โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

"สวิส" แชมป์ลงทุนวิจัย Top 10 ไร้เงา "สหรัฐ"

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 15 พ.ย. 2562 เวลา 02.28 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2562 เวลา 02.27 น.
for02141162p1

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ผ่านการสร้างนวัตกรรมและไอเดียใหม่ ๆ ของเทคโนโลยีขั้นสูง “มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” (ITIF) ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับประเทศที่รัฐบาลให้งบฯวิจัยของมหาวิทยาลัยมากที่สุดในโลก

โดยเวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (WEF) อ้างข้อมูลจากรายงานของ ITIF ชี้ว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทั้ง 39 ประเทศที่ทำการสำรวจพบว่า “ท็อป 5” ประเทศที่รัฐบาลจัดสรรงบฯการวิจัยของมหาวิทยาลัยมากที่สุดในโลก ประจำปี 2018 ที่ทำการสำรวจล่าสุด ยังคงเป็นหน้าเดิม ได้แก่ 1.สวิตเซอร์แลนด์ 0.76% ของจีดีพี สัดส่วนมากกว่า 3.7 เท่าของที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนงบฯวิจัย

ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ “เดนมาร์ก” 0.72% ของจีดีพีที่ลงทุนให้กับการวิจัยของมหาวิทยาลัย,อันดับ 3 “นอร์เวย์” อยู่ที่ 0.64% ,อันดับ 4 “สวีเดน” 0.63% และอันดับ 5 “ออสเตรีย” 0.61% ของจีดีพี

โดยรายงานของ WEF ระบุด้วยว่า “สิงคโปร์” เป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ติด “ท็อป 10” ที่มีการลงทุนสำหรับ R&D ในมหาวิทยาลัยเป็นอันดับ 10 โดยมีสัดส่วนการลงทุน 0.47% ต่อจีดีพี

ที่น่าสนใจคือ“สหรัฐ” ซึ่งถือว่าเป็นบ้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีบทบาทระดับโลก โดยมีต้นกำเนิดมาจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในอเมริกา แต่ภาครัฐกลับให้เงินสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยน้อยลงเรื่อย ๆ

โดยนับตั้งแต่ปี 2013 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือว่าสหรัฐมีบทบาทมากในการส่งเสริมและสร้างเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งสหรัฐได้รับการจัดอันดับที่ 24 แต่ในปี 2018 บทบาทของสหรัฐบนเวทีโลกกลับลดลง อันดับร่วงมาอยู่ที่ 28 ของโลก คิดเป็น 0.20% ของจีดีพี ตามหลังเยอรมนี ฝรั่งเศส แคนาดา สหราชอาณาจักร หรือแม้แต่เกาหลีใต้ และไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม การลงทุนของสหรัฐสำหรับการวิจัยในมหาวิทยาลัย ยังมีสัดส่วนสูงกว่า นิวซีแลนด์ เม็กซิโก โรมาเนีย ญี่ปุ่น รวมไปถึง จีน และรัสเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลกมานาน

นายเนีลล์ แม็คคาร์ธีย์ นักวิเคราะห์ของ WEF ประเมินว่า หากสหรัฐต้องการกลับมาเป็นผู้นำแถวหน้าของวงการนวัตกรรมและเทคโนโลยี รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณการวิจัยอย่างมาก ซึ่งอาจต้องตั้งวงเงินสำหรับ R&D สูงถึง 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี ถึงจะแซงหน้าประเทศอื่นแล้วดึงตัวเองขึ้นมาเป็น “ท็อป 7” ของโลกได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0