โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สผ. ชี้แจงภาพพื้นที่เขต ‘บางกะเจ้า’ จาก Google Maps อาจเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน

THE STANDARD

อัพเดต 17 ก.ย 2562 เวลา 08.05 น. • เผยแพร่ 17 ก.ย 2562 เวลา 08.05 น. • thestandard.co
สผ. ชี้แจงภาพพื้นที่เขต ‘บางกะเจ้า’ จาก Google Maps อาจเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน
สผ. ชี้แจงภาพพื้นที่เขต ‘บางกะเจ้า’ จาก Google Maps อาจเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน

สืบเนื่องจากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Krit Wongmanee’ ตั้งข้อสงสัยผ่านโพสต์ที่ระบุถึงภาพจาก Google Maps โดยปรากฏเป็นภาพของพื้นที่ในเขตบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ที่มีลักษณะเหมือนมีการก่อสร้างบางอย่าง 

 

ซึ่งอาจขัดกับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ ต.บางกะเจ้า, บางกอบัว, บางน้ำผึ้ง, บางยอ, บางกระสอบ และทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมานั้น

 

ล่าสุด (17 ก.ย. 2562) THE STANDARD ได้ต่อสายพูดคุยกับ รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้คำตอบว่า ในเบื้องต้นทางหน่วยงานยังไม่ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของใคร ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ของชาวบ้านเอง ส่วนพื้นที่สีเขียวที่สงวนไว้เป็นพื้นที่จากกรมป่าไม้ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่นอกเหนือจากนั้นอาจเป็นของเอกชน หรือบางส่วนถือครองโดยชาวบ้าน

 

“พื้นที่ส่วนใหญ่ในบางกะเจ้า ถ้าดูในกูเกิลก็จะเห็นว่า บางส่วนก็เป็นบ้านเรือนคนอยู่แล้ว ซึ่งเราได้มีประกาศคุ้มครองออกมาต่างๆ เช่น ห้ามก่อสร้างโรงงาน แต่เราอย่าเข้าใจผิดว่าตรงนั้นเป็นบ้านคนแล้วมองว่าผิดกฎหมายนั้นไม่ใช่ และการประกาศก็เป็นการประกาศทับพื้นที่กรรมสิทธิ์เหล่านั้นตามหลังอยู่แล้ว”

 

ทั้งนี้ ขอบเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมคุ้งบางกะเจ้า ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบลทางทิศตะวันออก ของ อ.พระประแดง เนื้อที่รวม 11,819 ไร่ และพื้นที่ในน้ำซึ่งมีขอบเขตถึงกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับกรุงเทพฯ

 

โดยมีมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงอาคารใดๆ ให้เป็นอาคารโรงงาน เว้นแต่สร้างทดแทน โรงแรม อาคารชุด ท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา อาคารทุกประเภทในที่ดินของรัฐที่จัดซื้อตามโครงการสวนกลางมหานคร

 

ส่วนหลักเกณฑ์การก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร ความสูงของอาคารทั่วไปไม่เกิน 9 เมตร เว้นแต่อาคารทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงไทย ไม่เกิน 12 เมตร อีกทั้งต้องส่งเสริมให้ปลูกไม้ยืนต้นที่เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของบริเวณพื้นที่ว่าง

 

นอกจากนี้ ยังมีการห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม ได้แก่ การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม การทำสนามกอล์ฟ การถมหรือปรับหรือปิดกั้นลำกระโดง คู คลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะ ที่ทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นตื้นเขิน หรือไม่สามารถไหลไปได้ตามปกติ

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0