โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สำนึกผิดไม่ทัน... เมื่อขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลของไทย มีส่วนทำให้วาฬในท้องทะเลต้องตาย

Thaiware

อัพเดต 21 พ.ย. 2561 เวลา 10.20 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2561 เวลา 10.20 น. • เคนชิน
สำนึกผิดไม่ทัน... เมื่อขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลของไทย มีส่วนทำให้วาฬในท้องทะเลต้องตาย
ไทยติดหนึ่งใน 5 ประเทศที่ผลิตขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก ได้เวลาหรือยังที่เราจะลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก

***หมายเหตุ ภาพประกอบไม่ใช่เหตุการณ์จริงของข่าวนี้

มนุษยชาติต้องมีส่วนรับผิดชอบในการตายของวาฬสเปิร์มอีกหนึ่งตัว มันขึ้นมาตายเกยหาดของเกาะ Kapota ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ Wakatobi ประเทศอินโดนีเซีย โดยเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติพบว่าในท้องของมันเต็มไปด้วยขยะพลาสติก

มีการพบพลาสติกกว่า 1,000 ชิ้น แยกเป็นถ้วยพลาสติก 115 ใบ ถุงพลาสติก 25 ใบ รองเท้าแตะ 2 ข้าง และเชือกพลาสติกกว่า 1,000 เส้น รวมน้ำหนักถึง 6 กิโลกรัมเลยทีเดียว และขยะเหล่านี้ได้ไปรวมตัวกันเป็นก้อนในท้องของวาฬสเปิร์มที่มีขนาดลำตัวยาว 9.5 เมตร

โดยคุณ Dwi Suprapti ซึ่งเป็นนักอนุรักษ์ของ WWF หรือองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกประจำประเทศอินโดนีเซีย กล่าวกับ CNN ว่า "ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถสรุปสาเหตุการตายที่แท้จริงของวาฬสเปิร์ม แต่ว่าข้อเท็จจริงที่เราเห็นนั้นก็ร้ายแรงจริงๆ"

อย่างไรก็ดี มันค่อนข้างชัดเจนว่า ขยะพลาสติกในท้องน่าจะเป็นสาเหตุการตายของมัน และเฉพาะในปีนี้ ก็มีวาฬอีกสองตัวที่ตายเกยหาดด้วยท้องที่เต็มไปด้วยขยะ

สำนึกผิดไม่ทัน… เมื่อขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลของไทย มีส่วนทำให้วาฬในท้องทะเลต้องตาย
สำนึกผิดไม่ทัน… เมื่อขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลของไทย มีส่วนทำให้วาฬในท้องทะเลต้องตาย

ในเดือนเมษายน วาฬสเปิร์มขนาด 10 เมตรถูกพบในสภาพที่นอนตายเกยชายหาดแห่งหนึ่งในประเทศสเปน และพบขยะพลาสติกปริมาณมากถึง 29 กิโลกรัมในท้องของมัน มีถุงพลาสติกถึง 80 ใบ และจากการสืบสวนหาสาเหตุการตาย นั่นก็พบว่ากระเพาะของวาฬ ไม่สามารถย่อยพลาสติกได้ ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง

และในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการพบวาฬนำร่อง (Pilot whale) นอนเกยหาดในประเทศไทยของเรานี่เอง และตายในที่สุด พบขยะพลาสติกหนัก 7.7 กิโลกรัมในท้อง โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว AFP ว่า มีความเป็นไปได้ที่พลาสติก ทำให้ระบบการย่อยอาหารของวาฬเกิดความบกพร่อง

และจากงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ในปีก่อน นักวิจัยพบว่าในปี 2015 มีพลาสติกกว่า 8.3 ล้านตันที่ถูกผลิตโดยมนุษย์ตั้งแต่ยุคปี 1950 และพลาสติกเกินกว่า 6.3 ล้านตันได้กลายเป็นขยะ ที่ถูกนำมากองทิ้งบนแผ่นดิน และบางส่วนกระจัดกระจายอยู่ในสภาพแวดล้อม

ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่ามีขยะพลาสติกอยู่ในมหาสมุทรมากน้อยขนาดไหน แต่จากการศึกษาในปี 2015 พบว่า แค่เฉพาะในปี 2010 ก็มีขยะพลาสติกถูกทิ้งลงทะเลกว่า 12.7 ล้านตัน และเกินครึ่งของขยะพลาสติกทั้งโลก มาจาก 5 ประเทศได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย….. (น่าอายเนอะ) โดยอินโดนีเซีย เป็นประเทศอันดับสองที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด โดยมีปริมาณขยะ 1.4 ล้านตันในแต่ละปี

และถ้ายังไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในเรื่องนี้ ปริมาณขยะในทะเลก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำลายชีวิตสัตว์ทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีเพื่อช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติก แต่มันอาจเป็นเพียงคำปลอบที่ไร้ประโยชน์สำหรับวาฬที่ต้องตายไปเพราะการกลืนกินขยะพลาสติก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0