โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สงครามการค้าลามไทย ฉุดส่งออกเดือนม.ค.ร่วง5.65%

Money2Know

เผยแพร่ 22 ก.พ. 2562 เวลา 06.08 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
สงครามการค้าลามไทย ฉุดส่งออกเดือนม.ค.ร่วง5.65%

สงครามการค้าฉุดส่งออกไทย เดือนม.ค.ร่วง 5.65% ขาดดุลการค้า 4 พันล้านเหรียญ ตลาดจีนร่วงหนักสุด 16.7%

ผลกระทบสงครามการค้า
ผลกระทบสงครามการค้า

กระทรวงพาณิชย์รายงานการส่งออกในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 18,993.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ลดลง 5.65% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561  และลดลง 2.00% จากเดือนธันวาคม 2561

การนำเข้าในเดือนมกราคม 2562  มีมูลค่า 23,026.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  เพิ่มขึ้น 13.99% จากเดือนมกราคม 2561  และเพิ่มขึ้น 25.71% จากเดือนธันวาคม 2561

ส่งผลให้ดุลการค้า ในเดือนมกราคม 2562  ขาดดุลการค้ามูลค่า 4,032.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ส่งออกเดือนม.ค.62
ส่งออกเดือนม.ค.62

การส่งออกได้รับแรงกดดันจากภาวะการค้าโลกชะลอตัว และอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะงักงัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากประเด็น ข้อพิพาททางการค้าที่ยังคงยืดเยื้อทำให้ชะลอคาสั่งซื้อ และผลจากปัจจัยภายในของบางประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม ประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets)

การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ตลาดญี่ปุ่น อินเดีย และ CLMV ยังคง ขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลง

ขณะที่การส่งออกในตลาดอื่นๆ หดตัว หากพิจารณารายสินค้า การส่งออกสินค้ากลุ่ม เกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ 2.9% ผลจากการหดตัวของยางพารา ข้าว ผลิตภัณฑ์มันส้าปะหลัง และน้าตาล ทราย ขณะที่ผัก ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และไกส่ ดแช่แข็งและแปรรูป ยังขยายตัวสูง

การส่งออกสินค้า กลุ่มอุตสาหกรรม หดตัวที่ 5.9% จากสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ามัน เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2562 ยังเผชิญความเสี่ยงจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ

1) การชะลอตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ

2) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตร มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่้า เนื่องจากอุปทานและสต๊อกล้นตลาดกดดัน รายได้การส่งออกของกลุ่มประเทศเกิดใหม่(Emerging Markets) รวมถึงไทย

3) แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทกดดันรายได้ของผู้ส่งออก อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่แข็งขึนไม่มากนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ จะยังทำให้ไทยรักษา ความสามารถทางแข่งขันไว้ได้

4) ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยังคงกดดันบรรยากาศการค้าการลงทุนโลก โดยประกาศทางการของทั้งสองฝ่ายระบุว่าการเจรจาเป็นไปในทิศทางที่ดี มีการบรรลุหลักการในประเด็นสำคัญ โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีติดตามความคืบหน้าการเจรจาอีกครั้งในวันที่ 21 - 22 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี

ทังนี้ คาดว่าทั้งสองประเทศจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ระหว่างกันภายหลังการเจรจา และมีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ อาจยืดเวลาการขึ้นภาษี 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออกไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 1 มีนาคม 2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0