โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สรรพากรยันเงินฝาก 2หมื่นบาทไม่เสียภาษี

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 04.56 น.

หลังจากกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 344) เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี หัก ณ ที่จ่าย จากรายได้ดอกเบี้ยในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในส่วนที่ไม่เกิน 20,000 บาท โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ผู้รับฝากเงินต้องนำส่งข้อมูลการรับดอกเบี้ยของผู้ฝากเงินให้กับกรมสรรพากรตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมนั้น

นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี(กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร)ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลักการเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของกรมสรรพากรยังคงหลักการเดิมคือจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนของดอกเบี้ยที่ได้รับไม่เกิน 20,000 บาทต่อคนต่อปี แต่ที่ผ่านมามีปัญหาในทางปฏิบัติเนื่องจากกำหนดให้ผู้ฝากเงินที่ได้รับดอกเบี้ยมีหน้าที่แจ้งกับธนาคารพาณิชย์ในส่วนที่เกินเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เพื่อนำส่งกรมสรรพากร

ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้จัดระเบียบการนำส่งข้อมูลใหม่ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีและธนาคารพาณิชย์ เพราะที่ผ่านมา ผู้ฝากเงินอาจจะแยกเงินฝากหลายบัญชี จึงไม่ได้รวบรวมจำนวนดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งปีว่า เข้าข่ายเกิน จำนวนที่ต้องเสียภาษีแล้วหรือไม่ รวมถึงธนาคารพาณิชย์เองอาจจะไม่ทราบว่า ผู้ฝากเงินมีการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารอื่นๆหรือไม่ จึงไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งหากสรรพากรตรวจพบภายหลัง ธนาคารพาณิชย์จะต้องเสียเงินเพิ่มอยู่แล้ว เพราะมีหน้าที่หักภาษี แต่ไม่ได้ดำเนินการ

"กรมสรรพากรจึงต้องการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี ด้วยการเซ็นต์ยินยอมให้ธนาคารพาณิชย์นำส่งข้อมูลรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับในบัญชีออมทรัพย์ที่แต่ละคนมี แล้วกรมสรรพากรจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วจ้ากลับธนาคารพาณิช์ว่า ใครที่จะเข้าเกณฑ์ต้องถูกหัก ภาษีบ้าง เพราะเกณฑ์ที่ได้รับยกเว้นคือ ทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 20,000 ต่อปี แต่ใครที่ไม่ได้มาเซ็นต์ให้ธนาคารส่งข้อมูล ธนาคารมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ทุกครั้งที่มีการดอกเบี้ย ซึ่งแต่ลีจะมีการจ่ายทุก  6  เดือน แต่ถ้ารวมแล้วไม่ถึง 20,000 บาทก็สามารถมายื่นขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรในภายหลังได้”

ดังนั้นจากเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ที่จะได้รับยกเว้นภาษี หัก ณ ที่จ่าย 15% จากรายได้ดอกเบี้ยในส่วนที่ไม่เกิน 20,000 บาท คือ ผู้ฝากเงินที่มาเซ็นต์ยินยอมให้ธนาคารพาณิชย์นำส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากให้กับกรมสรรากร  ส่วนคนที่ไม่ได้มาเซ็นต์ยินยอมให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร จะถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายทันที 15% เมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0