โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สำนวนนี้มีที่มาแบบไหน

Typethai

เผยแพร่ 10 ก.พ. 2562 เวลา 17.01 น.

สำนวนหลายสำนวนที่ปัจจุบันเรายังใช้กันแพร่หลาย หลาย ๆ สำนวนก็มีความหมายตามตัว แต่ก็ยังมีอีกหลายสำนวนที่เราก็สงสัยว่าจริง ๆ มันมีที่มาจากอะไร และนี่คือที่มาของสำนวนบางส่วนที่เรายังพูดกันอยู่

การกินข้าวด้วยมือ ก่อนจะกินอาหารจะเอามือลงชุบน้ำเพื่อล้างมือให้สะอาด และไม่ให้ข้าวติดมือ คนที่ไม่ช่วยทำพอถึงเวลามารับประทาน เปรียบกับคนที่ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ลงทุนลงแรง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มยิงปืนใหญ่เวลา 12.00 นาฬิกาในพระนครให้ได้รู้กันว่าเป็นเวลาเที่ยง เป็นที่มาของความหมายของคนที่อยู่ไกลออกไปคือคนบ้านนอก

มาจากการเล่นหมากรุก ไม่พิจารณาให้รอบคอบ

มาจากการเล่นหุ่นและหนังตะลุง ที่มีคนเชิดบงการอยู่เบื้องหลังหรือฉากหลังของเรื่องราวทั้งหมด

หมายถึงคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว โดยเทียบกับปลาซิวเป็นปลาชนิดหนึ่งตัวเล็ก ๆ ตายง่าย คือพอเอาขึ้นจากน้ำก็ตาย

หมายถึงคิดมานะไปสู่กับเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า สำนวนนี้มาจากการต่อสู้ในสนามรบ เพราะนักรบจะต้องรุกไปข้างหน้าเสมอ คือเมื่อจะตายก็ไปตามเอาข้างหน้า ไม่มีย่อท้อถอยหลัง

ใช้เรียกอาการที่เมาเต็มที่โดยมีที่มาจากในอดีตที่เรามักใช้เรือเป็นพาหนะทั้งในธุรกิจ ติดต่อค้าขาย ตลอดจนการเล่นรื่นเริงต่าง ๆ และคนในเรือมักจะกินเหล้าเมาจนหัวลงไปราอยู่กับพื้นน้ำ

หมายถึงช่วยกันออกค่าใช้จ่าย ซึ่งการลงขันเป็นประเพณีให้ของขวัญแบบโบราณ เช่น ในงานโกนจุกมีการเอาขันเชิงมาตั้งสำหรับญาติพี่น้อง แขกที่ไปร่วมงานเอาเงิน หรือสิ่งของเครื่องรูปพรรณใส่ลงขัน เป็นการทำขวัญเด็กโกนจุก

หมายถึงรับคำด้วยดี ตกลงด้วยดี ซึ่งมาจากประเพณีแต่งงาน ในวันก่อนฤกษ์แต่งงาน ฝ่ายชายจะต้องจัดผ้าไหว้และขันหมากไปบ้านเจ้าสาว ขันหมากมี 2 อย่าง เรียกว่า ขันหมากเอกกับขันหมากเลว ขันหมากเอกจะมีข้าวสาร หมากและพลู มีเตียบ คือตะลุ่ม ใส่หมากพลู หมูต้ม ห่อหมก ขนมจีน ขันหมากเลวมีขนมกับลูกไม้ต่าง ๆ ห่อหมก เป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทั้งสองคำรวมกันจึงหมายถึง ทั้งสองฝ่ายตกลงด้วยดี รับคำด้วย ดี

คือการทำหรือพูดขึ้นมาโดยไม่มีเค้ามูล ซึ่งมาจากการรำละคร หรือกระบี่กระบองที่ใช้ปี่กับกลองทำเพลง เป็นจังหวะประกอบรำ เช่น ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนโจรปล้นขุนศรีวิชัย จับขุนช้างกับนางแพรทองให้รำ มีกลอนว่า “เจ้าขุนช้างกับนางแพรทอง ว่าไม่มีปี่ กลองรำไม่ได้ ” ดังนั้นอะไรที่เกิดขึ้นเงียบ ๆ เฉย ๆ โดยไม่มีเค้ามูล จึงพูดเป็นสำนวนว่าไม่มีปี่มีกลอง

มาจากการเล่นว่าวจุฬาคว้าปักเป้า ว่าวจุฬาต้องสายป่านที่ยาวจึงจะคว้าสะดวก แต่ถ้าสายป่านสั้นก็ทำอะไรไม่ได้ เปรียบดั่งคนที่ทำงานหรือขยายกิจการอะไรให้ใหญ่โตไม่สำเร็จ เพราะเงินน้อยทุนน้อย

พอเราได้รู้ที่มา การจะพูดสำนวนไหนออกไปก็จะเป็นคำที่มีความหมายถูกต้อง สื่อสารได้ดั่งที่เราต้องการ

อย่าลืมติดตาม เรื่องราวสนุกๆแบบ TypeThai มากมาย ที่ Facebook / Youtube / Instagram / Twitter

อ้างอิง : www.wordyguru.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0