โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สาระ"พันวิธีเสพสื่อ" ให้เข้าใจการเมือง - เฟื่องลดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 14 มี.ค. 2562 เวลา 03.55 น. • เฟื่องลดา

นาทีนี้ข่าวที่ร้อนแรงที่สุดเรื่องหนึ่งคงไม่พ้นเรื่องการเมือง เชื่อว่าหลายๆคนคงติดตามข่าวสารการเมืองจากหลายๆสื่ออยู่แล้ว

ทั้งจากสื่อกระแสหลักและสื่อโซเชียล

บางคนติดตามข่าวจากเทรนด์ที่เป็นที่พูดถึงเยอะ

บางคนอ่านความเห็นจากเพื่อนในโซเชียลที่แชร์กันมา

แต่ไม่ว่าข่าวจะเป็นที่พูดถึงมากแค่ไหน

ขึ้นชื่อว่า “ข่าวการเมือง” ก็ยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน มีหลายมุมมอง และเถียงกันไม่เคยจบ

หลายคนอาจกำลังลังเลว่าจะเลือกพรรคไหนในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง

วันนี้เลยมีเคล็ดลับดีๆในการเสพข่าวการเมืองมาฝากกันค่ะ

สื่อสรุปมา เราเสพต่อ

หัวใจของการเสพข่าวที่มักจะมีความเห็นถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน คือ

การแยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นออกจากกันให้ได้

เนื้อข่าวส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น กติกาการเลือกตั้ง และนโยบายของพรรคต่างๆ โดยในสมัยนี้สื่อมีรูปแบบการนำเสนอข่าวที่น่าสนใจและอ่านง่ายมากขึ้น เช่น iLaw สำนักข่าวด้านกฎหมายทำสรุปคู่มือการเลือกตั้งเป็น E-book ออกมา อีกทั้งยังมีโพสต์ในรูปแบบอินโฟกราฟฟิค การ์ตูน ถาม-ตอบที่สรุปมาให้เข้าใจง่ายอีกด้วย

ภาพ infographic จาก iLaw 

Elect เป็นอีกหนึ่งสื่อด้านการเมืองโดยเฉพาะที่นำข้อมูลมานำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น เว็บไซต์ที่สามารถใส่เขตบ้านลงไปเพื่อเช็คว่ามีใครลงสมัคร ส.ส.ในเขตที่เราอยู่บ้าง เว็บไซต์เปรียบเทียบนโยบายของแต่ละพรรค แบบทดสอบว่าเราเข้าใจกติกาการเลือกตั้งดีหรือยัง การ์ดเกมวัดความรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ปฏิทินประชาธิปไตยไทยที่บอกว่า วันนี้ในปีก่อนมีอะไรเกิดขึ้นกับประชาธิปไตยไทยบ้าง

ภาพเว็บไซต์สื่อการเมือง Elect
ภาพเว็บไซต์สื่อการเมือง Elect

เหล่านี้เป็นสื่อที่ทำให้การเมืองเป็นเรื่องน่าสนุกและง่ายขึ้นเยอะสำหรับคนเสพ

เมื่อมีคนสรุปมาให้เข้าใจง่าย ก็ตามอ่านจากสื่อเหล่านี้กันเลยค่ะ

เขาคิดมา เราคิดต่อ

เมื่อนโยบายพรรคการเมืองมีหลายมุมทั้ง โครงสร้างระดับประเทศ เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และอีกมากมาย ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนธรรมดาแบบเราๆเมื่อฟังนโยบายพรรคแล้ว บางครั้งก็ไม่ได้เข้าใจไปหมดเสียทุกเรื่อง การติดตามการวิจารณ์นโยบายจากผู้เชี่ยวชาญ นอกวงการการเมืองที่รู้จริงในวงการนั้นๆจะช่วยให้มองเห็นภาพได้มากขึ้น

โดยสมัยนี้เราสามารถติดตามการวิเคราะห์การเมืองจากหลายความเห็นและมุมมองได้ทางโซเชียลไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twitter สิ่งที่อย่าลืมคือการไตร่ตรองฟังความเห็นจากหลายคน เพื่อฟังความเห็นจากหลายด้าน รวมทั้งมุมมองจากตัวเราเองด้วย

เสพไปคิดไปด้วยตัวเรา

นอกเหนือจากการเสพ “ข้อเท็จจริง” และ “ความเห็น” ที่มีคนสรุปมาให้

หากมีเวลา การฟังดีเบตการเมืองที่แต่ละพรรคถกเถียงกัน จะช่วยให้เราเห็นการเปรียบเทียบระหว่างแต่ละพรรคมากขึ้น

เช่นกัน การติดตามเพจของพรรคการเมืองและนักการเมืองโดยตรง

ก็จะทำให้เราเห็นข้อมูลในเชิงที่ลึกขึ้นในมุมที่เราสนใจ

ต่อเติมความคิดเห็นจากสื่อและนักวิจารณ์จากบริบทของตัวเราเอง

หากลองแบ่งวิธีการเสพสื่อเป็น 3 แบบใหญ่ๆ

สื่อสรุปมา เราเสพต่อ / เขาคิดมา เราคิดต่อ / เสพไปคิดไปด้วยตัวเรา

อาจจะช่วยให้เราเห็นตัวเองได้มากขึ้นว่า การเสพข่าวของเราทุกวันนี้เอนเอียงไปทางไหน

ฟังเสียงวิจารณ์จากคนอื่นเป็นหลักจนลืมเสพข้อเท็จจริงหรือเปล่า หรือ เราเสพแต่ข้อมูลที่คนสรุปให้จนลืมคิดตามในบริบทของเราเอง

เมื่อคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่ในมือเราทุกคน

ยิ่งได้เสพสื่อกว้างขวาง ยิ่งมีฐานข้อมูลเยอะให้ตัดสินใจ

นอกจากสื่อที่เล่ามาก็ยังมีสื่ออีกมากมายที่นำเสนอข่าวการเมืองได้น่าสนใจ

สามารถติดตามตัวอย่างสื่อที่เล่ามาได้ที่ Link “ที่มา”ด้านล่างและ Line Today นะคะ

ที่มา:

https://elect.in.th

https://ilaw.or.th/?fbclid=IwAR0ZpEhK45tuj2PNIpCmYbVGPJXvtQq8eH6wE-GDDGVNdIAEozbb2X5HQu8

https://issuu.com/010790/docs/election2562

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: http://www.facebook.com/faunglada

Youtube: http://www.youtube.com/faunglada

Twitter: @faunglada

Website: www.faunglada.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0