โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"สรรพากร"เมินคนด่าจี้ทุกรายต้องเซ็นเปิดข้อมูล

เดลินิวส์

อัพเดต 20 เม.ย. 2562 เวลา 09.49 น. • เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 09.42 น. • Dailynews
“สรรพากร”เมินคนด่า เดินหน้าเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก จี้ทุกรายยินยอมเปิดเผยข้อมูล แบงก์เร่งทำแบบฟอร์มให้ลูกค้ายินยอม

จากกรณีประเด็นร้อนที่กรมสรรพากรออกประกาศแจ้งสถาบันการเงินเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งทำให้เจ้าของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทุกคนต้องไปแจ้งความยินยอมให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลบัญชีดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร หากไม่แจ้งยินยอม ต้องถูกหักภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ 15% ทุกเดือนมิ.ย. และธ.ค.ทันที แม้มีรายได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 20,000 ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้หลายภาคส่วนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่า เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชน เพราะมีหลายคนไม่สะดวก หรืออาจไม่ทราบเงื่อนไขจนต้องถูกหักภาษีไปแบบไม่เป็นธรรม

นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ได้ชี้แจงถึงสาเหตุที่ให้เจ้าของบัญชีออมทรัพย์ต้องเซ็นยินยอมกับธนาคาร เพื่อจัดส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ไปให้กรมสรรพากรคำนวณการเสียภาษี เนื่องจากตามกฎหมายข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝาก ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล  มีกฎหมายให้ความคุ้มครองอยู่  ดังนั้นการขอนำข้อมูลดังกล่าวจากธนาคารไปส่งให้กรมสรรพากรพิจารณา ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของบัญชีเท่านั้น หากไม่ดำเนินตามจะมีความผิดตามกฎหมาย  จึงต้องให้เจ้าของบัญชีมาเซ็นยินยอมให้กรมสรรพากร

 

อย่างไรก็ตามกรมสรรพากร ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายทำให้ประชาชนเดือดร้อน สาเหตุที่ต้องประกาศนี้ออกมา เนื่องจากที่ผ่านมามีประชาชนบางส่วน ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์เกิน 20,000 บาทต่อปี แต่ไม่เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่ ทั้งเกิดจากความไม่ตั้งใจ เพราะไม่รู้ว่าต้องนำดอกเบี้ยทุกบัญชีมาคิดรวมกันเพื่อคำนวณการเสียภาษี  แต่บางส่วนก็จงใจหลบเลี่ยง ดังนั้นกรมสรรพากรจึงต้องประกาศออกมา เพื่อแก้ปัญหา โดยกรมจะเป็นตัวกลางในการรับข้อมูลจากธนาคาร เพื่อนำมาช่วยประเมินว่า บุคคลใด ต้องเข้าข่ายการเสียภาษีดอกเบี้ยบ้าง จากนั้นจะส่งข้อมูลกลับไปให้ธนาคารเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ปีละ 2 ครั้งต่อไป

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0