โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สธ.เล็งประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ย้ำไทยไม่มีนโยบายกักกันนักท่องเที่ยวต่างชาติ

TODAY

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 23.37 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 08.21 น. • Workpoint News
สธ.เล็งประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ย้ำไทยไม่มีนโยบายกักกันนักท่องเที่ยวต่างชาติ

กระทรวงสาธารณสุข เผยกรณีมีข้อกังวลของผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หากไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก อาการไม่เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค จะไม่ถูกรับตัวไว้ในโรงพยาบาล เตรียมเสนอประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย 

วันที่ 20 ก.พ.2563 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป พร้อมด้วยนพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 20 ก.พ.2563 ว่ามีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 18 ราย กลับบ้านแล้ว 17 ราย รวมสะสม 35 ราย, ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. จนถึงปัจจุบัน สะสมทั้งหมด 1,052 ราย เป็นการคัดกรองจากสนามบิน 58 ราย เดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 994 ราย, แพทย์ อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 861 ราย และยังคงรักษาในโรงพยาบาล 191 ราย ส่วนผู้ป่วย 2 รายที่ยังอยู่สถาบันบำราศนราดูร อาการยังทรงตัว
.
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อ เปิดเผยว่า สถานการณ์ในไทยอยู่ในระดับความคุมการระบาดได้ ขยายพื้นที่เฝ้าระวัง เช่น ในพื้นที่ที่มีคนทำงานเกี่ยวข้องกับต่างชาติมากจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เช่น กทม. สมุทรปราการ ชลบุรี ประจวบคีรีขัน เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ เพื่อให้คนไทยมั่นใจว่าจะปลอดภัย คนกลุ่มนี้จะได้รับการตรวจเป็นพิเศษ มีความชัดเจนมาขึ้น
มาตรการที่ด่านควบคุมโรคติดต่อได้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง มีหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย ทำให้การตรวจคัดกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
นพ.โสภณ ย้ำว่า ไทยไม่มีนโยบายกักกันผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองวัดไข้ เพื่อค้นหาผู้มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19
.
เมื่อถามว่าทำไมไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินโรคติดต่อรายแรง
.
นพ.โสภณ กล่าวว่า ในกระบวนการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ก่อนหน้านี้ไทยมีอยู่แล้ว 13 โรค ( กาฬโรค โรคไข้ทรพิษ ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ไข้เวสต์ไนล์ ไข้เหลือง โรคไข้ลาสซา โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์  โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์สและ โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส) โควิด-19 อยู่ระหว่างทำร่างประกาศนำเสนอต่อคณะกรรมการ ตอนนี้มีความเป็นไปได้สูงที่กรรมการจะลงมติเห็นชอบประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ต้องติดตามความคืบหน้าวันจันทร์ที่ 24 ก.พ.นี้ เมื่อมีการประกาศแล้วจะทำให้การบริหารจัดการโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กฎหมายจะเป็นเครื่องมือการทำงานสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม

.
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้จะอยู่ในขั้นตอนการรอประกาศ แต่ที่ผ่านมาไทยได้ปฏิบัติจริงในสถาการณ์รับมือภาวะฉุกเฉินตั้งแต่ต้นตั้งแต่การเฝ้าระวัง ติดตาม การเตรียมความพร้อมต่างๆ ที่มีการทำคู่ขนานกันไปเหมือนเตรียมความพร้อมไว้ก่อน
.
นพ.โสภณ กล่าวว่า การประเมินสถานการณ์อยู่เป็นระยะๆ แต่ด้วยบริบทและคุณลักษณะของเชื้อ ของประเทศไทยเรายังมีเวลาอีก 2 เดือนที่อากาศร้อน เป็นช่วงที่เชื้อไวรัสทางเดินหายใจไม่รุกรามรุนแรง เราจะใช้ช่วงเวลานี้ในการเตรียมความพร้อมในทุกเรื่อง วางแผนแก้ไขปัญหา และป้องกัน
.
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมว่า สถารการณ์โควิด-19 ในไทยคงตัวอยู่ในระดับนี้ มีแนวโน้มดีขึ้นในฤดูร้อน, เป็นระยะคงที่ และถอยหลังกลับไป ช่วงนี้เป็นระยะลดการป่วย ยืนยันกระทรวงสาธารณสุขเตรียมความพร้อมไปข้างหน้าแบบไม่ประมาทในทุกกรณี
.
เมื่อถามว่า ใช้ข้อมูลและปัจจัยอะไรในการประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย นพ.โสภณ กล่าวว่า หากดูวันที่องค์การอนามัยโลกประกาศมีเกณฑ์อยู่ 4 ข้อ คือ 1. เป็นโรคที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิด ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 2. มีความรุนแรง 3.แพร่ระบาดเร็ว และ 4.มีการจำกัดการเดินทาง เมื่อององค์การอนามัยโลกประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศ ของไทยเราก็เช่นกันการพิจารณาเป็นโรคติดต่ออันตรายใช้แนวคิดเดียวกันเพราะเข้าหลักครบถ้วน ข้อมูลมีเพียงพอ ซึ่งหายประเทศเริ่มยกระดับแล้ว
.

ทั้งนี้ วันนี้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้กล่าวยืนยันว่า เราไม่มีการปิดบัง หรือบิดเบือนตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทย ขอให้ประชาชนมั่นใจในมาตรการ ป้องกันและควบคุมโรคที่ดี เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เริ่มคัดกรองทุกสนามบิน แจกบัตรคำแนะนำสุขภาพให้นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และสถานบริการต่าง ๆ และที่สำคัญเรามีบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครที่มีความสามารถ ทุ่มเท เสียสละ ขอเชื่อมั่น ให้กำลังใจ และให้ความร่วมมือ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0