โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สภาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิฯ ร้องรัฐบาลไทย หยุดคุกคามนักการเมือง-พรรคการเมืองฝ่ายต้านเผด็จการทหาร

มติชนสุดสัปดาห์

เผยแพร่ 27 พ.ค. 2562 เวลา 06.56 น.
Thanathorn APHR

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชนหรือเอพีเอชอาร์ ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยหยุดการคุกคามนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและหยุดจ้องทำลายพรรคการเมืองฝ่ายต่อต้านเผด็จการทหารในสภา

โดยเอพีเอชอาร์มองว่า กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ต้องเผชิญกับข้อหาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองถึง 2 คดีตั้งแต่ปีที่แล้ว และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งยับยั้งการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายธนาธรชั่วคราวระหว่างการสืบสวนข้อเรียกร้องละเมิดกฎหมายเลือกตั้งกรณีถือหุ้นสื่อ

นายชาร์ลส ซานติเอโก้ สมาชิกรัฐสภาของมาเลเซียและประธานเอพีเอชอาร์ กล่าวว่า ความมุ่งหมายของทางการไทยในการดำเนินคดีต่อนายธนาธรและบุคคลที่มีจุดยืนต่อต้านเผด็จการทหาร แสวงถึงความพยายามอย่างชัดเจนที่จะบ่อนทำลายฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร ดังนั้น ข้อหาทั้งหมดต่อสมาชิกผู้แทนราษฎร สื่อมวลชน นักเคลื่อนไหวและบุคคลอื่นที่กระทำเพียงแสดงความเห็นอย่่างสันติจะต้องถูกยกเลิกทันที

เอพีเอชอาร์ ยังได้ระบุด้วยว่า นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ได้แสดงความกังวลต่อการเป็นเครื่องมือทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้พิพากษา 7 ใน 9 คน ได้รับการต่ออายุในช่วงระหว่างการบริหารของรัฐบาล คสช. และความกังวลต่อคดีของนายธนาธร ที่ยื่นโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนที่ (กกต.) จะสอบสวนแล้วเสร็จ คาดว่าศาลรธน.ใช้เวลาพิจารณาภายใน 1 เดือน หากมีความผิด  อาจถึงตัดสิทธิ์ทางการเมืองนานกว่า 10 ปี และถูกลงโทษจำคุกถึง 10 ปี

นอกจากข้อหาถือหุ้นสื่อแล้ว นายธนาธร ยังเผชิญกับข้้อหาความผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ กรณีไลฟ์เฟซบุ๊กวิจารณ์พรรคพลังดูด และข้อหา ม.116 จากกรณีให้ความช่วยเหลือกับนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ที่บริเวณ สน.ปทุมวันในช่วงครบรอบ 1 ปี การรัฐประหาร 2557

สมาชิกสภาอาเซียนมีความกังวลว่า รัฐบาลทหาร คสช. ได้ใช้กฎหมายในลักษณะปราบปรามอย่างกว้างขวาง ในการระบุเป้าหมายและปิดปากผู้วิจารณ์ต่อต้าน คสช. และน่ากังวลอย่างยิ่ง ในคดียุยงปลุกปั่นที่พิจารณาคดีกับศาลทหารโดยไม่ได้ตั้งอยู่ในมาตรฐานสากลว่าด้วยความเป็นธรรมและมีการเลื่อนพิจารณาคดีหลายครั้ง

ด้านเท้ดดี้ บากิลัต ส.ส.ฟิลิปปินส์และสมาชิกรัฐสภาของเอพีเอชอาร์กล่าวว่า บริบทที่นำไปสู่ข้อหาที่มีความเป็นการเมืองต่อนายธนาธร จึงไม่ยากนักที่จะมองความเคลื่อนไหวของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอีกความพยายามในการปิดปากเสียงวิจารณ์รัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อประชาชนชาวไทยที่ศรัทธาต่อกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศ ทางการไทยต้องแสดงให้เห็นว่ามีความเคารพต่อผลลัพธ์ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งหมายถึงอนุญาตให้ผู้ได้รับเลือกจากประชาชนเข้ามามีส่วนต่อชีวิตสาธารณะ โดยไม่สนว่าพวกเขาจะแสดงความเห็นที่ไม่ชอบใจมากแค่ไหน

นอกจากนี้ เอพีเอชอาร์ ยังแสดงความกังวลต่อนักการเมืองคนอื่นที่ตกเป็นเป้าหมายอย่างนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและสมาชิกเอพีเอชอาร์ ซึ่งถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น จากการวิจารณ์รัฐบาลทหาร คสช.

ทั้งนี้ การคุกคามต่อนายธนาธร สะท้อนเห็นถึงสิ่งน่ากังวลที่รัฐบาลเผด็จการใช้กฎหมายเล่นงานนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกำลังเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ยกตัวอย่างกัมพูชาที่รัฐบาลสมเด็จฮุน เซน ชนะเลือกตั้งอีกสมัยด้วยการใช้อำนาจชี้นำให้ศาลสั่งยุบพรรคกู้ชาติกัมพูชาหรือซีเอ็นอาร์พี ทำให้นักการเมืองฝ่ายค้านถูกดำเนินคดีหรือต้องลี้ภัยทางการเมือง หรือในกรณีฟิลิปปินส์ที่สมาชิกวุฒิสภาถูกจับกุมในข้อหายาเสพติด ซึ่งยูเอ็นและองค์กรสิทธิมนุษยชนวิจารณ์ว่าข้อหาดังกล่าวมีแรงจูงใจทางการเมือง

นางเอวา ซุนดารี ส.ส.อินโดนีเซียและสมาชิกเอพีเอชอาร์กล่าวว่า สมาชิกรัฐสภามีบทบาทสำคัญในการธำรงและปกป้องสิทธิมนุษยชน ในกรณีที่สามารถให้กระทำได้โดยไม่เจอข้อจำกัดหรือหวาดหวั่นจากการถูกตอบโต้ สิ่งที่น่ารบกวนใจมากในตอนนี้คือ รัฐบาลทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามที่จะบ่อนทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองด้วยวิธีต่างๆทั้งคุกคาม ล่วงละเมิดและตั้งข้อหาทางอาญา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0