โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จหอประชุมจุฬา พบปะผู้นำศาสนาอื่นๆ

MThai.com

เผยแพร่ 22 พ.ย. 2562 เวลา 15.02 น.
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จหอประชุมจุฬา พบปะผู้นำศาสนาอื่นๆ
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พบปะผู้นำคริสตชนต่างนิกาย ผู้นำ ผู้แทน ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส จะเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งมาถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพบปะผู้นำคริสตชนต่างนิกาย ผู้นำ ผู้แทน ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย อาทิ อิสลาม พุทธ ซิกส์ ฮินดู    พร้อมพบกับบรรดาผู้นำสถาบันอุดมศึกษา คณาจารย์ และนิสิตนักศึกษา บริเวณหอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 

โดยมีคณะนักร้องประสานเสียงจากหลากหลายกลุ่มศาสนา ประกอบด้วย คณะนักร้องประสานเสียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนักร้องประสานเสียงมูโค่พอ จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และคณะนักร้องประสานเสียงอัตตัร จากโรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์ขับร้องเพลง “Peace Prayer”

ทั้งนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มาถึง จะทรงปาฐกถาในหัวข้อ “Building bridges for peace and understanding-สร้างสะพานแห่งความเข้าใจ และสันติสุข” เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีสร้างแรงบันดาลใจเพื่อส่งเสริมความเป็นครอบครัวในหมู่มวลมนุษยชาติและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ใจความตอนหนึ่งว่า ตอนหนึ่งว่า นับเป็นเวลา 122 ปีที่แล้ว เมื่อ พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ซึ่งพระกรุณาโปรดเกล้าให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น พระองค์ได้เสด็จเยือนกรุงโรมและได้พบกับสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13

โดยการพบกันครั้งนั้นได้มีความทรงจำร่วมกัน เพราะพระองค์ดำรงคุณธรรมด้วยการเลิกทาส และประเด็นเหล่านี้ถือเป็นจิตวิญญาณแห่งน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความเข้าใจร่วมกันที่จะช่วยยุติการเลิกทาสในรูปแบบต่างๆ

แต่ปัจจุบันพบปัญหาการขยายของขบวนการค้ามนุษย์ ดังนั้นความจำเป็นในการเคารพซึ่งกันและกันความนับถือและความร่วมมือระหว่างศาสนานั้นจะต้องมีมากขึ้นเพื่อมนุษยชาติ เพราะโลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน เช่น

โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจและการเงินและผลที่ตามมาอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี รวมถึงความขัดแย้งในประเทศที่ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้อพยพผู้ลี้ภัย

การกันดารอาหาร และสงคราม ซึ่งความท้าทายเหล่านี้เตือนเราว่าไม่มีภาคส่วนไหนจะช่วยเราได้นอกจากครอบครัวของเราเอง โดยเชื่อว่าความรักจากครอบครัวจะเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดีต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์

ดูรูปเพิ่ม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0