โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สงครามการค้า”อเมริกา-จีน” นับวันยิ่งเจ็บหนักทั้งคู่

Money2Know

เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 11.27 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
สงครามการค้า”อเมริกา-จีน” นับวันยิ่งเจ็บหนักทั้งคู่

Buying American แคมเปญรณรงค์ให้ซื้อสินค้าอเมริกันอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในขณะนี้หลังจากที่เจ้าของกิจการต่างๆและผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากสงครามการการค้าระหว่างสหรัฐและจีนพากันเรียกร้องให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ล้มเลิกแผนการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา25% มูลค่า300,000 ล้านดอลลาร์

โดยที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) จะดำเนินการทำประชาพิจารณ์ในวันจันทร์ เพื่อรับฟังความเห็นกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของสหรัฐ เกี่ยวกับแผนการของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25% เป็นมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์ และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 มิถุนายน

ทั้งนี้ ในระหว่างที่ USTR ดำเนินการดังกล่าว ก็จะไม่สามารถเก็บภาษีนำเข้ารอบใหม่ได้ จนกว่าระยะเวลาการแสดงความเห็นโต้แย้งครั้งสุดท้ายจะสิ้นสุดลง หรือหลังวันที่ 2 กรกฎาคม  

ขณะที่ในสัปดาห์ที่แล้ว วอลมาร์ท อิงค์ และทาร์เก็ต คอร์ป ธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ได้เป็นผู้นำร่วมกับ 600 บริษัท มีการส่งจดหมายเรียกร้องให้ประธานาธิบดีทรัมป์ ตอกย้ำให้เร่งแก้ไขความขัดแย้งการค้ากับจีน โดยเฉพาะมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและผู้บริโภคอเมริกัน

ทางด้านบทบรรณาธิการของสื่อจีน โดยวารสารฉิวซื่อซึ่งเป็นของพรรคคคอมมูนิสต์จีน ระบุว่าจีนจะไม่ยอมอ่อนข้อในหลักการสำคัญต่อการเจรจาการค้ากับสหรัฐ เพื่อยุติข้อพิพาททางการค้าที่กิดขึ้น

ขณะที่บทบรรณาธิการของโกลบอลไทมส์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ของทางการปักกิ่งได้ทวีตข้อความที่ย้ำว่าจีนจะไม่เกรงกลัวกับการข่มขู่คุกคามอย่างที่สหรัฐกำลังกระทำอยู่ รวมทั้งแรงบีบคั้นกดดันต่างๆ ซึ่งจะทำให้ปมขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่งบานปลายออกไป โดยที่จีนนั้นไม่มีทางเลือกอื่น หรือแม้แต่จะคิดหลบเลี่ยง แต่เป็นความจำเป็นต้องต่อสู้จนถึงที่สุด 

นอกจากนี้ มีรายงานข่าวว่า ประธานาธิบดีทรัมป์อาจจะไม่มีการพบปะกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง นอกรอบการประชุมสุดยอดกลุ่ม G-20 ที่เมืองโอซากา ในช่วงวันที่ 28-29 มิถุนายนนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ผู้นำสหรัฐขู่ว่า หากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ไม่เข้าร่วมการประชุม G-20 ในเดือนนี้ ก็จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจากจีนในมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์

หลังจากการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนต้องล้มเหลวลงในเดือนพฤษภาคม โดยที่สหรัฐได้เรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ 10% สู่ระดับ 25% ส่งผลให้จีนทำการตอบโต้ ด้วยการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐมูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์ ในอัตราภาษีที่ 25% โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา

ขณะที่สัญญาณจากบริษัทสหรัฐกว่า 600 แห่งเป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมเกษตร ภาคการผลิต ภาคค้าปลีก และภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ได้ลุกขึ้นมาแสดงความวิตกมาตรการเก็บภาษีไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะเปลี่ยนแปลงหลักการปฏิบัติด้านการค้าที่ไม่เป็นธรรมของจีน และยังเท่ากับเป็นการเก็บภาษีจากบริษัทสหรัฐโดยตรง ซึ่งไม่ใช่จีน แต่กลับส่งผลกระทบต่อธุรกิจและผู้บรโภคชาวอเมริกันในวงกว้าง

ขณะเดียวกันวารสารฉิวซื่อของจีน ยังชี้อีกว่า ผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ ของสหรัฐ คือผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการค้าที่ทำกับจีน แต่ความตึงเครียดทางการค้าที่เกิดขึ้นกลับกลายว่า จะส่งผลลบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทบรรณาธิการยังเตือนว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ การเกิดลัทธิกีดกันการค้า ก็คือยาพิษร้าย เพราะอัตราภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้กับธุรกิจสหรัฐ และยังผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ออกมาก็มีแต่ชาวอเมริกันจำนวนน้อยที่ได้ประโยชน์ แต่ชาวอเมริกันส่วนข้างมากจะเดือดร้อนและอยู่อย่างยากลำบาก

ล่าสุด อัตราผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 2.082% ขณะที่ผลตอบแทนบอนด์รัฐบาลอายุ 30 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 2.578% จากสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลง 

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐได้เปิดเผยว่า ตัวเลขชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่ระดับ 222,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลงที่ 216,000 ราย โดยที่ชาวอเมริกันยังคงขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องสิ้นสุดวันที่ 1 มิถุนายน มีจำนวนสูงถึง 1.7 ล้านราย 

ทางด้านจีนก็เริ่มสังสัญญาณล่าสุด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 5% ในเดือนพฤษภาคม แต่เป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 17 ปี เป็นการชะลอตัวลงจากที่ขยายตัว 5.4% ในเดือนเมษายน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0