โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi

Thaiware

อัพเดต 21 ส.ค. 2561 เวลา 09.47 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2561 เวลา 09.05 น. • moonlightkz
สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi
จอบส์ไม่ใช่คนคิดค้น Wi-Fi แต่เขานี่แหละ คือ คนที่ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยม

ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะสมาร์ทโฟน, โน๊ตบุ๊ค หรือคอมพิวเตอร์ ต่างก็รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แต่รู้หรือไม่ว่าเบื้องหลังความสำเร็จนี้ มีบทบาทสำคัญจากสตีฟ จอบส์ แห่ง Apple ผู้คิดค้น iPhone อยู่ด้วย

ต้นกำเนิดของ Wi-Fi นั้น ถ้าจะย้อนไปถึงการคิดค้นเลย เราอาจจะคิดถึงบุคคลสำคัญอย่าง Hedy Lamarr ดาราสาวแห่งฮอลลีวูด ผู้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น Wireless goddess (เทพธิดาไร้สาย) เธอคิดค้นเทคนิคที่เรียกว่า Frequency Hopping ซึ่งแต่เริ่มเดิมทีถูกใช้ในวงการทหาร ก่อนที่จะถูกนำมาพัฒนาประยุกใช้ใน Wi-Fi, Bluetooth และ GPS ในปัจจุบัน

สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi
สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi


Hedy Lamarr 1938 - ©Diltz/RDA/Everett Collection (00523921)©DILTZ/RDA/EVERETT COLLECTION (00523921)

หรือจะเป็น Vic Hayes ชายคนนี้ได้รับสมญานามว่า Father of Wi-Fi (บิดาแห่งไวไฟ) เขาเป็นคนสร้างมาตรฐานที่ชื่อว่า IEEE 802.11 ซึ่งถูกนำมาใช้ในระบบ Wireless Local Area Networks

สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi
สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi

แต่หากพูดถึงคนที่ทำให้ระบบเครือข่ายไร้สายนั้นเป็นที่นิยมล่ะก็ เราอาจจะคาดไม่ถึงว่า สตีฟ จอบส์ นี่แหละที่มีส่วนที่ทำให้ระบบนี้ประสบความสำเร็จได้

ย้อนกลับไปในปี 1996 หลังจากที่สตีฟ จอบส์ได้กลับมาทำงานที่ Apple อีกครั้ง (เขาถูกไล่ออกจากบริษัท Apple ที่ตัวเองก่อตั้งในในปี 1985) ตอนนั้นจอบส์มีไอเดียที่จะนำระบบเชื่อมต่อแบบไร้สายมาใช้ในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ของบริษัท

ตัดภาพไปที่บริษัท Lucent Technologies ณ วันที่ 20 เมษายน 1998 ตอนนั้นมี Cees Links ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทั่วไปของฝ่าย Wireless LAN Division อยู่ (ต่อมาเขา คือหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์กร Wi-Fi Alliance และเครือข่าย Zigbee) เขาได้รับหน้าที่ให้ไปพรีเซนต์เทคโนโลยี Wireless LANs กับสตีฟ จอบส์ที่กำลังสนใจเทคโนโลยีนี้อยู่ 

ซึ่งต้องบอกก่อนว่า Lucent Technologie ได้เริ่มวางขายตัวสินค้า WaveLAN wireless (ที่ต่อมาได้กลายเป็นรากฐานให้กับมาตรฐาน IEEE 802.11) มาตั้งแต่ปี 1991 โดยพยายามเข้าไปเจรจากับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายรายอย่าง Dell, Toshiba ฯลฯ แต่ว่าในยุคนั้น ไม่มีใครเห็นคุณค่าของเทคโนโลยีไร้สายตัวนี้ Cee Links เปิดเผยว่ากระแสตอบรับที่เขาได้รับกลับมา คือ "ทุกคนมีช่อง Ethernet อยู่แล้ว ใครกันที่ต้องการใช้ระบบไร้สาย?" ทำให้ WaveLAN ถูกจำกัดการใช้งานอยู่ในวงแคบๆ อย่างภายในโรงเรียน, โรงพยาบาล หรือในระบบ POS ตามร้านค้าเท่านั้น แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปหลังจากจอบส์ได้โทรมาหาเขาเพื่อนัดให้มาพรีเซนต์

ตัดภาพกลับไปในห้องประชุมของบริษัท Apple ที่ Cupertino จอบส์ใช้เวลา 10 นาที ในการพูดถึงความมหัศจรรย์ของระบบไร้สาย ก่อนที่จะตกลงซื้อเทคโนโลยี WaveLAN ของ Lucent มาใช้ (แถมกดราคาจาก $130 ให้เหลือ $50 ด้วยล่ะ) แล้วมันก็ถูกนำมาใช้ในเครื่อง iBook G3 (วางจำหน่ายในปี 1999) ทำให้มันเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องแรกของโลกที่นำเทคโนโลยีไร้สายมาใช้ และหลังจากนั้นเพียงสัปดาห์เดียวบริษัทอย่าง IBM, Sony, Compaq, HP, Dell ต่างก็โทรมาหา Cee Links เพราะต้องการนำเทคโนโลยีไร้สายนี้ไปใช้บ้าง

สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi
สตีฟ จอบส์ ชายผู้อยู่เบื้องหลังความนิยมของเครือข่าย Wi-Fi


ภาพของ iBook G3

หลังจากนั้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายก็แพร่หลาย ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ได้จำกัดแค่บนคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้มันถูกใช้บนอุปกรณ์เกือบทุกชนิดในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่า Wi-Fi ก็น่าจะถูกใช้กันในปัจจุบันต่อให้วันนั้นสตีฟ จอบส์จะไม่ผลักดันก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่า จอบส์นี่แหละที่เป็นคนหยิบมันขึ้นผลักดันให้ผู้บริโภคได้เห็น และอยากใช้

เกร็ดความรู้น่าสนใจ
Wireless LAN หรือ WLAN หมายถึงระบบ LAN ที่ทำงานแบบไร้สาย ปัจจุบันนิยมใช้โปรโตคอล 802.11  ในการทำงาน
ส่วน Wi-Fi ย่อมาจาก Wireless fidelity มักถูกใช้ในการเรียกแทนชื่อโปรโตคอล 802.11

ด้านล่างนี้ เป็นวีดีโอเหตุการณ์ตอนที่สตีฟ จอบส์ ทำการแนะนำเทคโนโลยี Wi-Fi ในงาน MacWorld ที่ New York City in ในเดือนกรกฏาคม ปี 1999 มีความน่ารักตรงที่จอบส์เอาห่วงฮูล่าฮูปมาวางครอบเครื่อง iBook เพื่อแสดงให้เห็นว่า มันไม่มีสายมาเชื่อมต่อให้เกะกะแต่อย่างใด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0