โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สงครามการค้า บาดลึก จีน-ผู้ส่งออกกลุ่มประเทศเกิดใหม่

Brand Inside

เผยแพร่ 22 มิ.ย. 2561 เวลา 08.18 น. • Liu
shutterstock_551549761
shutterstock_551549761

หลังเกิดสงครามการค้า แม้ผลกระทบต่อกลุ่มประเทศเกิดใหม่(Emerging Market-EM)จะยังไม่มีภาพที่แย่ที่สุด แต่ก็ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ส่งออกในตลาดเกิดใหม่ และ กลุ่มซัพพลายเออร์สินค้าโภคภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน(จีน) อย่างมาก

อย่าง ไทย และ แอฟริกาใต้ กว่า 20 % ของเรือสินค้าต่างชาติส่งออกไปที่จีน ซึ่งขณะนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลร์สหรัฐ ส่วนเงินสกุลแอฟริกาใต้ แรนด์(Rand) อ่อนค่าลง 1.9%ภายในสัปดาห์นี้
และส่วนใหญ่ใน 24 ประเทศ สกุลเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ติดตามโดย Bloomberg ก็อ่อนค่าที่สุดในรอบ 7 เดือน

ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ ราคาวัถุดิบใน ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ของ Bloomberg ตกลง 4% ในเดือนนี้(มิ.ย.) ถือว่าต่ำสุดตั้งแต่ ก.ค. ปี 2016 ในขณะที่ดัชนี the London Metal Exchange LMEX  ปรับตัวลดลง 5.8 % ในช่วง 5 วันที่ผ่านมา

“หากการเสื่อมถอยของการค้าทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว  ก็เดาได้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับลดลงไม่เพิ่มขึ้นเช่นกัน” คริสเตียน แมคจิโอ (Cristian Maggio) หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ตลาดกลุ่มประเทศเกิดใหม่ TD Securities ที่อยู่ในลอนดอนให้สัมภาษณ์ต่อว่า ประเทศที่มีการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และการผลิต ผูกพันใกล้ชิดกับปักกิ่ง อย่างรัสเซีย และประเทศเศรษฐกิจอย่าง เกาหลีใต้ จะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ

จากประกาศของ โดนัลด์ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ในสัปดาห์นี้ว่าจะเพิ่มภาษีการนำเข้าสินค้าจากจีน200,000 ล้านเหรียฐสหรัฐ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอยู่ระหว่างการปรับตัวรับกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นและผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นเช่นกันอย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือสงครามการค้าจะทำให้จีนชะลอการเติบโตลงซึ่งจีนถือเป็นผู้บริโภควัตถุดิบรายใหญ่ที่สุด

สกุลเงินวอน(Won)ของเกาหลีใต้ และ รูเบิล(Ruble)ของรัสเซีย ได้รับผลกระทบโดยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นับว่าอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ18 เดือน

จากข้อมูลของBloomberg พบว่า กว่า1 ใน3 ของการส่งออกของเกาหลีใต้ ส่งออกไปที่จีน ซึ่งจีนก็เป็นพันธมิตรการค้ารายใหญ่ที่สุของรัสเซียเช่นกัน

วิลเลี่ยมแจ็คสัน(William Jackson) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส Capital Economics Ltd. ในลอนดอน บอกว่า ในเอเชียตะวันออกเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดขนาดเล็ก เช่น ไต้หวันสิงคโปร์และมาเลเซีย มองว่า ภาษีการนำสินค้าจากจีนของสหรัฐ ส่งผลต่อเนื่องถึงบทบาทซัพพลายเชนของพวกเขา ซึ่งเป็นในทิศทางเดียวกับชิลี ที่เป็นผู้ผลิตทองแดงส่งให้ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจีน ย่อมได้รับผลกระทบด้วย

นอกจากนี้ จีนยังมีส่วนในการซื้อแร่กว่าครึ่งของการส่งออกในแอฟริกาใต้

อิสยาห์ลังกา(Isaah Mhlanga) นักเศรษฐศาสตร์ FirstRand Bank Ltd. ที่โจฮันเเนสเบิร์ก บอกว่า“การเติบโตยังอ่อนแอ ในส่วนธนาคารกลางแอฟริกาใต้(the South African Reserve Bank) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนมิ.ค. และยังคงที่ไว้จนถึงปัจจุบันในขณะที่  ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเกิดใหม่อื่นๆมีทีท่าจะปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว ถือว่าทำให้ สกุลเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้ดูอ่อนแอเหมือนคนที่กำลังแก้ผ้าว่ายน้ำกับแมงกะพรุนในฤดูร้อน“

ข้อมูลจากSociete Generale SA ระบุว่า สกุลเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะได้รับแรงกดดันต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เพราะได้รับแรงกดดันจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ซึ่งจะทวีความรุนแรงขึ้น หากการค้ายังชะลอตัวลง

เจสันดอว์(Jason Daw) นักยุทธศาสตร์SocGen ในสิงคโปร์ เล่าว่า“ค่าเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่น่าจะอ่อนค่าลง เพราะได้รับแรงกดดันโดยเฉพาะช่วงที่FED มีความเคลื่อนไหว และจะกลายเป็นเรื่องแย่ไปอีกถ้าFED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะที่การเติบโตเศรษฐกิจยะงชะลอตัว“

สรุป

สงครามการค้าส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เพราะเป็นซัพพลายเออร์ที่ส่งออกสินค้าต่อเนื่องไปยังจีน ขณะเดียวกันยังรับผลกระทบจากค่าเงินกลุ่มประเทศเหล่านี้อ่อนค่าลง ระยะต่อไปปัจจัยที่ต้องจับตามองคือความเคลื่อนไหวของFED และมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน

ที่มา https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-06-20/trade-war-piles-currency-pain-on-china-exporter-emerging-markets

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0