โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"ศิริ" คิกออฟ "โซลาร์ประชาชน" ปีแรก 100MW ตาม PDP

ประชาชาติธุรกิจ

เผยแพร่ 26 พ.ค. 2562 เวลา 05.36 น.
6-2ศิริ

ตีปี๊บโครงการ “โซลาร์ประชาชน” 100 เมกะวัตต์ จับตาดีเดย์รับโควตาลอตแรกเข้าระบบ กกพ.คาดเบื้องต้น 10 กิโลวัตต์ลงทุน 4 แสน คืนทุนใน 7 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ฐานะเรกูเลเตอร์ ได้เริ่มเปิดให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” ผ่านทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยโครงการนี้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (PDP 2018) ที่ต้องการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด/พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 12,725 เมกะวัตต์ ในอีก 20 ปีข้างหน้า โครงการนี้จะให้สิทธิ์ผู้ที่ยื่นก่อนได้สิทธิ์ก่อนจนครบเป้าหมายการรับซื้อปีแรก 100 เมกะวัตต์ หรือ 10,000-20,000 ครัวเรือน ซึ่งแบ่งพื้นที่ให้ กฟน. 30 เมกะวัตต์ และ กฟภ. 70 เมกะวัตต์

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มั่นใจว่าจะได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก ได้กำชับกระบวนการรับยื่น และพิจารณาให้อำนวยความสะดวกประชาชนรวดเร็วและต้องโปร่งใส หากมีประชาชนให้ความสนใจจำนวนมากจนเกินเป้าหมายอาจมีการพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า โครงการนี้มุ่งสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้พลังงาน ประเภทครัวเรือนขนาดเล็กได้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อใช้เอง และนำส่วนเกินที่เหลือจากการใช้ไปขายต่อให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค) โดยมีกำลังผลิตติดตั้งครัวเรือนละไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ โครงการนี้จะช่วยประหยัดค่าไฟให้ประชาชนประมาณ 3.80 บาทต่อหน่วย

“การลงทุนทั่วไปกำลังไฟฟ้า 10 กิโลวัตต์ จะใช้เงินลงทุน 350,000-400,000 บาท ระยะเวลาคุ้มทุนประมาณ 5-7 ปี และยังมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างในการเปลี่ยนมิเตอร์ 8,500 บาท จะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 11,912 หน่วยต่อปี หากคิดเป็นการผลิตเพื่อขายส่งเข้าระบบเพียงอย่างเดียวไม่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันจะมีรายได้จากการขายไฟ ประมาณ 20,012 บาทต่อปี โดยใช้เวลา 12 ปี อย่างไรก็ตาม กรณีลงทุนติดตั้งโดยมีการใช้ไฟฟ้าเองทั้ง 100% ในช่วงกลางวัน จะใช้เวลาคืนทุนเร็วขึ้นประมาณ 6 ปี หากเทียบกับผลิตใช้เอง 50% และขายส่วนเกินเข้าระบบ 50% จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 7-8 ปี อย่างไรก็ดี กกพ.เน้นย้ำว่าครัวเรือนที่ผลิตใช้เองคืนทุนเร็วกว่าที่ผลิตเพื่อขายเพียงอย่างเดียว เพราะราคารับซื้อกำหนดไว้ต่ำ ไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วยเท่านั้น”

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศ และสถาบันอาชีวศึกษา มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ โดยคาดว่าจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000-20,000 ระบบ มูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี เพื่อรองรับระบบ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0