โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

สงครามการค้ายังกดดัน”หุ้น-ค่าเงินบาท”

Money2Know

เผยแพร่ 25 พ.ค. 2562 เวลา 03.05 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
สงครามการค้ายังกดดัน”หุ้น-ค่าเงินบาท”
ตลาดหุ้นและค่าเงินบาทในสัปดาห์หน้ายังได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนมากขึ้นว่าจะเยื้อเยื้อและส่งผลกระทบรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกรณีคำสั่งแบนหัวเว่ย แม้ว่าจะยืดเวลาออกไป

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่าในสัปดาห์ถัดไป (27-31พ.ค.) ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,600 และ 1,580 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,625 และ1,635 จุด ตามลำดับ

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ประเด็นการเมืองในประเทศ และสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลเดือนเม.ย.ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีPMI ภาคการผลิตเดือนพ.ค. ของจีนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ของญี่ปุ่น และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนพ.ค. ของยูโรโซน 

ตลาดหุ้น
ตลาดหุ้น

สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวน แต่กลับมาปิดสูงกว่าสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับที่1,614.12 จุด เพิ่มขึ้น 0.37% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 50,882.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.87% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนตลาดหลักทรัพย์ maiปิดทรงตัวที่ 339.36 จุด

ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแรก โดยได้รับแรงหนุนจากการที่สหรัฐฯ ยกเลิกคำสั่งห้ามบริษัทสหรัฐฯ ดำเนินธุรกิจกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนเป็นการชั่วคราว ประกอบกับมีแรงซื้อเข้ามาจากนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ร่วงลงในเวลาต่อมาหลังมีรายงานว่าสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเพิ่มรายชื่อบริษัทจีนที่จะถูกขึ้นบัญชีดำเพื่อห้ามไม่ให้บริษัทสหรัฐฯ ทำธุรกิจด้วย ซึ่งทำให้ตลาดกังวลว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะยืดเยื้อและทวีความรุนแรงมากขึ้น

ตลาดหุ้นไทยลดช่วงลบบางส่วนลงได้ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากทิศทางทางการเมืองที่มีความคืบหน้า

ค่าเงินบาท
ค่าเงินบาท

สำหรับค่าเงินบาทในสัปดาห์ถัดไป (27-31 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.70-32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯโดยจุดสนใจในประเทศ น่าจะอยู่ที่รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนเม.ย. ของธปท. และสถานการณ์ทางการเมือง

ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเด็นด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ทิศทางค่าเงินหยวน สถานการณ์ BREXIT ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของจีนเดือนพ.ค. และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. ดัชนีขายบ้านที่รอปิดการขาย รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคลและอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากCore PCE Price Index เดือนเม.ย. ดัชนีราคาบ้านเดือนมี.ค. และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/62 (รายงานครั้งที่ 2)

เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าเข้าใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคท่ามกลางความตึงเครียดมากขึ้นของสถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถลดช่วงติดลบ และดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิค ประกอบกับตลาดหุ้นและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ก็ฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน

ในวันศุกร์ (24 พ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 31.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 31.75บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 พ.ค.)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0