โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สถานการณ์ ‘ไวรัส COVID-19’…กับการ “Checklist ประกัน” ด้วยตัวเอง

Wealthy Thai

อัพเดต 24 ก.ค. 2563 เวลา 03.55 น. • เผยแพร่ 24 ก.ค. 2563 เวลา 03.55 น. • wealthythai
สถานการณ์ ‘ไวรัส COVID-19’…กับการ “Checklist ประกัน” ด้วยตัวเอง
“มีประกันไหม มีความคุ้มครองเท่าไร?” มักจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และจะสำคัญมากยิ่งขึ้นเมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์เสี่ยงภัยใกล้ตัว เช่นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีหลายๆ ท่านได้ถามหาการทำประกันให้มีความคุ้มครองโรคติดเชื้อ ‘ไวรัส COVID-19’ และหลายท่านที่ถือกรมธรรม์เดิมก็มักจะมีคำถามว่าประกันที่ท่านมีครอบคลุมถึงโรคนี้ด้วยหรือไม่ เพราะการทำประกันเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ใช่ของที่ใช้ทุกวันและรายละเอียดของประกันนั้นเยอะไม่น้อยเลยทีเดียว

“มีประกันไหม มีความคุ้มครองเท่าไร?” มักจะเป็นคำพูดที่เราได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และจะสำคัญมากยิ่งขึ้นเมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์เสี่ยงภัยใกล้ตัว เช่นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีหลายๆ ท่านได้ถามหาการทำประกันให้มีความคุ้มครองโรคติดเชื้อ ‘ไวรัส COVID-19’ และหลายท่านที่ถือกรมธรรม์เดิมก็มักจะมีคำถามว่าประกันที่ท่านมีครอบคลุมถึงโรคนี้ด้วยหรือไม่ เพราะการทำประกันเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ใช่ของที่ใช้ทุกวันและรายละเอียดของประกันนั้นเยอะไม่น้อยเลยทีเดียว

 

ใน ‘การวางแผนการเงิน’ นั้น การตรวจสอบและทบทวนกรมธรรม์ประกันชีวิตและสุขภาพที่มีอยู่เป็นสิ่งที่ผู้ทำประกันควรต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อสรุปดูว่ากรมธรรม์ที่ท่านทำไว้นั้นมีความคุ้มครองเหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันมากน้อยเพียงใด กรมธรรม์ที่ท่านทำเพื่อสะสมเงินไว้จะมีเงินคืนให้ในปีไหนและสิทธิประโยชน์กรมธรรม์ในแต่ละเล่มที่ท่านได้รับมีเรื่องใดบ้าง โดยการ Checklist ‘กรมธรรม์ประกันชีวิตและสุขภาพ’ ด้วยตัวเองสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

           

Checklist แรก : บัตรประกันอยู่ที่ไหน เมื่อท่านทำประกันแล้ว ท่านมักจะได้รับบัตรใบเล็กๆ ขนาดใกล้เคียงบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มที่สามารถพกไว้ในกระเป๋าสตางค์ไว้เพื่อติดต่อเรื่องประกัน โดยมีข้อมูลหลักที่สำคัญหน้าบัตรคือชื่อ-นามสกุลของท่านที่ตัวอักษรต้องสะกดเหมือนกับบัตรประชาชน ชื่อบริษัทประกัน เลขที่กรมธรรม์ ประเภทกรมธรรม์ บางบัตรยังเพิ่มส่วนสรุปความคุ้มครองแบบย่อ โดยเฉพาะประกันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่แสดงวงเงินค่ารักษาบางรายการไว้

 

“ประโยชน์ของบัตรใบน้อยนี้คือท่านสามารถยื่นบัตรให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการประสานงานเกี่ยวกับประกันของท่าน เป็นการทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น”

 

           

Checklist ข้อสอง : เคยตรวจสอบข้อมูลเมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์หรือไม่ อีกส่วนที่ผู้ทำประกันได้รับคือเล่มกรมธรรม์ที่แสดงรายละเอียดของประกันที่ท่านทำไว้ โดยข้อมูลสรุปที่สำคัญของกรมธรรม์จะอยู่ที่หน้าแรก ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนแรกเป็น ‘ข้อมูลทั่วไป’ เกี่ยวกับชื่อ-นามสกุลของท่าน ชื่อบริษัทประกัน แบบประกัน จำนวนทุนที่ทำไว้ เลขที่กรมธรรม์ วันที่ของกรมธรรม์ วันสัญญา วันครบสัญญา และอายุที่เริ่มทำสัญญาฉบับนี้ ส่วนที่สองของหน้าแรกเป็นส่วนของ ‘ชื่อแบบประกัน’ จำนวนเงินเอาประกัน เบี้ยประกัน และจำนวนปีที่ต้องชำระเบี้ยประกัน

 

