร์ตส์ ชาวแคนาดาและภรรยา คุณจินตนา สีวัดทานัง โดยได้ทดลองต้มเบียร์และขายให้กับลูกค้าที่คุ้นเคย ก่อนจะส่งไปผลิตที่ Kingdom Breweries กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

2.Stone Head Beer
เริ่มต้นจาก คุณฟาง ปณิธาน ตงศิริ ชายหนุ่มจาก จ.สกลนคร ที่ได้ชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมทำด้วยกัน และได้ลงทุนสร้างโรงผลิตเบียร์เป็นของตัวเองที่เมืองเกาะกง ประเทศกัมพูชา นอกจากแบรนด์ Stone Head แล้วยังมีแบรนด์อื่นๆ เช่น บ้านนอกเบียร์ ลำซิ่งเบียร์ อีกด้วย

3.YodBeer (ยอดเบียร์)
แบรนด์นี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ “เบียร์กล้วยตาก” เพราะเป็นเบียร์ที่ดื่มง่าย มีรสชาติหอมหวานน้ำผึ้งและกล้วยตากจากชุมพร สัญลักษณ์เป็นรูปหมีจำง่าย เจ้าของแบรนด์ได้ทำการผลิตที่ Stone Head โรงเบียร์สัญชาติไทยในเมืองเกาะกง ประเทศกัมพูชา

4.Triple Pearl Beer
คราฟท์เบียร์ จากบางแสน ชลบุรี เป็นเบียร์ที่ผลิตแบบเบลเยี่ยม เบียร์ตัวหลักของแบรนด์คือ Witbier ซึ่งมีส่วนผสมของเม็ดผักชี กับเปลือกส้มทำให้รู้สึกชุ่มคอ สดชื่น แต่ใช้ยีสต์แบบเยอรมัน ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างไทยกับต่างชาติ แบรนด์นี้ได้ทำการผลิตที่ Stone Head โรงเบียร์สัญชาติไทยในเมืองเกาะกง ประเทศกัมพูชาเช่นเดียวกัน

5.Chiang Mai Beer
เริ่มก่อตั้งจากคุณศักดิ์สิทธิ์ สงวนผล ที่ตั้งใจถ่ายทอดรสชาติความเป็นเชียงใหม่ผ่านคราฟท์เบียร์ โดยเลือกเอาข้าวสาลีพันธุ์ฝางจากเชียงใหม่ ผลไม้พื้นถิ่น และกาแฟมาเป็นส่วนผสม ซึ่งได้ทำการผลิตที่ แขวงสะหวันเขต ส.ป.ป.ลาว

6.Golden Coins Beer
เริ่มต้นจากคุณเปี๊ยก พิพัฒนพล พุ่มโพธิ์ โดยชื่อ Golden Coins ที่แปลว่าเหรียญทอง คือนามสกุลของแม่คุณเปี๊ยกเอง และได้เปิดเป็นร้านคราฟท์เบียร์ที่เอกมัยซอย 10 เพื่อให้ลูกค้าได้ลิ้มลองรสชาติ โดยได้ทำการผลิตที่ ประเทศเวียดนาม

7.Mahanakhon Brewery
เริ่มต้นจากคุณเดียร์ แทนทอง ธรรมวัฒนะ เป็นวิทเบียร์สไตล์เบลเยี่ยมที่ดื่มง่าย สดชื่น รสชาติสไตล์ไทย เช่น มีส่วนผสมของข้าวหอมมะลิ มะพร้าว ใบเตย เป็นต้น ทำการผลิตที่ Red Point Brewery ประเทศไต้หวัน

8.Chalawan Beer
เริ่มต้นจากคุณเอ็ม สุกิจ ทีปาฏิมา และคุณเส่ง กมลาศ พัฒนาไพศาล ที่เริ่มทำครั้งแรกที่ภูเก็ต ก่อนจะเป็นคราฟท์เบียร์แบรนด์แรกที่ถูกกฎหมายในไทย โดยผลิตที่ Stockade Brew Co ประเทศออสเตรเลีย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0