โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

สายแฟชั่นควรรู้ ... ดูให้ชัด ก่อนตัดสินใจ “CF” - เกาะแกะแฟชั่น

LINE TODAY

เผยแพร่ 09 พ.ค. 2563 เวลา 21.55 น. • pimphicha

ยุคนี้.. แค่สวยมีสไตล์ ตามให้ทันเทรนด์อาจไม่พอ ต้องรอบรู้และหาข้อมูลให้ไว ยิ่งการช็อปปิ้งออนไลน์ ที่กลายเป็น new normal ของทุกคนทุกวงการไปแล้วยิ่งต้องคิดให้เร็ว จริงอยุ่ที่ว่าการช็อปปิ้งออนไลน์นั้นสะดวกสบาย อยากได้อะไรก็แค่กด'ค้นหา' แต่ข้อเสียก็คือไม่ได้เห็นของจริงก่อนตัดสินใจ 

และเมื่อไม่ได้จับ ไม่ได้ลอง ย่อมต้องคิดให้ดีๆ เป็นสองเท่าก่อนที่จะคอนเฟิร์ม โดยเฉพาะหากของที่อยากได้ไม่ได้ถูกออกแบบ/ขายโดยทางร้านเอง แต่เป็นการรับมาขายอีกต่อหนึ่ง การใช้เวลาเปรียบเทียบหาของจากหลายๆ เจ้าที่เหมือนกันแต่ราคาถูกกว่าจนหาเจอก็เปรียบได้ราวกับเป็นชัยชนะอย่างหนึ่งของนักช็อปก็ว่าได้

แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่พึงระวัง หากตัดสินใจเลือกของจาก “ราคาถูก” เท่านั้นก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้ของไม่ตรงกับภาพที่คิดไว้ การอ่านรีวิวโดยผู้ใช้จึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เป็นอันขาด เพราะผู้ซื้อได้ของไม่ดีจริงย่อมอยากท้วงติงทางร้านเป็นธรรมดา และยิ่งหากเป็นการตามล่าของดีราคาแพงยิ่งต้องเช็คให้แน่ใจ เราจึงมีขั้นตอนในการเช็คเบื้องต้นสำหรับมือใหม่หัดช็อป หากผ่านบททดสอบตามนี้ถือว่าวางใจไปได้เปลาะหนึ่ง

1. สัมผัสความจริงใจจากรูปถ่ายของสินค้า

สมมุติว่าคุณพบของที่กำลังอยากได้ สิ่งแรกที่เช็คได้ง่ายที่สุดคือรูปถ่ายที่ทางร้านใช้ หากเป็นรูปที่ถ่ายจากสินค้าจริง ไม่ใช่ภาพที่เซฟมาจากเว็ปไซต์ออฟฟิเชียล ก็เบาใจได้ว่าร้านนี้มีความจริงใจให้ลูกค้าแล้วประมาณหนึ่ง 

2. เช็คราคาและคำนวณส่วนลดพิเศษที่อาจเป็นไปได้

จะเป็นสายช็อปหัวไวต้องหัดคิดเลขในใจให้คล่อง เริ่มจากลองเช็คราคาของที่อยากได้จากเว็ปไซต์ทางการ ซึ่งส่วนมากจะมีราคาแสดงไว้ แม้จะเป็นสกุลเงินต่างประเทศ แต่การจะคำนวณให้เป็นเงินบาทก็ไม่น่าเกินความสามารถ จากนั้นลองคิดเล่นๆ ถึงความเป็นไปได้ของส่วนลดต่างๆ มีความเป็นไปได้ที่แม่ค้าร้านออนไลน์จะมีความสามารถพิเศษในการหาส่วนลดแล้วลดอีก การอุดหนุนร้านออนไลน์เหล่านี้อาจเป็นการช่วยเพิ่มคะแนนสะสมที่แม่ค้าจะต่ออายุสิทธิส่วนลดพิเศษเหล่านั้น ลำพังน้ำพักน้ำแรงเราคนเดียวคงไม่สามารถช็อปเก็บแต้มได้มากพอเป็นแน่ ถือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ราคาพิเศษมักหลังหักส่วนลดจะไม่ถูกมากจนน่าสะพรึง จึงเป็นไปได้หากของแบรนด์เนมที่ร้านออนไลน์จะขายถูกกว่าของในช็อปในเรทที่เหมาะสม แต่หากโจทย์ที่คุณอยากได้ราคาในเว็ปออฟฟิเชียลนั้นแสนแพงหลายหมื่น คงเป็นไปได้ยากหากจะขายกันในราคาไม่กี่พัน.. เข้าใจตรงกันเนอะ

3. ลองเช็คจากรีวิวต่างๆ

เดี๋ยวนี้โลกออนไลน์กว้างไกลกว่าที่คิด ลองนำชื่อของที่อยากได้ไปเสิร์ชหาในกูเกิล หากโชคดีอาจเจอคนใจดีทำรีวิวพร้อมคอมเมนต์ความรู้สึกคุ้มค่าคุ้มราคาที่เขาได้จ่ายซื้อของชิ้นนี้ไปก่อนแล้ว ลองฟังความคิดเห็นจากบล็อกเกอร์ในหลายๆ ประเทศก็เป็นข้อมูลที่ดีในการประกอบการตัดสินใจ

