โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"สมเจตน์" ย้อนอนค.เลิกเกณฑ์ เจอ 4 ปัญหาตามมา ชี้มุ่งแก้รธน.ปมส.ว. สำเร็จยาก

Manager Online

เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 08.41 น. • MGR Online

"ส.ว.สมเจตน์" ติง อนค.ชงยกเลิกเกณฑ์ทหาร พร้อมยก 4 ปัญหาที่จะตามมา เตือน ตั้งเเง่แก้รธน.ถึงที่มา-อำนาจส.ว.สำเร็จยาก เมินร่วมกมธ.

วันนี้ื (17พ.ย.) พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) กล่าวถึงกรณีพรรคอนาคตใหม่ เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.รับราชการทหาร โดยมีหลักการเพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ว่า การยกเลิกเกณฑ์ทหาร มีปัจจัยต้องพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆที่จะตามมา อาทิเช่น 1.ถ้าเปิดรับสมัครแล้ว ได้ไม่ครบตามจำนวนทหารที่ต้องการ มีวิธีการจะทำอย่างไร 2.เมื่อผู้สมัครรับราชการครบกำหนดปลดประจำการแล้ว เปิดโอกาสให้สมัครต่อ สมมุติว่ามีผู้สมัครรับราชการเป็นทหารต่อจำนวน 5,000คนต่อปี เมื่อรวม10 ปี จะเท่ากับมีทหารสมัครในส่วนนี้ 50,000 คน จำนวนกำลังพลที่เพิ่มมากขึ้นมาดังกล่าว ประเทศชาติรับภาระงบประมาณที่เพิ่มเติมนี้ไหวไหม 3.เมื่อรับราชการจนอายุครบ 46 ปีแล้วต้องพ้นจากราชการ จะดูแลสวัสดิการกำลังพลส่วนนี้อย่างไร เพราะอายุขนาดนี้แล้วเขาจะไปทำอาชีพอะไรต่อ จะให้เขาไปเป็นมาเฟียหรือ และ4. ทหารเกณฑ์ เป็นกำลังหลักของกำลังสำรอง หากเกิดภาวะสงครามขึ้น จะระดมพลมาปฏิบัติการรบทันทีได้อย่างไร แต่หากจะคิดมาเกณฑ์ทหารเมื่อเกิดภาวะสงครามเท่านั้น ตนว่า ก็คงไม่ทันต่อภาวะสงครามแน่นอน

พล.อ.สมเจตน์ กล่าวถึงกรณีแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า มองว่ารัฐธรรมนูญ 2560 นั้นเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ส่วนกรณีพิจารณาหาบุคคลมาเป็นประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎรนั้น ขอไม่ออกความเห็น และที่ปรากฎว่ามีชื่อตน จะไปร่วมเป็นกมธ.ในสัดส่วนของส.ว.นั้น ตนจะไม่เข้าร่วมเป็น กมธ.ด้วย เพราะต้องปล่อยให้ส.ส.เขาทำไป แต่เชื่อว่าสำเร็จยาก เว้นมีเหตุผลที่ดีว่าจะแก้มาตราไหนโดยต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร ถ้าแก้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายการเมืองเท่านั้น คงจะไม่สำเร็จ

เมื่อถามว่า เเม้ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนตั้งกมธ.ศึกษาเเนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หลายพรรคมองว่า จะแก้ไขมาตราที่เกี่ยวกับที่มา หน้าที่และอำนาจของส.ว.เป็นอันดับต้นๆ พล.อ.สมเจตน์ ตอบว่า อย่าลืมว่า การจะผ่านความเห็นชอบในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องเสนอในที่ประชุมร่วมของรัฐสภา และต้องได้เสียง สนับสนุนของสว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 คือ 84 เสียง เมื่อไปตั้งเป้าหมายจะแก้ไขเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ สว.แล้ว จะมีเสียง สว.ที่ไหนมาสนับสนุน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0