โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สงครามไฮบริด กับความเสี่ยงเศรษฐกิจ

The Bangkok Insight

อัพเดต 14 ต.ค. 2562 เวลา 03.12 น. • เผยแพร่ 14 ต.ค. 2562 เวลา 03.11 น. • The Bangkok Insight
สงครามไฮบริด กับความเสี่ยงเศรษฐกิจ

วาระหลักจากเวทีบรรยายของ พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) เรื่อง “แผ่นดินของเราในมุมมองด้านความมั่นคง”  สัปดาห์ที่ผ่านมา  คือแสดงจุดยืนของกองทัพบกต่อ อุดมการณ์ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ” ที่ พล.อ.อภิรัชต์ ย้ำหนักแน่นว่า มาตรา 1 “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ” แก้ไม่ได้

และการสะท้อนภาพการเมืองไทยในสายตา ”ผู้บัญชาการทหารบก” ที่อ้างถึงเหตุการณ์ บุคคลระหว่างบรรทัดจำนวนหนึ่ง อาทิ นักเรียนนอกซ้ายดัดจริต ฮ่องเต้ซินโดรม  และ สถานการณ์การเมืองที่เป็นอยู่                   

ไฮไลท์จากเวทีบรรยาย คือการระบุถึงสงครามลูกผสม  ( Hybrid Warfare)ที่พล.อ.อภิรัชต์ ย้ำว่า “ผมอยากให้ทุกคนได้รู้เท่าทันว่า Hybrid Warfare เกิดขึ้นแล้วในประเทศนี้”

ความหมายของ สงครามลูกผสม (Hybrid Warfare)ตามที่  พล.อ.อภิรัชต์ อธิบายคือ สงครามที่ใช้การผสมผสานของเครื่องมือ ทั้งจากสงครามตามแบบ และสงครามไม่ตามแบบ ซึ่งไม่ใช่เหตุบังเอิญแต่เป็นทฤษฎีจากประสบการณ์จากประเทศต่างๆที่ล่มสลายไป ” 

ผบ.ทบ.บอกว่าสงครามลูกผสม มีกองกำลังของรัฐบาล กับ กองกำลังฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่วนนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงประชาชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยยกตัวอย่างว่าเช่น นักการเมืองระดับชาติ ท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น  เศรษฐีบริจาคเงินให้ทำเว็บไซต์ หรือเป็นแหล่งข่าว

จากนั้นก็มี Propaganda กลุ่มสงครามข่าวสารข้อมูลหรือ  โฆษณาชวนเชื่อ ต่อจากนั้นขยายความสถานการณ์ให้เป็นสากล ด้วยการใช้บุคคลระหว่างประเทศ หรือ องค์กรอิสระเป็นปัจจัยโดยยกตัวอย่าง การนำฝรั่งมาถ่ายรูปที่หน้าโรงพัก หรือ มายืนกับกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่ระบุแค่คนฟังคาดเดาได้ไม่ยากว่าหมายถึงใคร

สุดท้ายคือสงครามเศรษฐกิจ เช่น สงครามการค้าสหรัฐ–จีน  พล.อ.อภิรัชต์ บอกว่าทุกประเทศเล็กใหญ่มีคนจนทั้งนั้น การทำให้คนในประเทศรวยเท่ากับนั้นยากกว่า แต่การทำให้คนในประเทศจนเท่ากันนั้นง่าย เป็นแนวคิดของ คอมมิวนิสต์ ?

การย้ำถึงการมีอยู่ของสงครามลูกผสม ชวนให้ตีความว่า การเข้าสู่อำนาจรัฐในปัจจุบันนอกจากเลือกตั้งรวมเสียงข้างมาก ตั้งรัฐบาลแล้วยังมีอะไรมากกว่านั้น ทำนองสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งเป็น การออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองซ้ำๆของ ผู้บัญชาการทหารบก ย่อมส่งผลให้การเมืองเป็นเรื่องคาดเดายากขึ้นซึ่งโยงถึงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโดยตรง

 สัปดาห์เดียวกันนั้น  นายแอนดรู เมสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ประจำเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก  ธนาคารโลก แถลงปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้ของไทยลงเหลือ 2.7% จากเดิม 3.5% โดยยกเหตุผลการส่งออกครึ่งปีแรกขยายตัวติดลบ ปัญหาภัยแล้ง การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์  และยังประเมินด้วยว่าแนวโน้มประเทศไทยช่วงต่อไปไม่สดใสนักโดยยกการเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุด

ทำนองเดียวกัน ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลง ว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับลดลงเป็นเดือนที่ 7 และต่ำสุดในรอบ 39 เดือน โดยปัจจัยที่มีผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผุ้บริโภคลดลง  นอกจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ราคาพืชผลต่อต่ำแล้ว สภาพการเมืองยังเป็นปัจจัยเติมความกังวลให้ผู้บริโภคด้วย

ความเสี่ยงทางการเมืองในช่วงจากนี้ไป นอกจาก เสถียรภาพรัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุนจาก พรรคร่วม 18 พรรคปริ่มน้ำ  มากกว่าพรรคร่มฝ่ายค้านเพียง 4 เสียงแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากสงครามไฮบริดที่เกิดขึ้นแล้วร่วมด้วย  ซึ่งเป็นปัจจัยลดความเป็นไปได้ของรัฐบาลที่จะผลักดันจีดีพีปีนี้ให้ถึง 3% ลงไปอีก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0