โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สอท.กลุ่มจว.ใต้ หนุน 'จะนะ' เมืองต้นแบบอุตสาหกรรม

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 10 ก.ค. 2563 เวลา 12.07 น. • เผยแพร่ 10 ก.ค. 2563 เวลา 12.20 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้(10ก.ค.) ดร.ตติยะ ฉิมพาลี ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ส่งหนังสือถึงเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เพื่อสนับสนุนนโยบายเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อำเภอจะนะ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีแนวโน้มตกต่ำ แก้ปัญหาการว่างงาน การอพยพย้ายถิ่นฐานแรงงานข้ามชาติ ยกระดับสงขลา และจังหวัดชายแดนเท่าเทียมกับประเทศมาเลเซีย และกลายเป็นศูนย์ กลางการพัฒนาของประเทศในระยะต่อไป

ดร.ตติยะ ฉิมพาลี ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี มีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งระบบเพื่อเชื่อมโยงมิติ การแก้ไขปัญหาความมั่นคง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมาอย่างยาวนานจนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาในทุกมิติตลอดระยะเวลาหลายปีที่ที่ผ่าน โดยให้มีโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทั้งในพื้นที่อำเภอ เบตง จังหวัดยะลา อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และอำเภอ หนองจิก จังหวัดปัตตานี จนมาสู่เมืองที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่จะพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
โดยมีกรอบการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำ ด้วยการพัฒนาท่าเรือเชิงพาณิชย์ การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าที่สามารถดูแลระบบความมั่นคงทางพลังงานให้อนุภูมิภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรม ผ่านสวนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการทำสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตรชาตินั้น ในนามของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความยินดีและให้การสนับสนุนการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้จากปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีแนวโน้มตกต่ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน การอพยพย้ายถิ่นฐานแรงงานข้ามชาติ ปัญหาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหางานและอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งไม่เท่าเทียมกับภูมิภาคอื่นของประเทศไทย ทั้งที่จังหวัดสงขลาเคยเป็นเมืองเมืองศูนย์กลางการพัฒนาในอนุภูมิภาคแห่งนี้

โดยเชื่อมั่นว่าการพัฒนาดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาที่เชื่อมโยงคุณภาพชีวิตสังคม สาธารณสุข พหุสังคม และความร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนในการปกป้องดูแลรักษาพื้นที่ตามกรอบแนวทางรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนในฐานะเจ้าของพื้นที่ร่วมดูแล และปกป้องความมั่นคงในพื้นที่ด้วยตัวเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างให้จังหวัดสงขลา และจังหวัดชายแดนภาคใต้เดินหน้าต่อไปได้ อย่างเท่าเทียมกับประเทศมาเลเซีย และกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของประเทศในระยะต่อไป

อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่เพียงแต่ภาคเอกชน รัฐประชาสังคม ภาควิชาการและประชาชนเท่านั้ย จำเป็นจะต้องร่วมมือวางแผนการทำงานในระยะต่อไปอย่างใกล้ชิดและรอบคอบสมบูรณ์ตามความต้องการของทุกภาคส่วนซึ่งรับทราบว่าจะดำเนินการในระยะต่อไปอยู่แล้ว ก็ขอให้ดำเนินการไปตามที่กำหนด เพื่อให้ประโยชน์เกิดต่ออประชาชนและประเทศชาติโดยสูงสุดต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0