โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สรุปผลงานหุ้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม งวดไตรมาส 1/2563

StockRadars

อัพเดต 26 พ.ค. 2563 เวลา 17.37 น. • เผยแพร่ 26 พ.ค. 2563 เวลา 17.37 น.

1- บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) FPT รายได้ 5,900 ล้านบาท ลดลง 8% และมีกำไรสุทธิ 851 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% โดยกำไรสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำนวน 838 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,009% จากการรวมผลดำเนินงานของ GOLD ในงวดปีนี้ ที่ในระหว่างปี 2562 บริษัทได้มีการเข้าซื้อกิจการของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GOLD ทำให้งบการเงินของกลุ่มบริษัทถูกทำขึ้นตามวิธีเสมือนว่าเป็นวิธีการรวมส่วนได้เสีย (similar to pooling of interests) และกำไรที่เพิ่มขึ้นนั้น โดยหลักมาจากการขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม 384 ล้านบาท เนื่องจากการขายเงินลงทุนในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (FTREIT)

2- บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) AMATAV กำไรสุทธิ 113 ล้านบาท +765% YoY ซึ่งรายได้รวม 248 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 90% โดยหลักมาจากอัตราแลกเปลี่ยนไทยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเวียดนามด่ง ทำให้บริษัทมีกำไรในส่วนนี้เพิ่มขึ้น 100% อีกทั้งรายได้จากดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้น 176% โดยกำไรขั้นต้นจากการขายอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าทรัพย์สิน และการบริการสาธารณูปโภคอยู่ที่ 17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY

3- บริษัท สวนอุตสาหกรรม วินโคสท์ จำกัด (มหาชน) WIN กำไรสุทธิ 1 ล้านบาท +150% YoY รายได้รวมของบริษัทลดลง 50% ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ลูกค้ายกเลิกการเช่าพื้นที่ กระทบรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการอาคารคลังสินค้า, ลานคอนกรีต, สำนักงาน, หลังคา และห้องพัก แต่ทางบริษัทมีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างเพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท หรือ +409% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้การรับเหมาก่อสร้างของบริษัท วินโคสท์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย

4- บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) NNCL กำไรสุทธิ 91 ล้านบาท +62% YoY จากผลดำเนินงานที่เป็นรายได้ประจำ (recurring income) คือรายได้จากการให้บริการและจากค่าเช่า ทำกำไรเพิ่มขึ้น 27% ประกอบกับมีรายการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมแห่งหนึ่งเพิ่มขึ้นด้วย (+7%) ในส่วนของรายได้อื่นมีรายได้เงินอุดหนุนรัฐบาลจำนวน 6 ล้านบาท มียอดลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเงินอุดหนุนรัฐบาลทยอยรับรู้รายได้ตามอายุการให้ประโยชน์ของระบบกำแพงป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในปีนี้มีบางรายการทยอยสิ้นสุดอายุการให้ประโยชน์ เช่น งานรางระบายน้ำ งานขุดลอกคลอง ส่งผลให้การรับรู้รายได้ลดลงไปด้วย และไตรมาสนี้บริษัทไม่ได้มีการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินแต่อย่างใด

5- บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) JWD กำไรสุทธิ 94 ล้านบาท +5% YoY โดยบริษัทระบุว่าสถานการณ์โควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อบริษัท ทางบริษัทยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ซึ่งในส่วนงานกลุ่มสินค้าควบคุมอุณหภูมิแช่เย็นแช่แข็งมีผลประกอบการที่ดีขึ้น เนื่องจากอุปสงค์จากสถานการณ์ดังกล่าว โดยในไตรมาสนี้ บริษัทมีรายได้รวม 966 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้จากค่าเช่าและจากการบริการเพิ่มขึ้น 7% ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากรายได้จากธุรกิจให้บริการจัดเก็บและบริหารสินค้า

6- บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) AMATA กำไรสุทธิ 223 ล้านบาท -20% YoY ซึ่งบริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 1,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% โดยรายได้จากธุรกิจหลักเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ทั้งรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (+4%) รายได้จากค่าสาธารณูปโภค (+4%) และรายได้จากการให้เช่า (+10%) ส่วนค่าใช้จ่ายรวมลดลง 2% แต่ในไตรมาสนี้มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าลดลง 164 ล้านบาท หรือ -92% โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นหลัก และธุรกิจการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติก็ลดลงด้วยเช่นกัน

7- บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) WHA กำไรสุทธิ 99 ล้านบาท -76% YoY และบริษัทมีรายได้รวม 1,278 ล้านบาท โดยงบการเงินประกอบด้วยผลดำเนินงานปกติและผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized loss) โดยหากพิจารณาจากผลดำเนินงานปกติ บริษัทจะมีรายได้รวม 1,400 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 197 ล้านบาท ลดลง 31% แต่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการรวม Deferred Revenue Item หรือรายได้ที่รอตัดบัญชีจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์ WHABT ที่เกิดขึ้นในปี 2558 ซึ่งหากไม่รวมรายการดังกล่าว ที่ไม่เป็นรายการที่เกิดขึ้นจริงในปี 2562 บริษัทจะมีกำไรปกติเติบโต 26% YoY

8- บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ROJNA ขาดทุนสุทธิ 808 ล้านบาท -296% YoY ในไตรมาสนี้บริษัทมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 8% จากลูกค้าที่ถึงกำหนดชำระและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโครงการพระนครศรีอยุธยา รายได้จากการขายไฟฟ้าลดลง 2% และในส่วนของรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการเป็นรายได้จากการขายน้ำเพื่ออุตสาหกรรม, บริการบำบัดน้ำเสีย และค่าบริการส่วนกลาง เพิ่มขึ้น 6% โดยในไตรมาสนี้มีลูกค้าในโครงการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำเพื่ออุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนทางด้านต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นลดลงอย่างมาก เนื่องจากเป็นต้นทุนขายของโครงการพระนครศรีอยุธยาทั้งหมด ที่ต้นทุนค่อนข้างต่ำทั้งต้นทุนราคาที่ดินและการพัฒนา ซึ่งผลดำเนินงานรอบนี้ มีรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นการจัดประเภทเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด แสดงตามมูลค่ายุติธรรมอยู่ที่ 1,334 ล้านบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ -272 ล้านบาท ทำให้กำไร(ขาดทุน)สุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่สรุป -808 ล้านบาท

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0