โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สธ.เตรียมประกาศ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย (คลิป)

TNN ช่อง16

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 09.33 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 09.33 น. • TNN Thailand
สธ.เตรียมประกาศ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย (คลิป)
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หารือพิจาณาร่างประกาศ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย หลังมีการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ

วันนี้ (20 ก.พ.63) สำหรับการแถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 19 หรือ โควิด-19 ในประเทศไทย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สถานการณ์ในไทยตอนนี้ มีป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 18 ราย กลับบ้านแล้ว 17 ราย รวมสะสม 35 ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 19 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,052 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 863 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งอาการผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นตามลำดับ ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต 2 รายอาการยังคงทรงตัว ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อจากทั่วโลกใน28ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ มี 75,726 ราย เสียชีวิต 2,128 ราย

โฆษกระทรวงสาธารณสุข กล่าวย้ำว่า ประเทศไทยไม่มีนโยบายกักกันผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ทั้งเครื่องบินพาณิชย์ และเรือสำราญ ซึ่งหากมายังประเทศไทย ยังคงต้องผ่านการคัดกรองตั้งแต่สนามบิน เพื่อค้นหาผู้ที่อาจติดเชื้อ เกณฑ์ คือ หากมีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียลขึ้นไป และมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ จะถูกนำตัวเข้าสู่การรักษา และเฝ้าระวังเร็ว ส่วนคนที่ไม่มีอาการให้กลับบ้าน แต่ยังคงเฝ้าระวังอาการ 14 วัน หากป่วยให้รีบมาพบแพทย์

โดยยังคงยืนยันว่า ปัจจุบันการติดเชื้อโควิด 19 ยังคงมาจากละอองฝอยขนาดใหญ่ไอ จาม ที่อยู่ในระยะใกล้ชิด และการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง ประชาชนทั่วไปยังไม่ถึงกับติดจากละอองฝอยขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในผู้ป่วยวัณโรค หากโอกาสที่จะติดจากละอองฝอยขนาดเล็กยังคงอยู่ในกลุ่มของหัตกรรมทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีโอกาสใกล้ชิดสัมผัสกับผู้ป่วย

ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่มีการระบาดที่ยังควบคุมได้ โดยได้มีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษใน8จังหวัด คือ กลุ่มเสี่ยงที่ทำงานสัมผัสใกล้ชิดกับประชาชนที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด

โดยเมื่อช่วงเช้าได้มีการประชุม คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคอุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 3 มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยได้เน้นย้ำ มาตรการต่างๆ ในการควบคุม ไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่มมากขึ้นเหมือนในหลายประเทศ โดยให้มีการชะลอ ตัวของโรคและการระบาดไว้ให้นานที่สุด การเตรียมบุคลกรทางการแพทย์ สถานพยาบาล ห้องแยกโรค หากอนาคตมีการระบาดของเชื้อเพิ่มขึ้นในจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร

ขณะที่ วันจันทร์นี้ที่กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมโรคติดต่อแห่งชาติ 30 ราย ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน จะมีการพิจารณาร่างประกาศ โควิด 19 ให้เป็นโรคติดต่ออันตราย เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการโรค

หลังจากมีข้อมูลของโรคเพิ่มขึ้น และมีการแพร่ระบาดในต่างประเทศ ซึ่งจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับที่ องค์การอนามัยโลกประกาศ ภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณา 4 ข้อ ได้แก่ โรคที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิด พบความรุนแรงของโรคมากขึ้น มีแพร่ระบาดความประเทศ และมีการจำกัดการเดินทาง ซึ่งก่อนนี้ที่ไทยไม่ประกาศ เนื่องจากยังไม่พบการติดต่อระหว่างคน และสถานการณ์ ยังไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว

ขณะที่ ความกังวลว่า อีก 2 เดือนการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะมีความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ในประเทศไทย ทางด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ระบุว่า สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยในอีก 2 เดือน อาจจะดีขึ้น คือสถานการณ์อาจจะทรงตัวอยู่ระดับที่ 2 อย่างนี้ไปเรื่อยๆ หรือกลับเข้าสู่ระยะที่ 1 คือมีแต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนำเข้าเท่านั้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่โรคติดต่อและไวรัสอยู่ในเกณฑ์แพร่ระบาดต่ำ แต่ระหว่างนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีการเตรียมความพร้อม การรับมือไว้แล้ว

ส่วนกรณีที่สำนักงานบริหารผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งชาติของจีน ได้ให้การรับรองยาต้านไวรัส Favilavir และนับเป็นยาต้านไวรัสโควิด-19 ตัวแรกที่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ นพ.โสภณ เผยว่า ในประเทศไทย ได้มีการใช้ตัวยาดังกล่าวในคนไทย 2 ราย ที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งได้ผลดีแต่ต้องรอผลการประเมินอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ ตัวยาต้านไวรัส Favilavir เป็นยานำเข้าที่ไทยนำมารักษาในผู้ป่วยติดเชื้อโรคอื่น

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0