“หากท่านมีสัญญาเพิ่มเติมต่างๆ ข้อมูลส่วนนี้ก็จะปรากฏไว้ตรงนี้ด้วย เช่นสัญญาเพิ่มเติมกรณีอุบัติเหตุ โรคร้ายแรง การยกเว้นเบี้ยประกัน ค่ารักษาพยาบาล และผลประโยชน์ผู้ชำระเบี้ยในกรณีที่ท่านชำระเบี้ยให้กับบุตร”

 

 

           

Checklist ข้อสาม : วงเงินความคุ้มครองมีเท่าไร ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งว่าท่านมีความคุ้มครองอยู่เท่าไร ในส่วนนี้เรายังคงอยู่ที่หน้าแรกของเล่มกรมธรรม์ โดยท่านสามารถดูสรุปวงเงินความคุ้มครองได้จากจำนวนเงินเอาประกันที่แสดงถัดจากแบบประกันและสัญญาเพิ่มเติมต่างๆ ถึงตรงนี้ท่านที่มีกรมธรรม์หลายเล่มก็สามารถสร้างตารางในไฟล์ Excel “ตารางแบบประกันและความคุ้มครอง” โดยใส่ข้อมูลต่างๆ ทั้งส่วนแรกและส่วนสองของกรมธรรม์หน้าแรก เพื่อทำการสรุปและรวบรวมให้เห็นความคุ้มครองต่างๆ ทั้งหมดของทุกเล่มกรมธรรม์ที่ท่านมีได้ง่ายขึ้น

 

           

Checklist ข้อสี่ : มีเงินเก็บเพื่อใช้ในวันข้างหน้ามากน้อยเพียงใด Checklist ข้อนี้เหมาะกับประกันที่เป็นแบบออมทรัพย์และบำนาญ เนื่องจากประกันทั้งสองแบบจะมีเงินคืนและเงินบำนาญตามสัญญา ข้อมูลส่วนนี้จะอยู่ที่หน้าประมาณกลางๆ ของเล่มกรมธรรม์ในหัวข้อที่เรียกว่า ‘ข้อกำหนดการจ่ายผลประโยชน์- ในกรณีมีชีวิตอยู่’ สำหรับการจ่ายเงินคืนรายงวด เงินครบสัญญา เงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือช่วงรับเงินบำนาญ

 

“ท่านที่มีกรมธรรม์หลายเล่มสามารถสร้างไฟล์ Excel ‘ตารางสรุปเงินคืนและบำนาญ’ โดยเทียบอายุของท่านหรือปี พ.ศ. ตลอดสัญญากับจำนวนเงินที่จะได้รับจากกรมธรรม์แต่ละเล่ม หรือท่านอาจจะเรียกตารางนี้ว่า ‘ตารางกระแสเงินไหลเข้า (Cash Inflows)’ ให้ชื่นใจกับเงินที่จะได้รับเพื่อใช้ในอนาคตก็ได้”

           

Checklist ข้อห้า : ความคุ้มครองเวลาเจ็บป่วยมีหรือไม่ ข้อนี้สำหรับผู้ทำประกันที่ทำสัญญาเพิ่มเติม ข้อมูลในแต่ละหมวดมักจะอยู่กลางเล่มกรมธรรม์ ในหัวข้อที่เรียกว่าสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์ ซึ่งท่านอาจจะทำไฟล์ Excel เป็นตารางรวบรวม “สรุปรายละเอียดความคุ้มครองเวลาเจ็บป่วย” จากกรมธรรม์ทุกเล่มที่ท่านมี เช่นในหมวดสัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลที่แสดงค่าห้อง ค่าอาหารและบริการพยาบาลต่อวัน ค่าแพทย์ตรวจรักษาในโรงพยาบาลต่อวัน ค่าผ่าตัดต่อครั้ง ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ต่อครั้ง เงินชดเชยจากการเจ็บป่วยโรคร้ายแรงต่าง และข้อยกเว้นว่าไม่คุ้มครองโรคใดบ้าง

 

“ซึ่งแน่นอนว่า ‘โรคไวรัส COVID-19’ เป็นชื่อโรคใหม่ การได้รับความคุ้มครองโรคนี้นั้นอาจอยู่ในรูปของค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล  เงินชดเชยจากโรคร้ายในระยะรุนแรงหรือจากเสียชีวิต ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์”

 

เพียงท่านทำ Checklist ทั้ง 5 ข้อนี้ ก็จะเป็นการ ‘สรุปประกันชีวิตและสุขภาพ’ ที่ท่านมีทั้งหมดและวางแผนประกันในส่วนที่ท่านจำเป็นต้องมีให้รอบคอบมากขึ้นได้นอกจากนี้ท่านยังสามารถมีความมั่นใจในใช้ประโยชน์จากการทำประกันได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินคืน เงินบำนาญ ทุนประกันชีวิต และสวัสดิการค่ารักษาโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดเชื้อ ‘ไวรัส COVID-19’ หรือโรคใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand,TFPA Facebook Fanpageและ  www.tfpa.or.th

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0