โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สทนช.ชี้ค่าฝนต่ำ–น้ำในอ่างฯลดต่อเนื่อง เล็งชง “แผนแก้วิกฤติน้ำน้อยฤดูฝน-คุมการใช้น้ำ”ต่อนายกฯ

SpringNews

อัพเดต 22 ก.ค. 2562 เวลา 10.11 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 10.11 น. • SpringNews
สทนช.ชี้ค่าฝนต่ำ–น้ำในอ่างฯลดต่อเนื่อง เล็งชง “แผนแก้วิกฤติน้ำน้อยฤดูฝน-คุมการใช้น้ำ”ต่อนายกฯ

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 8/2562 ว่า ที่ประชุมได้มีการติดตาม ประเมิน คาดการณ์สภาพอากาศ ซึ่ง จากการติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำปัจจุบัน พบว่า มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2561 จำนวน 11,904 ล้าน ลบ.ม. (25%) มีอ่างฯ ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ทั้งนี้ การที่ปริมาณน้ำต้นทุนมีปริมาณน้อยแม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน มีสาเหตุ คือ

1.ปริมาณฝนตกช่วงฤดูฝนปี’61 ตกน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 10%–17%

2.มีการส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรที่เพาะปลูกเกินแผนในฤดูแล้งปี’61/62 โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกเกินแผน 1.2 ล้านไร่ ทำให้ต้องจัดสรรน้ำมากกว่าแผน 20% หรือ 1,528 ล้าน ลบ.ม.

3.มีปริมาณฝนตกจริงน้อยกว่าที่คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ประมาณ 30%-40% ในภาคเหนือ กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้ต้องจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำให้พื้นที่การเกษตรมากกว่าแผน

 

“นับตั้งแต่ 1 พ.ค. 62 เป็นต้นมา กรมอุตุฯและสสน. ได้ยืนยันคาดการณ์ปริมาณฝนที่จะตกในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน เดือน พ.ค.-ก.ค. จะมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ 5-10% ส่วนครึ่งหลังของฤดูฝน ตั้งแต่ ส.ค.-ต.ค. จะมีปริมาณฝนใกล้เคียงกับค่าปกติและคาดว่าจะมีพายุพัดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูกในช่วงเดือนส.ค. 62 นี้ แต่จากสถิติฝนที่ตกจริงในช่วงเดือนมิ.ย.-15 ก.ค. ที่ผ่านมาพบว่า มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ 30-40% ในภาคเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีปริมาณฝนมากกว่าปี 2558 ซึ่งเป็นปีแล้งสุดประมาณ 12% ส่วนภาคอื่นๆ เป็นไปตามคาดการณ์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเอลนีโญกำลังอ่อน โดยที่การคาดการณ์ของกรมอุตุ และสสน.สำหรับครึ่งหลังฤดูฝนยังคงยืนยันเหมือนเดิม คือ ใกล้เคียงกับค่าปกติ เทียบใกล้เคียงกับปี 2550” นายสมเกียรติ กล่าว

ล่าสุด สทนช.ได้ประเมินพื้นที่ฝนตกน้อยและอาจมีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน 83 อำเภอ 20 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 35 อำเภอ 10 จังหวัด ภาคใต้ 27 อำเภอ 8 จังหวัด ภาคเหนือ 18 อำเภอ 6 จังหวัด และภาคตะวันตก 3 อำเภอ 1 จังหวัด ดังนั้น เบื้องต้นที่ประชุมได้พิจารณามาตรการรับมือภัยแล้งในช่วงฤดูฝน เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีโดยเร่งด่วน
ทั้งมาตรการเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาวให้เข้มข้นมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 3,200 ล้าน ลบ.ม. ณ วันที่ 1 พ.ย. 62

นายสมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับสถานการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับก่อนหน้านี้ สทนช. ได้มีการประสานหารือและขอความร่วมมือจากทางการของประเทศจีนและลาวแล้ว ซึ่งขณะนี้ทางลาวได้กลับมาระบายน้ำทางเขื่อนไซยะบุรี เพื่อใช้ในการปั่นกระแสไฟฟ้าตามปกติ ในส่วนของจีน หลังจากที่มีการปรับลดการระบายน้ำในเขื่อนจิ่งหงไปในช่วง 5-17 ก.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้มีการปรับเพิ่มการระบายน้ำกลับมาในปริมาณเกือบเท่าเดิมแล้วเช่นกัน แต่ยังคงน้อยกว่าช่วงต้นเดือน มิ.ย.” นายสมเกียรติ กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0