โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สั่งขบ.ศึกษาเพิ่มตัวกรองไอเสียรถยนต์เก่า ลดปัญหาฝุ่นพิษ

Manager Online

อัพเดต 22 ก.พ. 2562 เวลา 09.32 น. • เผยแพร่ 22 ก.พ. 2562 เวลา 09.32 น. • MGR Online

"อาคม"สั่ง ขบ.ศึกษา แนวทางติดตัวกรองเขม่าไอเสียในเครื่องยนต์ดีเซล ในรถเก่า เพื่อแก้ปัญหา ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 พร้อมเร่งเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้า ดันเปลี่ยนโหมดลดใช้รถยนต์ในอนาคต

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้แทน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า ว่า ทางไจก้าได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย

ซึ่งทางญี่ปุ่น ได้ใช้มาตรการหลักๆ คือ การตรวจสภาพรถอย่างเข้มงวด และการติดตัวกรองเขม่าไอเสียในเครื่องยนต์ดีเซล ( Diesel Particulate Filter :  DPF) โดยเฉพาะกับรถยนต์เก่า ที่เครื่องยนต์มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ศึกษาเพิ่มเติม ว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้เป็นมาตรการสำหรับประเทศไทยได้หรือไม่ เนื่องจากมีปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลจำนวนมาก

   สำหรับ การตรวจสภาพรถนั้น ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้กำชับกรมขนส่งทางบก ให้ดำเนินการหลายมาตรการ ตั้งแต่การตรวจสอบคุณภาพสถานตรวจรถเอกชน (ตรอ.) จำนวน 2,700 แห่งทั่วประเทศ หากไม่ได้คุณภาพจะต้องหยุดให้บริการ ทั้งนี้เพื่อให้การตรวจสอบสภาพรถมีคุณภาพตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งรถขนาดใหญ่จะต้องตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง รถส่วนบุคคลปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการตั้งจุดเพื่อสุ่มตรวจอีก

นอกจากนี้ ทาง ไจก้า ยังได้มีความร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.)  ในการดำเนิน งาน  2 โครงการ คือ1. โครงการ modern ship เปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากถนนสู่ระบบราง หรือขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคม มีแผนโครงการระบบขนส่งมวลชน หรือรถไฟฟ้า แม่บทระบบขนส่งมวลชน. ทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP 1)  ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง และกำลังทำแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2)ซึ่งจะเติมเต็มโครงข่ายของแผนระยะที่ 1 ทั้งโครงข่ายและระบบเชื่อมต่อ หรือ ฟีดเดอร์

2. โครงการ Area Traffic System(ATS) ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร เพื่อแก้ปัญหาจราจร

อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการต่างๆ นั้น กระทรวงคมนาคม และ กทม.จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจาก พื้นที่ในการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง และขนส่งสาธารณะนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของกทม. ขณะที่กฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องนอกจาก ของกทม.แล้ว ยังมี พรบ.รถยนต์, พรบ.ขนส่งทางบก อีกด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0