4. เกมจับผิดภาพต้องมาแล้วล่ะ

เพราะเราไม่สามารถสัมผัสกับวัสดุของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อได้ ดังนั้นเว็ปไซต์ทางการจึงเป็นแหล้งข้อมูลที่แน่นที่สุดที่นอกจากจะเช็คราคาขายจริงแล้ว เรายังสามารถใช้ภาพจากเว็ปออฟฟิเชียลเปรียบเทียบกับของที่ร้าน หรือรูปรีวิวจากเทียบกันจุดต่อจุดเลยว่าใช่ของที่อยากได้ หรือแค่ดูรวมๆ แล้วมีความ 'คล้ายคลึงกัน' 

……….

นอกจากสี่ข้อเบื้องต้นแล้ว ยังมีชุดคำศัพท์ที่ควรรู้ไว้ประกอบการตัดสินใจ

“ภาพถ่ายจากของจริง”

แปลตรงตัวเลยว่าเป็นภาพที่ทางร้านถ่ายจากของที่ขายทางร้านขายเองจริงๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนไปมากกว่านั้น อย่าจินตนาการไปไกล

“ของหลุดคิวซี”

ความจริงที่น่าเจ็บปวดคือบรรดาแบรนด์ต่างๆ จะมีนโยบายควบคุมคุณภาพเพื่อให้ของทุกชิ้นได้มาตรฐาน หากมีการพบว่าผิดสัดส่วน ส่วนมากจะถูกทำลายทิ้งไม่ปล่อยให้ออกวางขายให้เสียชื่อ อีกกรณีหนึ่งคือหากเป็นของที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐานแต่บังเอิญมีตำหนิก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกส่งไปยังเอาท์เล็ทเพื่อจำหน่ายในราคาพิเศษ 

“พรีเมี่ยมกิฟท์”

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าของเหล่านี้มีจริง หรือไม่จริง ซึ่งกรณีนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ถึงแม้จะมีเสียงยืนยันว่ามันมี / ไม่มีจริง แต่ส่วนใหญ่ของที่เป็น “พรีเมี่ยมกิฟท์” จะไม่ถูกออกแบบให้คล้ายกับของขายจริง และเมื่อสิ่งเหล่านี้มีการเคลมตัวเองว่าเป็น “ของแถม” ที่ต้องทำยอดซื้อได้ถึงเป้าเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์ครอบครอง จึงเป็นเหตุผลที่ดีไซน์อาจไม่คุ้นตาสักเท่าไหร่ เพราะของแถมก็จะไม่มีโชว์อยู่ในเว็ปไซต์ทางการเพราะมันไม่ได้มีไว้ขาย และวัสดุที่ใช้จะเป็นเกรดที่สู้ไม่ได้เพราะของแถมก็คือของแถม ดังนั้นขอให้ยึดเอาความสบายใจเป็นหลัก แต่ต้องทำใจก่อนว่าเป็นการใช้เงินซื้อความเก๋ที่ไม่คงทน 

“งานป้าย”

คำนี้อาจสร้างความงงเล็กน้อย ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นงานที่ทำออกมาโดยมีโมเดลสินค้ายี่ห้อหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจ หากแต่ต่างกันทั้งฝีมือ วัสดุ และลวดลาย ชนิดที่ว่าไม่ได้ตั้งใจทำออกมาให้เหมือนเป๊ะ แค่คล้ายๆ เท่านั้น และมักมีป้ายยี่ห้อเป็นของตัวเอง 

“งานมิลเลอร์”

คำนี้วัดใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเพราะทางร้านก็ชัดเจนด้วยความหมายที่แปลตรงตัวชัดเจนที่สุด คำว่า “มิลเลอร์” ก็คือมาจาก “Mirror” ที่แปลว่ากระจก จึงจะมีความเหมือนกับต้นฉบับมากๆ ราวกับส่องกระจกสะท้อนกันมาเลยทีเดียว หาใช่งานมีตำหนิหรืองานที่ทำออกมาหลุดจากคุณภาพแต่อย่างใด แต่เป็นความเหมือนที่ตั้งใจทำ

……….

เพราะการแต่งกายนับเป็น อวัจนภาษา อย่างหนึ่งที่เราใช้สื่อสารออกไปโดยที่เราเองก็อาจไม่ทันรู้ตัว แต่หากสังเกตให้ดี เราจะสามารถรู้ได้ในเบื้องต้นว่าแต่ละคนมีอุปนิสัยแบบไหน เช่นความเนี้ยบ การใช้โทนสี การเลือกใช้ของราคาแพง หรือของมีคุณภาพในราคาประหยัด รวมไปถึงความละเอียดลออในรายละเอียดต่างๆ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เราจะเลือกมาใช้จึงควรเลือกด้วยความตั้งอกตั้งใจ เพื่อเสริมความมั่นใจและบุคคลิกที่ดี ของดีไม่จำเป็นต้องเป็นของแพง หากแต่เลือกตามความชื่นชอบ และไม่ทำให้เดือดร้อนเงินในกระเป๋าเป็นดีที่สุด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0