โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สนช.เตรียมเสนอกรมสวัสดิการฯ ออกเกณฑ์ลากิจจำเป็นได้ 3 วันมีอะไรบ้าง

MATICHON ONLINE

อัพเดต 14 ธ.ค. 2561 เวลา 14.06 น. • เผยแพร่ 14 ธ.ค. 2561 เวลา 14.06 น.
ดห

จากกรณีร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) คาดจะมีผลบังคับใช้หลังปีใหม่ 2562 เพื่อเป็นของขวัญแก่แรงงานทุกคน โดยหลักๆจะได้สิทธิประโยชน์ได้รับเงินชดเชยเพิ่มหากถูกเลิกจ้าง และได้สิทธิลากิจอันเป็นธุระจำเป็น 3 วัน โดยได้รับค่าจ้าง และได้สิทธิลาคลอดเพิ่มอีก 8 วัน จาก 90 วันเป็น98 วันนั้น

อ่านเพิ่มเติม

ลูกจ้างเฮลั่นรับปีใหม่!! กม.คุ้มครองแรงงานผ่านสนช. ได้สิทธิประโยชน์หลัก 7 ข้อใหญ่

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ ว่า หลังจากลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน 30 วัน จะมีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทั้งนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ ถือเป็นฉบับที่ 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยลูกจ้างจะได้สิทธิประโยชน์ใน 7 ประเด็นหลัก อาทิ ลากิจธุระจำเป็นได้ค่าจ้าง 3 วันทำงานต่อปี, หญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน, นายจ้างมีการเปลี่ยนตัว เปลี่ยนนิติบุคคล หากลูกจ้างไม่ยินยอม ก็สามารถรับค่าชดเชยพิเศษตามกฎหมาย, รับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง 6 ขั้นอัตรา โดยสูงสุดอายุงาน 20 ปีขึ้นไป ได้ชดเชย 400 วัน เป็นต้น

“พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ฉบับใหม่นี้ ถือเป็นของขวัญปีใหม่ 2562 ให้กับลูกจ้าง ทั้งนี้ภายใน 30 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้กับนายจ้างและสถานประกอบการทันที โดยไม่จำเป็นต้องออกประกาศหรือกฎหมายลูกใดๆ เพิ่มเติม หากนายจ้างหรือสถานประกอบการใดไม่ปฏิบัติตาม ถือว่ามีความผิด ซึ่งลูกจ้างสามารถดำเนินการเอาผิด และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะพิจารณาลงโทษได้ตามกฎหมาย” นายวิวัฒน์ กล่าว

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จริงๆแล้วร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่จำเป็นต้องมีกฎกระทรวง แต่เนื่องจากมีเรื่องสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการให้ลูกจ้างสามารถลากิจธุระจำเป็นได้ 3 วัน โดยได้รับค่าจ้างนั้น ทางคณะกรรมาธิการสนช. จึงตั้งข้อสังเกต โดยทางฝ่ายนิติบัญญัติ ของสนช. จะทำหนังสือส่งถึงกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณาว่า กิจธุระอันจำเป็นมีอะไรบ้าง ควรแจงเป็นข้อๆ เพื่อให้ชัดเจน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0