โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สะเทือนใจ! เหยี่ยวแดง สัตว์คุ้มครอง ถูกตัดปีก-หาง อิดโรยบินไม่ได้ คาดหลุดกรงเลี้ยง

Khaosod

อัพเดต 23 ม.ค. 2562 เวลา 16.47 น. • เผยแพร่ 23 ม.ค. 2562 เวลา 16.47 น.
2365ed-1

สะเทือนใจ! เหยี่ยวแดง สัตว์คุ้มครอง ถูกตัดปีก-หาง อิดโรยบินไม่ได้ คาดหลุดกรงเลี้ยง

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับแจ้งจากนายนิพิฐพนธ์ ดาคำ อายุ 39 ปี ชาวประจวบคีรีขันธ์ ว่าพบเหยี่ยวแดง ตัวใหญ่ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พลัดหลงบินเข้ามาบริเวณอาคารที่พักของอาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์ ถนนสุขจิต ในเขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์

จากการสังเกตพบว่า เหยี่ยวแดงตัวดังกล่าวอยู่ในสภาพอิดโรย ไม่มีแรงกระพือปีก เกาะกำแพงรั้วนิ่งๆ โดยไม่บินไปไหน ซึ่งทั้งใกล้เคียงยังเป็นที่พักของราชการหลายหน่วยงาน และมีการเลี้ยงสุนัขเฝ้าบ้านไว้หลายตัว เกรงว่าเหยี่ยวแดงตัวดังกล่าวจะได้รับอันตรายจากการถูกสุนัขกัดได้

นายนิพิฐพนธ์ กล่าวว่า เหยี่ยวแดงมีลักษณะอ่อนแรง ที่ปีกและหางผิดปกติ คล้ายกับถูกคนเลี้ยงตัดออกเพื่อไม่ให้บิน ช่วงที่เห็นอาจเป็นไปได้ว่า เหยี่ยวหลุดออกจากกรงเลี้ยง หรือคนเลี้ยงปล่อยให้สัตว์ป่าบินออกจากกรงเอง ตนจึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ทสจ.) จัดส่งเจ้าหน้าที่มารับตัว โดยได้ใช้ผ้าผืนใหญ่คลุมตัวเหยี่ยวแดงเอาไว้ แล้วใส่กรงนกเขาที่ว่างอยู่ ให้เจ้าหน้าที่นำไปให้นายสัตว์แพทย์จามร ศํกดินันท์ คลินิกปฏิญญาสัตว์แพทย์(สาขาประจวบคีรีขันธ์) ตรวจอาการเหยี่ยวแดง

สัตวแพทย์ได้ตรวจอาการเบื้องต้น พบว่าเหยี่ยวอ่อนเพลีย ขนหายไปเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะที่ขนปีกและขนหางถูกตัดด้วยของมีคม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เหยี่ยวบินไม่ถนัดเสียการทรงตัว ส่วนที่ลำตัวบริเวณหน้าอกอยู่ในสภาพสมบูรณ์แข็งแรง จึงฉีดยาแก้อักเสบจำนวน 1 เข็ม พร้อมทั้งนำใส่กรงขนาดใหญ่ ภายในกรงมีภาชนะใส่น้ำ และคลุมกรงอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันอาการตกใจ พร้อมทั้งประสานสัตว์แพทย์จากสถานีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี มารับตัวนำไปรักษา

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน ไลน์@ข่าวสด ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เหยี่ยวแดง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีสีที่ตัดกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งตัวจะมีสีน้ำตาลแดงยกเว้นที่หัวและอกมีสีขาว ปลายปีกมีสีดำ ขามีสีเหลือง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีความยาวจากปลายปีกจดปลายหาง 51 เซนติเมตร ตัวผู้ยาว 43 เซนติเมตร นกวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแกมดำคล้ายกับเหยี่ยวดำ แต่มีสีจางกว่า ปีกสั้น และหางมน

เหยี่ยวแดง สามารถพบได้ในประเทศศรีลังกา, ประเทศอินเดีย, ประเทศปากีสถาน, ประเทศบังกลาเทศ, และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางใต้ไปได้ไกลถึงรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกประจำถิ่น แต่อาจมีการย้ายถิ่นตามฤดูกาล ส่วนใหญ่จะพบในที่ราบแต่บางครั้งพบที่ระดับความสูง 5000 ฟุตในเทือกเขาหิมาลัย เหยี่ยวแดงถูกประเมินเป็นความเสี่ยงต่ำในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ในบางพื้นที่ นกชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนลง อย่างเช่นในชวา

สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้หลายพื้นที่ โดยจะพบได้ตามแถบชายฝั่งน้ำ, ที่ราบทุ่งนา, ป่าโปร่ง,ปากอ่าว, ชายฝั่งทะเล รวมถึงเกาะเล็กๆ ส่วนใหญ่ชอบอยู่ใกล้หมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านเลนตัก บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0