โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สรุปความเสียหายในไทย จากเหตุแผ่นดินไหว สปป.ลาว

อีจัน

อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 12.21 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 11.38 น. • อีจัน
สรุปความเสียหายในไทย จากเหตุแผ่นดินไหว สปป.ลาว
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 กรมป้องกันและบรรเ&#3…

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานความเสียหายในไทย หลังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวใน สปป.ลาว ในวันที่ 21 พ.ย. 62
โดยเกิดแผ่นดินไหวบนบก จำนวน 32 ครั้ง ขนาดสูงสุด 6.4 ความลึก 4 กม. จุดศูนย์กลาง บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีรายงานความรู้สึกสั่นไหวต่อประเทศไทย 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ลำปาง, นาน , แพร่ , อุตรดิตถ์ , เลย ,อุดรธานี , ขอนแก่น , นครราชสีมา , พิษณุโลก , กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
นอกจากนี้ มีรายงานความเสียหาย 3 จังหวัด ได้แก่ แพร่ น่าน เลย บ้านเรือนได้รับผลกระทบรวม 18 หลัง สถานที่ราชการ 2 แห่ง วัด 6 แห่ง โรงพยาบาล 3 แห่ง สถานบริการสาธารณสุข3 แห่ง ดังนี้

1) จ.แพร่ บ้านเรือนเสียหาย 1 หลัง ในพื้นที่ อ.สูงเม่น

2) จ.น่าน บ้านเรือนเสียหายรวม 18 หลังได้แก่ อ.บ่อเกลือ 9 หลัง อ.เวียงสา 4 หลัง อ.เฉลิมพระเกียรติ
5 หลัง สถานที่ราชการ 2 แห่งได้แก่ รร.ตชด. อ.บ่อเกลือ และ รร.บ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง วัด 6 แห่ง (อ.ท่าวังผา 1 แห่ง อ.บ้านหลวง 1 แห่ง อ.ภูเพียง 1 แห่ง อ.เมืองฯ 2 แห่ง อ..เชียงกลาง 1 แห่ง) รพ. 2 แห่ง (อ.นาน้อย อ.ปัว)  สถานบริการสาธารณสุข 3 แห่ง (อ.เฉลิมพระเกียรติ 2 แห่ง อ.บ่อเกลือ 1 แห่ง)

3) จ.เลยโรงพยาบาลได้รับความเสียหายเล็กน้อย 1 แห่ง (โรงพยาบาลเมืองเลย)

ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางได้ออกโทรสารด่วนที่สุดแจ้งไปยังจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดตามแนวทาง ดังนี้

1) จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

2) สำรวจความเสียหายในพื้นที่และให้การช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยทันที

3) ชี้แจงทำความเข้าใจให้ประชาชนถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดความตื่นตระหนก รวมถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ และแนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย

4) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ให้ กอปภ.ก. ทราบเป็นระยะ
ทางโทรสาร(ศูนย์นิรภัย) หมายเลข 0 2241 7450 -6 อย่างต่อเนื่องเพื่อรายงาน บกปภ.ช. ต่อไป
และได้ออกโทรสาร ด่วนที่สุด เพื่อแจ้งไปยังจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดตามสถานการณ์และให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว จึงให้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ดำเนินการเพิ่มเติมตามแนวทาง ดังนี้

1) จากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา ในกรณีการเกิดแผ่นดินไหวข้างต้นคาดว่าเกิดจากรอยเลื่อนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เชื่อมต่อจากรอยเลื่อนปัว ในประเทศไทย จึงส่งผลต่อการรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงกรุงเทพมหานคร
จึงขอให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และติดตามข้อมูลจากหน่วยงานรัฐเป็นระยะ รวมถึงสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติตนทั้งในขณะเกิดเหตุ และหลังเหตุแผ่นดินไหวสงบ

2) ให้เร่งสำรวจบ้านเรือน อาคาร สถานที่ ที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของแผ่นดินไหวดังกล่าว หากพบบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเสียหายเชิงโครงสร้างมาก และอาจเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยให้ฝ่ายปกครอง อปท. จัดสถานที่สำหรับประชาชนข้าพักพิง พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุง ซ่อมแชมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย และชี้แจงแนวทางการดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่กำหนดโดยทันที

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0